WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

10122 AIinEverydayLife

วิศวะมหิดล จัดการแข่งขันเยาวชน AI in Everyday Life เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

          เยาวชนเป็นกำลังสำคัญที่จะขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงประเทศให้ก้าวหน้าอย่างยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดี, ผศ.ดร.กฤษฎาอัศวสกุลเกียรติรองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคม​ (ESR) ดร.สุพรรณ ทิพย์ทิพากร หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า จัด การแข่งขันฝึกปฏิบัติการด้านการสื่อสารด้วยระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)” การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ AI Challenge ในหัวข้อ AI in Everyday Life ภายใต้โครงการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด้วยทักษะทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 4.0 PLUS โดยมีครูและนักเรียนจาก 10 โรงเรียนเข้าร่วมแข่งขัน เพื่อฝึกฝนในทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์และการลงมือทำจริง ผ่านระบบประชุมทางไกล Webex

          ทีมเยาวชนจาก 10 โรงเรียนเข้าร่วมแข่งขัน มีทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และ มัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่ โรงเรียนวัดอินทาราม โรงเรียนเพิ่มวิทยาคม โรงเรียนคลองบางกระทึก โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม (สามัคคีพิทยา) โรงเรียนราษฎร์บำรุงวิทยา โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย โรงเรียนบุณยศรีสวัสดิ์ โรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย 2 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนหา (สมัครพลผดุง) โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดพระปฐมเจดีย์

          รศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในปัจจุบันและอนาคต เทคโนโลยีขั้นสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เข้ามามีส่วนพัฒนาในการทำงานและธุรกิจอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ในกระบวนการการคิด การรับรู้ข่าวสารข้อมูล การนำข้อมูลมาอนุมานประมวลผล การจัดเก็บข้อมูลเพื่อประยุกต์ใช้ในอนาคต เป็นต้น จนกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเรา โดย AI จะช่วยมนุษย์ในการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ให้มีประสิทธิภาพ ประหยัดเวลาและถูกต้องแม่นยำ ดังนั้น การที่ครูและเยาวชนไทยมีความรู้และทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์จะเป็นการเตรียมความพร้อมนักเรียน นักศึกษา ในการประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน พร้อมที่จะก้าวไปสู่อาชีพซึ่งตรงความต้องการในอนาคต และยกระดับพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน

          ผศ.ดร.กฤษฎาอัศวสกุลเกียรติรองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือและกิจกรรมเพื่อสังคมคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โครงการ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนด้วยทักษะทางวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี 4.0 PLUS มี 2 ส่วน โดยก่อนหน้านี้ เราได้จัดเวิร์คช็อปอบรมแก่ครู เรื่อง การสร้างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างเทคโนโลยี AI และนำไปประยุกต์ใช้เป็นนวัตกรรมในการเรียนการสอน คู่มือการเรียนรู้ และการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพแก่โรงเรียนเป้าหมาย ทั้งสร้างเสริมประสบการณ์การนำองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีไปช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

          ในส่วนที่ 2 จัด การแข่งขันฝึกปฏิบัติการด้านการสื่อสารด้วยระบบเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)” สำหรับเยาวชนนักเรียน เพื่อใช้ทักษะสร้างนวัตกรรมต้นแบบ AI Challenge ในหัวข้อ “AI in Everyday Life” มุ่งส่งเสริมพัฒนานักเรียนให้มีศักยภาพทางด้านปัญญาประดิษฐ์ สามารถคิดวิเคราะห์ มีทักษะวิชาชีพ ทักษะชีวิต การทำงานเป็นทีม พร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม การแข่งขัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทความคิดสร้างสรรค์ (Conceptual Model) โดยการนำเสนอถึงแนวคิด หลักการและเหตุผล ที่มาของการสร้างนวัตกรรมต้นแบบในลักษณะแผนงานภาพร่างโครงการ 2. ประเภทอุปกรณ์ต้นแบบ (Prototyping) โดยทีมแข่งขันนำเสนอถึงแนวคิด หลักการและเหตุผล ที่มาของการสร้างนวัตกรรมต้นแบบ พร้อมออกแบบผลงาน สร้างโมเดลเบื้องต้นเพื่อแสดงถึงการทำงานของ AI 

