WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

8128 NXPO

อว. ชี้สถานการณ์โลกกระทบการอุดมศึกษาไทย ต้องพร้อมปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ หนุนพัฒนาการผลิตกำลังคนร่วมกับภาคเอกชน

          สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และ บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดงานแถลงข่าว “Lift Skill Thai Labor Force การยกระดับทักษะแรงงานไทย เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต และได้มีการจัดเวทีเสวนาในหัวข้อแนวทางการขับเคลื่อนและขยายผลการยกระดับทักษะแรงงานไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม โดยมี ผศ.ดร. พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สอวช. เป็นผู้เสวนา ร่วมกับ นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล สป.อว. และนายจักรชัย บุญยะวัตร CEO บริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด จัดขึ้น โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส และการถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565

          ดร. พูลศักดิ์ กล่าวถึงสถานการณ์สำคัญของโลกที่ส่งผลต่อการอุดมศึกษาในช่วงที่ผ่านมา ทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะด้านธุรกิจต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง อีกทั้งสถานการณ์ของสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบในเรื่องสงครามการค้า ทำให้เกิดการแบ่งขั้ว และส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานสำคัญในภาคธุรกิจไทยที่ต้องขยับขยายและปรับเปลี่ยนความรู้ในด้านดิจิทัลเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก เนื่องจากภาคธุรกิจต้องพัฒนาองค์กรให้สามารถใช้เครื่องมือใหม่ วิธีคิดใหม่ ที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจในโลกแบบใหม่ที่มีความเชื่อมโยงและมีความซับซ้อนในการดำเนินการได้

          ผลกระทบในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของอาชีพและห่วงโซ่อุปทาน นอกจากกระทบต่อภาคธุรกิจในไทยแล้ว ยังส่งผลมาถึงด้านอุดมศึกษา ที่ต้องปรับรูปแบบให้ตอบรับกับโลกที่เปลี่ยนไป การแพร่ระบาดของโควิดเป็นตัวกระตุ้น เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการอุดมศึกษามาก่อน ทั้งนิสิต นักศึกษา อาจารย์ ต้องมีการปรับตัวอย่างมาก วิกฤตที่เกิดขึ้นทำให้เห็นแสงสว่างในอนาคตว่าการอุดมศึกษาไทยสามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้อีกมาก และเห็นโอกาสที่จะปรับตัวตอบสนองกับความต้องการของภาคเอกชน ซึ่งมีความยากลำบากในการหาคน ที่ต้องคำนึงทั้งเรื่องแนวคิด (Mindset) และทักษะทางสังคม (Soft skills) รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพของทักษะที่มีอยู่เดิม แต่ไม่ตรงกับความต้องการใหม่ จึงต้องเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเข้ามาในระบบการผลิตกำลังคน

 

TU720x100

 

