WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

5884 MU SIET

นักศึกษา .มหิดล คว้า 3 รางวัลประกวดคลิปวิดีโอรณรงค์ไม่สูบบุหรี่

จากสมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

          องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดประเด็นรณรงค์วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม ปีนี้ว่า “Commit to quit” หรือมุ่งมั่นที่จะเลิกสูบ เพื่อลดเสี่ยงการติดเชื้อไวรัส COVID-19 รวมถึงผลกระทบทางสุขภาพจากโรคต่างๆ ซึ่งในส่วนของประเทศไทย เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 ศูนย์ข้อมูล COVID-19 กรมประชาสัมพันธ์ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์ COVID-19 ทั่วโลกล่าสุดว่า มีผู้ป่วยติดเชื้อรวม 165,550,534 ราย ซึ่งไทยอยู่ในอันดับที่ 92 ของโลก (119,585 ราย) และจากผลรายงานพบว่าผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ทั้งบุหรี่ธรรมดา และบุหรี่ไฟฟ้ามีโอกาสเสียชีวิตจาก COVID-19 สูง เนื่องจากเป็นโรคทางปอดที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอกว่าปกติ

          เมื่อเร็วๆ นี้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SIET) มหาวิทยาลัยมหิดล คว้า 3 รางวัลจากการประกวดคลิปวิดีโอ ส่งเสริมการสร้างค่านิยมการไม่สูบบุหรี่ หรือบุหรี่ไฟฟ้า จัดโดย สมาพันธ์เครือข่ายแห่งชาติ เพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่

          ซึ่ง 2 รางวัลจากการประกวดหัวข้อ บุหรี่ไฟฟ้า...ผิดมั้ยอ่ะ” รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ ผลงานคลิปพิพากษาบุหรี่ไฟฟ้า โดยทีมอัญประกาศซึ่งมีสมาชิกของทีมประกอบด้วย กานต์ตะวัน สมาน มนปริญา ศิพะโย สุทธวีร์ อนันคภัณฑ์นันท์ บุณยวีร์ พฤกษาเกษมสุข และ พนัชกร จันทบูลย์ และรางวัลชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ ผลงานคลิปคอร์สสอนสูบโดยทีมเด็กน้อยซึ่งมีสมาชิกของทีมประกอบด้วย นันทนัช ปิยะสินธ์ชาติ นฤมล สิงหปรีชา ภัทรวดี ขำเหม อภิสิทธิ์ ทังลา และ ปิยพร ศรีสนั่น

          และ 1 รางวัลจากการประกวดหัวข้อ “How to…ทิ้งบุหรี่ คือ รางวัลชนะเลิศ อันดับ 2 ซึ่งได้แก่ ผลงานคลิปดับไฟเสน่หา โดยทีมหมิวไม่ไปด้วยกันแล้วนะซึ่งมีสมาชิกของทีมประกอบด้วย สุดารัตน์ หาญมโน ชุติกาญจน์ สังข์ทอง อินธุอร เจ็กน้อย และ ภัทรชัย สุขประมาณ ซึ่งทั้ง 3 ผลงานมีเป้าหมายที่เป็นเยาวชนซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่มที่มีการเสพติดบุหรี่ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากที่สุด

          พนัชกร จันทบูลย์ กล่าวในฐานะตัวแทนของทีมอัญประกาศ” ซึ่งตั้งชื่อทีมโดยตั้งใจให้เป็นตัวแทนของเรื่องที่อยากจะบอกโดยทีมอัญประกาศได้สร้างสรรค์ผลงานคลิปพิพากษาบุหรี่ไฟฟ้าขึ้นในแนว parody หรือล้อเลียนคาแรกเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างวรรณกรรมจีนเปาบุ้นจิ้นและวรรณกรรมไทย พิภพมัจจุราชเพื่อความสนุก และเข้าใจง่าย โดยเสนอเป็นศาลไคงงกับท่านเปายิงชุบในโลกมนุษย์ ก่อนลงมาพบกับท่านยมบาลในยมโลก เพื่อพิพากษาคดีบุหรี่ไฟฟ้าว่ามีอันตรายและส่งผลร้ายต่อใคร อย่างไรบ้าง โดยอยากฝากข้อคิดให้ทุกคนรับสื่ออย่างระมัดระวัง และใช้วิจารณญาณ เนื่องจากมีทั้งข้อมูลจริง และข้อมูลชวนเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าที่พบว่ายังมีข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดอีกเป็นจำนวนมาก ติดตามชมคลิปพิพากษาบุหรี่ไฟฟ้าได้ที่ https://www.facebook.com/100006839414509/videos/2764400167131270/

