WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

9596 KMUTT02

มูลนิธิอาซาฮี มอบทุนวิจัยแก่ 8 นักวิจัย มจธ.ประจำปี 2565

          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ มูลนิธิกระจกอาซาฮี (The Asahi Glass Foundation – AF) ประเทศญี่ปุ่น ได้จัดพิธีมอบทุนวิจัยประจำปี 2565 (Research Grant Award Ceremony 2022) ขึ้นเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมี มร.ทาคุยะ ชิมามุระ (Mr. Takuya Shimamura) ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท AGC Inc. กล่าวแสดงความยินดี และ รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวต้อนรับ และร่วมมอบทุนให้กับนักวิจัยของ มจธ. โดยการจัดพิธีมอบทุนในปีนี้เป็นรูปแบบไฮบริดที่มีผู้บริหารของมูลนิธิกระจกอาซาฮีเข้าร่วมพิธีมอบทุนทางออนไลน์จากประเทศญี่ปุ่น

 

9596 ทาคุยะ ชิมามุระ

 

          มร.ทาคุยะ ชิมามุระ ประธานมูลนิธิกระจกอาซาฮี และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท AGC Inc. กล่าวว่า ได้มีความร่วมมือกับประเทศไทย และ มจธ. มาอย่างยาวนาน โดยปี .. 2555 เป็นปีแรกที่มูลนิธิได้เข้ามาสนับสนุนทุนวิจัยให้กับทาง มจธ. ต่อเนื่องมา ในปีนี้นับเป็นปีที่ 11 และได้ให้การสนับสนุนวิจัยไปแล้วกว่า 68 โครงการ เป็นเงินกว่า 41,000,000 เยน

          “ผมเชื่อว่านักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนวิจัยนี้จะสามารถร่วมกันพัฒนาและสร้างความเจริญรุ่งเรืองมั่นคงให้กับประเทศไทยได้ และหวังว่าการให้การสนับสนุนของเราจะเป็นประโยชน์กับนักวิจัยทุกคนที่ได้รับทุนนี้ และมีความภาคภูมิใจเพราะงานวิจัยเหล่านี้คือดอกผลที่มีศักยภาพ ซึ่งจะต้องพัฒนาต่อไปในอนาคตอย่างไม่มีขีดจำกัดมร.ทาคุยะ ชิมามุระ กล่าว

 

9596 KMUTT Suwit

 

          รศ. ดร.สุวิทย์ แซ่เตีย อธิการบดี มจธ. กล่าวว่า ทุนอาซาฮีเป็นทุนที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อความก้าวหน้าทางด้านอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ สังคม โดยในปีนี้ มจธ.ได้รับสนับสนุนทุนวิจัยจากมูลนิธิฯ จำนวน 5 ล้านเยน และมหาวิทยาลัยสมทบทุนวิจัยอีก จำนวน 5 ล้านเยน รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 10 ล้านเยน หรือประมาณ 3,000,000 บาท ให้กับ 8 โครงการ ใน 6 สาขา ซึ่งจากเดิม 5 สาขา ได้แก่ สาขาวัสดุศาสตร์ (Materials Sciences) สาขาชีววิทยาศาสตร์ (Life Sciences) สาขาสิ่งแวดล้อม (Environment) สาขาวิทยาการสารสนเทศ (Information Sciences) สาขาพลังงาน (Energy) ในปีนี้เป็นปีแรกที่มีการให้การสนุบสนุนทุนในสาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) เพื่อจัดการกับปัญหาซับซ้อนขึ้นที่เราทุกคนกำลังเผชิญ อาทิ สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง สังคมผู้สูงอายุ ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก โดยวิทยาศาสตร์ (Science) สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Social Science) ต้องจับมือทำงานไปร่วมกัน

 

9596 KMUTT01

 

          สำหรับนักวิจัย มจธ.ที่ได้รับทุนวิจัยอาซาฮีประจำปี 2565 ทั้ง 8 โครงการ ใน 4 สาขาการวิจัย ประกอบด้วย 1. สาขาวัสดุศาสตร์ (Materials Sciences) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ ผศ.ดร.พชรพิชญ์ พรหมอุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ ในผลงานการออกแบบโครงสร้างวัสดุพรุนจากกระบวนการพิมพ์สามมิติเพื่อเพิ่มคุณสมบัติเชิงกลและเชิงชีวภาพสำหรับนำไปใช้เป็นวัสดุทดแทนกระดูกเป็นการศึกษาวิจัยเพื่อค้นหาวัสดุที่มีรูปทรงที่เหมาะสมนำมาทดแทนกระดูก โดยใช้เทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติของโลหะเพื่อออกแบบและผลิตโครงสร้างวัสดุพรุนที่มีลักษณะทางกายภาพเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อกระดูก โดยมุ่งเน้นศึกษาโครงสร้างวัสดุพรุนที่เรียกว่า Triply Periodic Minimal (TPMS) ซึ่งเป็นโครงสร้างพรุนที่มีลักษณะแบบพื้นผิวโค้งส่งผลให้มีลักษณะทางกายภาพของพื้นผิวที่ใกล้เคียงกับกระดูกจริง และทำการทดลองเพื่อทดสอบคุณสมบัติทางกลประเมินความสามารถในการไหลผ่านของเหลว รวมถึงการพัฒนาแบบจำลองในคอมพิวเตอร์ คาดหวังว่าองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการนี้จะสามารถนำไปต่อยอดเพื่อออกแบบวัสดุทดแทนกระดูกที่ผลิตจากกระบวนการพิมพ์สามมิติต่อไป และ ดร.นนท์ ทองโปร่ง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์นาโนและนาโนเทคโนโลยี คณะวิทยาศาสตร์ ในผลงานการพัฒนาคำอธิบายที่ถูกต้องของการวัดกระแสไฟฟ้าที่ถูกจำกัดด้วยประจุอิสระหลังถูกป้อนด้วยศักย์ไฟฟ้าในชั้นฟิล์มบางวัสดุเพอรอฟสไกต์สำหรับการวัดคุณสมบัติการนำพาประจุที่แม่นยำ ด้วยการศึกษาเชิงการคำนวณด้วยการเรียนรู้ของเครื่องและการทดลองเป็นการศึกษาวิจัยที่มุ่งสร้างความเข้าใจและพัฒนาคำอธิบายเพื่อวิเคราะห์ผลการวัด SCLC หลังถูกป้อนด้วยความต่างศักย์อย่างแม่นยำ