          นอกจากนี้ ปัจจัยภายในประเทศที่กระทบกับคนไทยและการอุดมศึกษาไทยคือเรื่องของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร การเปลี่ยนแปลงอาชีพ ทำให้คนต้องย้ายอาชีพจากอุตสาหกรรมหนึ่งไปอีกอุตสาหกรรมหนึ่ง ดังนั้น ผู้ที่ต้องการการเสริมทักษะหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ จึงไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาอีกต่อไป แต่ยังมีกลุ่มคนที่อยู่ในอาชีพที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนทักษะ (Reskill) เพิ่มทักษะ (Upskill) เพื่อนำไปใช้ในภาคธุรกิจ เกิดการปรับเข้าสู่รูปแบบความหลากหลายของขั้นชีวิต (Multi-stage life) เมื่อเรียนจบแล้วออกไปทำงานแล้วสามารถกลับมาเรียนใหม่ เพิ่มเติมทักษะใหม่ ระบบการศึกษาไทยจึงต้องปรับให้มีความยืดหยุ่น เพื่อเตรียมพร้อมรองรับและเปิดโอกาสให้คนทุกช่วงวัยเข้าสู่ระบบการศึกษาได้ งานในครั้งนี้จึงถือเป็นการพูดคุยเพื่อนำไปสู่แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐ สถาบันอุดมศึกษา และภาคเอกชน ให้เกิดการเชื่อมโยงการพัฒนาระบบและองค์ความรู้ด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          ด้านนโยบายหรือแนวทางการรับมือ ทั้งในส่วนของกระทรวง อว. และหน่วยงานภาคเอกชนนั้นมีอยู่หลายแนวทาง แต่สิ่งที่คาดหวังจากการร่วมเสวนาในครั้งนี้มีอยู่ 2 ประเด็นสำคัญ เรื่องแรกคือการที่ กระทรวง อว. จะต้องประกาศให้สาธารณชน โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาทราบว่า ความต้องการกำลังคน และการพัฒนาทักษะต่างๆ ของประเทศมีอะไรบ้าง ซึ่งข้อมูลหรือดัชนีต่างๆ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษากับสถาบันการศึกษา ในการวางแผนการผลิตกำลังคนหรือสร้างความร่วมมือในการผลิตกำลังคนในอนาคต ส่วนที่สองคือ กระทรวงฯ มีเครื่องมือ กลไกมากมายที่สนับสนุนการผลิตกำลังคนตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการผลิตกำลังคนบางส่วนยังข้อติดข้อจำกัด หลังการปฏิรูปกระทรวงฯ จึงมีแนวทางเข้ามาสนับสนุนได้ตรงจุดมากขึ้น ทั้งการตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา การผลักดันการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher education sandbox) ที่เป็นโอกาสดีในการสร้างกลไกใหม่สำหรับส่งเสริมสถาบันอุดมศึกษาที่จะทำความร่วมมือพัฒนากำลังคน รวมพลังกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ มหาวิทยาลัย และภาคเอกชน

          “กระทรวง อว. ต้องปรับบทบาทให้เป็นเสมือนประตูในการเจรจา การทำงานกับภาคธุรกิจ ขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมือในการดึงดูดการลงทุนใหม่ โดยต้องทำงานกับสถาบันอุดมอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะส่งผลให้บัณฑิตจากสถาบันอุดมศึกษาได้รับประโยชน์ ทั้งได้อาชีพ ได้งานตรงตามแนวทางที่ประเทศอยากส่งเสริม มีอาชีพที่มีรายได้สูง อีกทั้งยังเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทยที่จะทำให้กลไกการทำงานของกระทรวงฯ รวมถึงกลไกการพัฒนากำลังคนร่วมกับสถานประกอบการ และสถาบันอุดมศึกษาเข้มแข็งขึ้นได้ต่อไปดร.พูลศักดิ์ กล่าว

 

sme 720x100

 

          ตัวอย่างแนวทางและโครงการที่สถาบันอุดมศึกษามีบทบาทในการพัฒนาประเทศ เช่น โมเดลการร่วมพัฒนากำลังคนด้านอาชีวะในอุตสาหกรรมโดยมีมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง Premium Course โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (RMUT) การพัฒนาระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล (Digital Credit Bank System) เพื่อรองรับการเชื่อมโยงคุณวุฒิวิชาชีพสู่คุณวุฒิการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning) ของกลุ่มมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ขอนแก่นโมเดล (The Khon Kaen Model) การพัฒนาเมืองโดยการประสานความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น

          ในส่วนการพัฒนาโครงการการยกระดับทักษะแรงงานไทย เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต (Lift Skill Thai Labor Force Project)” ใช้เวลาในการดำเนินงานประมาณ 2 ปี แบ่งการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการความสามารถของแรงงานในอนาคต (Demand Amalysis) ระยะที่ 2 แผนงานการพัฒนาความสามารถหรือการพัฒนาหลักสูตร (Capability Development Program/Curriculum และระยะที่ 3 การดำเนินการและการถอดบทเรียน (Execution and Lesson Learn) โดยมีการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากบริษัท เมอร์เซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด และความเชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาเพื่อพัฒนาแผนงานให้กับกระทรวง อว. ในการส่งเสริมระบบการศึกษาขั้นสูงและการพัฒนาศักยภาพของแรงงานไทยในอนาคต

 

A8128

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!