- Details
- Category: การศึกษา
- Published: Tuesday, 29 March 2022 10:26
- Hits: 1922
มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เร่งภารกิจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ปี 65
จัดประชุมสามัญคณะกรรมการ รวมพลังสานต่อเจตนารมณ์ สร้าง ‘เด็กดีมีความสามารถ’
ชูโมเดลนวัตกรรมคุณธรรม เสริมกำลัง ICT Talent ยกระดับโรงเรียนยุคดิจิทัล
พร้อมรายงานยอดบริจาค ‘คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา’ กว่า 10.32 ล้าน
ตอกย้ำเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการร่วมขับเคลื่อนการศึกษาไทย...มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED) เดินหน้าผนึกกำลัง จัดการประชุมสามัญ ประจำปี 2565 ในรูปแบบออนไลน์ นำโดย องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ (กลาง – แถวบน) ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวตรีนุช เทียนทอง (ที่ 2 จากขวา – แถวบน) ภาคประชาสังคม และนายศุภชัย เจียรวนนท์ (กลาง – แถว 3 จากบน) ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิฯ ตลอดจนซีอีโอ คณะผู้บริหารจาก 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้ง เพื่อร่วมหารือและวางแผน โดยมีผลการดำเนินงานสำคัญ ได้แก่ การปรับ School Grading ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการเพิ่มน้ำหนักตัวชี้วัดด้านผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ผู้สอนและผู้บริหารสถานศึกษา หลักสูตรและการสอนที่มุ่งเน้นด้านคุณธรรมแก่ผู้เรียน รวมถึงการพัฒนาโครงการนวัตกรรมคุณธรรมคอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Moral Innovation) อย่างเป็นรูปธรรม ในการวางรากฐานการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อสร้าง “เด็กดีมีความสามารถ” โดยได้นำโมเดลดังกล่าว ไปใช้นำร่อง ณ โรงเรียนบ้านเขาวง จ. นครราชสีมา นอกจากนี้ ยังได้แต่งตั้งผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (ICT Talent) ภาครัฐ รุ่นที่ 2 กว่า 800 คน ซึ่งพร้อมปฏิบัติหน้าที่ขับเคลื่อนโรงเรียนยุคดิจิทัล ตลอดจนรายงานความคืบหน้าการระดมทุนโครงการ “คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” (Notebook for Education) ระยะที่ 2 ที่มียอดบริจาคมาแล้วกว่า 10.32 ล้านบาท
ปัจจุบัน มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี มีโรงเรียน 5,567 แห่งในการดูแล ภายใต้ความร่วมมือของ 44 องค์กรเครือข่ายพันธมิตร ที่ให้การสนับสนุนบุคลากรจิตอาสา มาเป็น School Partner รวมแล้ว 1,473 คน ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ยังคงวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องตาม 5 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่
1. การเปิดเผยข้อมูลโรงเรียนสู่สาธารณะอย่างโปร่งใส (Transparency)
- จัดเก็บข้อมูล School Grading ปีการศึกษา 2564 โดยมีคณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ติดตามอย่างต่อเนื่อง รวมถึงบันทึกข้อมูลโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี ปีการศึกษา 2565
- เพิ่มการเก็บข้อมูลประเมินผลผู้เรียนในสมุดพกดิจิทัล (Student Report Card) เพื่อนำมาประมวลผลวิเคราะห์จุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาของผู้เรียน
2. กลไกตลาดและวัฒนธรรมการมีส่วนร่วม (Market Mechanism)
- ประชาสัมพันธ์การระดมทุนในโครงการ “คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” อย่างต่อเนื่อง สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย
- จัดอบรมเสริมทักษะต่างๆ ให้แก่ผู้นำรุ่นใหม่ (School Partner) พร้อมผลักดันการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อใช้ประเมินการปฏิบัติงาน
3. การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน (High Quality Principals & Teachers)
- ภาคเอกชน จัดอบรมออนไลน์เพื่อเสริมทักษะต่างๆ ให้แก่บุคลากรทางด้านการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
- จัดประชุมสร้างความรู้ ความเข้าใจ แนวทางการพัฒนาโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี แก่ผู้อำนวยการและครู 2,084 โรงเรียนภายใต้การดูแลของ สพฐ. และโรงเรียนกองทุนการศึกษา
4. เด็กเป็นศูนย์กลาง เสริมสร้างคุณธรรมและความมั่นใจ (Child Centric & Curriculum)
- ถอดบทเรียนโมเดลนวัตกรรมคุณธรรมจาก 13 องค์กรพันธมิตรภาคเอกชน
- พัฒนาโครงการนวัตกรรมคุณธรรมคอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Moral Innovation) ร่วมกับคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเป็นโมเดลปลูกฝังคุณธรรมแก่โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี โดยอยู่ระหว่างการทดสอบในโรงเรียนนำร่อง
- ขยายผลจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ชุมชน (Learning Center) เพิ่มอีก 5 แห่ง รวมเป็นทั้งหมด 18 แห่ง ซึ่งจะมีคณะทำงานติดตาม สรุป และประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละแห่งอย่างต่อเนื่อง
- ผลิตรายการโทรทัศน์ “LEARNING ZONE - พื้นที่การเรียนรู้ สู่อนาคต” ด้วยความร่วมมือจากองค์กรพันธมิตรภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง
5. การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของสถานศึกษา (Digital Infrastructures)
- จัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร “รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการกับชีวิตจริงโดยใช้โน้ตบุ๊กเป็นฐาน” ร่วมกับสถาบันวิจัย พัฒนา และสาธิตการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ให้แก่โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ “คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเพื่อการศึกษา” ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐ จำนวน 2.5 ล้านบาท โดยจะมีการติดตามผล ถอดบทเรียน และทำรายงานวิจัย เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่โรงเรียนอื่นๆ
- เสริมทักษะดิจิทัลแก่บุคลากรทางการศึกษา ให้พร้อมถ่ายทอดสู่นักเรียนในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย เช่น หลักสูตรรู้ทันไซเบอร์ การสอนอินเทอร์เน็ตปลอดภัยและถูกกฎหมายด้วยการเรียนเชิงรุก การระรานทางไซเบอร์ และจริยธรรมในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
- จัดฝึกอบรมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นพื้นฐาน สำหรับ 5 วิชาหลัก ได้แก่ 1. ภาษาไทย 2. คณิตศาสตร์ 3. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 4. สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และ 5. ภาษาต่างประเทศ
จากภาพ
การประชุมสามัญ ประจำปี 2565 ครั้งนี้ มีองค์ประชุมจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน ซึ่งประกอบด้วย
• องคมนตรี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ ประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ (กลาง – แถวบน)
• ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐ ได้แก่
- นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ 2 จากขวา – แถวบน)
- ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ประธานที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ที่ 2 จากขวา – แถวที่ 2 จากบน)
- ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (ขวาสุด – แถวที่ 2 จากบน)
• คณะที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคประชาสังคม ได้แก่
- นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ (ที่ 2 จากซ้าย – แถวบน)
- นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ (ซ้ายสุด – แถวบน)
- ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารสูงสุดโรงเรียนสัตยาไส (ขวาสุด – แถวบน)
- นายอิสระ ว่องกุศลกิจ ประธานกิตติมศักดิ์ กลุ่มมิตรผล (กลาง – แถวที่ 2 จากบน)
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ คุณหญิงสุชาดา กีระนันทน์ (ที่ 3 จากขวา – แถวที่ 2 จากบน)
- ดร.วิทิต รัชชตาตะนันท์ ผู้อำนวยการโรงเรียนปัญญาประทีป (ที่ 3 จากซ้าย – แถวที่ 2 จากบน)
- ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ นักวางยุทธศาสตร์ (ที่ 2 จากซ้าย – แถวที่ 2 จากบน)
- พลโท ณัฐพงษ์ เพราแก้ว อนุกรรมการด้านนโยบายและแผน มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมฯ (ซ้ายสุด – แถวที่ 2 จากบน)
• ประธานกรรมการมูลนิธิ
- นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ (กลาง – แถวที่ 3 จากบน)
• คณะกรรมการ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่
- นายอัศวิน เตชะเจริญวิกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (ซ้ายสุด – แถวที่ 3 จากบน)
- นายพิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหารกลุ่มเซ็นทรัล (ที่ 2 จากซ้าย – แถวที่ 3 จากบน)
- นายธานินทร์ บูรณมานิต รองประธานกรรมการบริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ (ที่ 2 จากซ้าย – แถวที่ 4 จากบน)
- นายยุทธศักดิ์ ภูมิสุรกุล กรรมการบริหาร และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. ซีพี ออลล์ (ซ้ายสุด – แถวที่ 4 จากบน)
- นายประสิทธิ์ บุญดวงประเสริฐ ประธานคณะผู้บริหาร บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (ซีพีเอฟ) (ที่ 2 จากขวา – แถวที่ 4 จากบน)
- นายวีระเจตน์ ว่องกุศลกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจน้ำตาลประเทศไทย พลังงาน และธุรกิจใหม่ (ขวาสุด – แถวที่ 3 จากบน)
- นายธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี (ขวาสุด – แถวที่ 4 จากบน)
- นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ. ไทยเบฟเวอเรจ (ที่ 2 จากขวา – แถวที่ 3 จากบน)
- นางรัชนี นพเมือง รองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (กลาง – แถวที่ 5 จากบน)
- นายนพปฎล เดชอุดม รองประธานคณะกรรมการบริหาร บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น (ที่ 2 จากซ้าย – แถวที่ 5 จากบน)
- นายศักดิ์สิทธิ์ ปิติพงศ์สุนทร ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย CSR Project ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ที่ 2 จากขวา – แถวที่ 5 จากบน)
- นางวรรัตน์ เลิศอนันต์ตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคลบริษัท บมจ. ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป (ซ้ายสุด – แถวที่ 5 จากบน)
- นางอัจฉริยา เจริญศักดิ์ ผู้จัดการฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บมจ. ปตท. (ขวาสุด – แถวที่ 5 จากบน)
สำหรับองค์กรที่สนใจเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เพื่อร่วมขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คณะทำงานมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี โทร. 02-069-2101 ต่อ 1003-1004 หรืออีเมล : [email protected]
A3904