          2. สาขาชีววิทยาศาสตร์ (Life Sciences) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ ผศ.ดร.ภัทรา ผาสอน สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ในผลงานการพัฒนาเซลลูโลสแม่เหล็กคอมโพสิตชีวภาพจากเปลือกสับปะรดเพื่อตรึงเอนไซม์: ความยั่งยืนในการเพิ่มเสถียรภาพและการนำเอนไซม์กลับมาใช้เป็นการพัฒนาเทคนิคการตรึงเอนไซม์บนพื้นผิววัสดุด้วยอนุภาคนาโนเซลลูโลส-แม่เหล็ก ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการนำเอนไซม์กลับมาใช้ใหม่ และ ดร.ดาภะวัลย์ คำชา สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ในผลงานนิเวศวิทยาการผสมพันธุ์ ลักษณะพื้นที่ทำรังและบทบาทของป่าสนปลูกปัจจัยสำคัญต่อการอนุรักษ์นกไต่ไม้ใหญ่ (Sitta magna) ชนิดพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์ระดับโลกซึ่งผลจากการศึกษาจะนำไปสู่การจัดการอนุรักษ์ที่เหมาะสมและลดโอกาสการสูญพันธุ์ลง

          3. สาขาสิ่งแวดล้อม (Environment) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ Dr.Nasrul Hudayah สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ในผลงานความสัมพันธ์ระหว่าง Quorum sensing และการถ่ายโอนอิเลคตรอนระหว่างสายพันธุ์ของจุลินทรีย์บนวัสดุตัวกลางชีวภาพแบบเหนี่ยวนำที่ส่งเสริมการผลิตมีเทนและดร.วัลลภ ชุติพงศ์ สถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ ในผลงานการประเมินพลวัตประชากรและอัตราการรอดตายของเสือปลาในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์จากมนุษย์เป็นการศึกษาวิจัยการเปลี่ยนแปลงทางด้านประชากรและการประเมินอัตราการรอดตายของเสือปลาอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ชุ่มน้ำอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอดในระยะยาว เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการทรัพยากรสัตว์ป่าต่อไป และ 4. สาขาสังคมศาสตร์ (Social Sciences) จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ ผศ.ดร.ปฏิภาณ แซ่หลิ่ม อาจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม ในโครงการเราพร้อมหรือยังต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ: วุฒิภาวะด้านการบรรเทาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอุตสาหกรรมไทยเป็นการศึกษาระดับความพร้อมในการบริหารจัดการด้าน Climate change ของอุตสาหกรรมในประเทศไทยในประเด็นทางสังคมในเรื่องของแนวความคิด แรงจูงใจ มุมมอง และทัศนคติของผู้ประกอบการ เพื่อการวิเคราะห์ปัจจัยสู่ความสำเร็จของการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงพัฒนาตัวแบบมาตรวัดทางสถิติที่ใช้วัดระดับความพร้อมของการปรับตัว และนำเสนอนโยบายเชิงวิชาการต่อไป และ รศ.ดร.อธิปัตย์ บุญเหมาะ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ ในโครงการอบรมเพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะการสื่อสารแบบออนไลน์และการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในประเทศไทยหลังจากช่วงฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal)”

          ทุนวิจัยอาซาฮี ถือเป็นทุนที่ให้ความสำคัญกับวงการวิทยาศาสตร์ของประเทศ และยังเป็นแหล่งทุนสำคัญของ มจธ.ที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานในด้านต่างๆ ที่ทำให้นักวิจัยได้ต่อยอดผลงานวิจัยที่มีอยู่เดิมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น อีกทั้งช่วยขยายผลทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงและเกิดผลงานเชิงประจักษ์ ที่สำคัญยังช่วยสร้างองค์ความรู้ใหม่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย

 

A9596

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!