WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

8548 Mahidol

.มหิดล ต่อยอดพัฒนาคู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์’ 3 ภาษาเป็นครั้งแรก

          เป้าหมายแรกของการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ คือ การขจัดความยากจน (Poverty) ซึ่งนับเป็นคลื่นลูกใหญ่จากพายุวิกฤติ COVID-19 ที่คอยถาโถมจากปัญหาการหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานจากการหยุดประกอบการ ในขณะที่ปัญหาการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์ หรือ โลกออนไลน์นั้น นับวันจะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ จากการใช้โลกออนไลน์เป็นเครื่องมือประกอบอาชญากรรมดังกล่าว

          อาจารย์ ดร.วัชรฤทัย บุญธินันท์ ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในฐานะปัญญาของแผ่นดินตามปณิธานของมหาวิทยาลัยมหิดล นอกจากบทบาทในการถ่ายทอดความรู้เพื่อประชาชนในด้านสันติศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเยียวยาปัญหาชายแดนใต้ ส่งเสริมและพัฒนาประชาธิปไตย ส่งเสริมการเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของกลุ่มเปราะในสังคมไทยแล้ว IHRP มหาวิทยาลัยมหิดลยังมีบทบาทถึงในระดับภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติในส่วนของกลุ่มเปราะบางที่เป็นเด็ก ซึ่งพบว่ามักตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ที่มีสาเหตุหลักมาจากปัญหาความยากจนและการขาดโอกาส โดยได้มีการสร้างนวัตกรรมคู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์จากการลงพื้นที่จริง เพื่อศึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น จนได้แนวทางอันเป็นประโยชน์ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้เท่าทัน จนไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ ซึ่งปัจจุบันได้ขยายไปสู่โลกออนไลน์ที่ไร้ขอบเขตการควบคุม ทำให้ยากต่อการให้ความช่วยเหลือดูแล จึงได้พัฒนาเป็นคู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์ ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยหวังให้เกิดความรู้เท่าทัน และขยายผลสู่การแก้ไขในระดับนโยบายของประเทศต่อไป

8548 Mahidol IHRP ผศดร นภารัตน์          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสิทธิมนุษยชน(นานาชาติ) โครงการจัดตั้งสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา (IHRP) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในฐานะหัวหน้าทีมผู้วิจัยและพัฒนาคู่มือต่อต้านการค้ามนุษย์บนโลกไซเบอร์ซึ่งเกิดจากการได้ลงพื้นที่ศึกษาปัญหาแรงงานเด็กข้ามชาติที่จังหวัดสมุทรสาคร แล้วพบว่า เด็กกลุ่มเปราะบางที่เป็นแรงงานข้ามชาติส่วนใหญ่ต้องหยุดเรียนกลางคันตั้งแต่ยังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา เนื่องจากพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้ต้องการเกษียณตัวเอง แล้วให้ลูกออกมาหางานทำเพื่อช่วยเหลือครอบครัว เหมือนตัวเองที่ต้องเริ่มทำงานตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งทำให้เด็กๆ ส่วนใหญ่ใช้เวลาบนโลกออนไลน์ และมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์เนื่องจากขาดความตระหนักรู้ถึงกลยุทธ์ในการหลอกลวงของผู้ค้ามนุษย์ จากที่มาของการไม่ตระหนักรู้ถึงการค้ามนุษย์บนโลกออนไลน์นี้ จึงนำมาสู่การสร้างคู่มือพร้อมสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ เช่น สื่อนิทานที่เป็นการ์ตูน ซึ่งแปลออกเป็น 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาพม่า รวมถึงเพลงประกอบชื่อ Cyber Zone 

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภารัตน์ กรรณรัตนสูตร กล่าวแนะนำว่าปัจจุบันการค้ามนุษย์ได้ขยายสู่โลกออนไลน์ จึงขอแนะนำให้ผู้ที่กำลังหางานทำ ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือ คนข้ามชาติ ศึกษาหาข้อมูลรายละเอียดสถานการณ์การจ้างงานหรือ การปฏิบัติของนายจ้างต่อแรงงานจากแหล่งที่น่าเชื่อถือไว้ใจได้ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐ องค์กรเอกชนหรือภาคประชาสังคมที่ทำงานกับกลุ่มแรงงานโดยตรง หรือติดต่อกับกลุ่มแรงงานที่ทำงานในพื้นที่ผ่านทาง Facebook เป็นต้น นอกจากนี้ อย่าหลงเชื่อการโฆษณาชวนเชื่อทางโลกออนไลน์ที่ว่า เงินดี งานสบาย และไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพราะผู้ที่มีส่วนร่วมในการค้ามนุษย์ เช่น นายหน้า หรือ ผู้ค้ามนุษย์ ไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริง เมื่อผู้ที่กำลังหางานนั้นหลงเชื่อคำสัญญาที่หลอกลวงของกลุ่มผู้ค้ามนุษย์ให้เดินทางมาทำงาน พวกเขามักจะมีโอกาสตกเป็นเหยื่อแรงงานที่มีพันธนาการหนี้ (debt bandage) เพราะต้องชำระค่าสมัคร ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ

 

A8548

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!