          ส่วนกติกาการแข่งขัน ตัวแทนของทีมนักเรียนแต่ละโรงเรียน จะต้องนำเสนอผลงานผ่านระบบออนไลน์ Webex ในรูปแบบการ Pitching โดยกำหนดเวลาในการนำเสนอ กลุ่มละ 5 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที ทั้งนี้ คณะกรรมการมีเกณฑ์การตัดสิน จะให้คะแนนที่มาการตอบโจทย์ใช้ AI เพื่อแก้ไขปัญหา การนำเสนอผลงาน การตอบคำถาม และภาพรวมของโครงงาน รวมถึงการสร้างอุปกรณ์ต้นแบบในการแข่งขันประเภท Prototyping 

          ไอเดียสุดล้ำจากเยาวชนไทย ผลการแข่งขัน มี 3 ผลงานที่ได้รับรางวัล ดังนี้

 

10122 FoodGym

 

          ผลงาน Food Gym จากทีม .. IR โรงเรียนวัดอินทาราม ได้รับรางวัลความคิดสร้างสรรค์ โดยคอนเซปต์ของ “Food Gym” เป็นแอพพลิเคชันเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ โดยใช้ AI ประมวลผลข้อมูลต่างๆ มี 7 ฟังก์ชั่น ให้คนรักสุขภาพ สามารถเลือกใช้ประโยชน์ได้ คือ 1. Tips ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ 2. วิเคราะห์ท่าออกกำลังกายให้เหมาะกับสรีระและเพศ 3. สแกนอาหารบอกปริมาณแคลอรี่ 4. ค้นหาข้อมูลผัก ผลไม้ นำไปทำเมนูอะไรได้บ้าง 5. เปรียบเทียบราคาอาหารและค่าส่งแต่ละเดลิเวอรี่ 6. บันทึกการกินอาหารในแต่ละมื้อ และวิเคราะห์ปริมาณสารอาหารที่ได้รับ 7. สะสมคะแนน สำหรับแลกของรางวัล

 

10122 EYE CONTACT

 

          ผลงาน​ EYE​ CONTACT จากทีม Never Give Up โรงเรียนเพิ่มวิทยาคม คว้ารางวัลอุปกรณ์ต้นแบบ (Prototyping) โดยมีแนวคิดในการนำกล้องและแสงอินฟราเรด (IR LED) มาประยุกต์ใช้ทำงานร่วมกันในการตรวจจับม่านตา เพียงแค่สบตาให้กล้องเท่านั้น ก็สามารถเปิด-ปิดประตูได้ โดยไม่ต้องใช้กุญแจอีก ซึ่งการทำงานของกล้องจะเก็บภาพจากแสงอินฟราเรด ที่สะท้อนบนม่านตา เพื่อจดจำภาพม่านตาของผู้ใช้งานแต่ละคน และส่งข้อมูลไปยังระบบเซนเซอร์เพื่อทำหน้าที่เปิดประตู เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างระบบความปลอดภัยของบ้านอาคารและสะดวกรวดเร็ว

 

10122 SmartStrap

 

          ผลงาน สายรัดอัจฉริยะ จากทีม Smart Strap โรงเรียนเทศบาล 2 วัดเสนหา (สมัครพลผดุง) คว้ารางวัล Popular Vote แนวคิดมาจากยุคโรคระบาดจำเป็นต้องปรับเป็นชีวิตวิถีใหม่ Next Normal ต้องการแก้ปัญหาเวลาลืมล้างมือ จึงได้คิดค้นอุปกรณ์ติดตัว เป็นสายรัดข้อมืออัจฉริยะ ที่ช่วยแจ้งเตือนให้ล้างมือ โดยได้รับแรงบันดาลใจในการพัฒนานวัตกรรมผ่านสายรัดข้อมือมาจาก Smart Watch ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนได้ นอกจากนี้ ยังได้ออกแบบให้สายรัดข้อมือสามารถพ่นแอลกอฮอล์ออกมาด้วยระบบเซ็นเซอร์ตรวจจับ หากต้องการให้ฉีดแอลกอฮอลสามารถพลิกข้อมือค้างไว้ 3 วินาที ระบบจะสั่งการฉีดแอลกอฮอล์นาน 3 วินาที จำนวน 2 ครั้ง โดยสั่งการอัตโนมัติแบบ AI จึงทำให้มีการตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและมีความผิดพลาดน้อย

 

A10122

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!