          นฤมล สิงหปรีชา กล่าวในฐานะตัวแทนของทีมเด็กน้อย” ซึ่งตั้งชื่อทีมจากเมื่อครั้งก่อนที่ได้ลงพื้นที่ร่วมทำโปรเจคผลิตสื่อรณรงค์เกี่ยวกับสุขภาวะในเด็ก ผลงานคลิปคอร์สสอนสูบใช้วิธีการเล่าเรื่องที่แตกต่างกันออกไป โดยใช้ตัวแสดงที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แทนวัยรุ่นที่อยากรู้อยากลองบุหรี่ไฟฟ้าตามรุ่นพี่ ด้วยความเชื่อที่ผิดๆ ว่าสูบแล้วดูดี เป็นที่สนใจในสายตาของผู้อื่น จึงไปให้รุ่นพี่สอนสูบ โดยในคลิปจะมีเสียงของความคิดเป็น narrator หรือเสียงบรรยาย มาให้ข้อคิด และข้อมูลที่ถูกต้องถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อให้ตัดสินใจได้ว่าจะสูบดีหรือไม่ในช่วงท้าย เป็น key message หรือบทสรุปว่าเท่ได้ ไม่สูบซึ่งเป้าหมายของทีมฯ คือ การทำสื่อที่ถูกต้องให้กับผู้รับสื่อ ติดตามชมคลิปคอร์สสอนสูบได้ที่ https://www.facebook.com/100006839414509/videos/2764417490462871/

          สุดารัตน์ หาญมโน กล่าวในฐานะตัวแทนของทีมหมิวไม่ไปด้วยกันแล้วนะ” ซึ่งตั้งชื่อทีมจากชื่อเพื่อนนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่สามารถร่วมทำผลงานคลิปดับไฟเสน่หาด้วยกันจนเสร็จสมบูรณ์เนื่องจากวิกฤติ COVID-19 โดยเป็นคลิปที่จัดทำเลียนแบบละครไทย เปรียบตัวละครหญิงที่พระเอกกำลังติดพันเหมือนบุหรี่ ในขณะที่อีกตัวละครหญิงที่เป็นคู่หมั้นคู่หมายจะเป็นฝ่ายคอยเตือนพระเอกให้เลิกบุหรี่ และชี้ให้เห็นโทษของบุหรี่ สุดารัตน์กล่าวฝากในฐานะตัวแทนผู้เรียนการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมสุขภาวะว่า ไม่ได้หวังเพียงให้สื่อที่ทำออกมาสามารถทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แต่อยากให้มีการขยายผลสู่สังคมโดยรวมต่อไปอีกด้วย ติดตามชมคลิปดับไฟเสน่หาได้ที่ https://www.facebook.com/100006839414509/videos/2764394903798463/

          อาจารย์ ดร.โสภิตา สุวุฒโฑ ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ โรงเรียนเวชนิทัศน์พัฒนา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SIET) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนด้านการผลิตสื่อการศึกษาทางด้านการแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ต้องอาศัยความชำนาญเฉพาะทางที่ผสมผสานระหว่างวิทยาศาสตร์การแพทย์ ศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี ในการจัดทำคลิปวิดีโอรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ หรือบุหรี่ไฟฟ้าของทั้ง 3 ทีมนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน นักศึกษาต้องวางแผนและจัดทำจนเสร็จสิ้นทุกกระบวนการด้วยตนเอง ตั้งแต่การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย การคิดออกแบบเนื้อหา การเล่าเรื่องให้น่าสนใจ ที่ไม่ได้เน้นแค่ความบันเทิง แต่ต้องสร้าง awareness และให้ข้อเท็จจริง (fact) ที่เป็นประโยชน์ ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้สามารถจดจำและนำไปปฏิบัติได้จริง รวมถึงใช้เทคนิคการถ่ายทำ และงาน Post Production ที่ทันสมัย สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย สร้างสรรค์เป็นผลงานที่มีคุณภาพเพื่อเผยแพร่สู่สังคม

          ร้อยโท นายแพทย์ภาณุภัท นราศุภรัฐ หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ครอบครัวและแพทย์บูรณาการ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายกว่าบุหรี่ธรรมดาถึง 15 เท่า โดยบุหรี่ไฟฟ้า 1 หลอด เทียบเท่ากับการสูบบุหรี่ธรรมดาถึง 15 มวน นอกจากนี้ ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารนิโคตินจากบุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่กระแสเลือดเร็วกว่าบุหรี่ธรรมดา โดยบุหรี่ไฟฟ้าใช้เวลาดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพียงได้เพียงภายใน 7 - 10 วินาที ในขณะที่บุหรี่ธรรมดาใช้เวลา 15 วินาที ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ต้องสูดกลิ่นควันจากบุหรี่ไฟฟ้า (second hand smoke, third hand smoke) จะยิ่งได้รับอันตราย โดยเขม่าควันจากบุหรี่ไฟฟ้านั้นมีอนุภาคที่เล็กกว่า PM2.5 เนื่องจากใช้ไฟฟ้าในการเผาไหม้ จึงทำให้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า

          “จริงๆ แล้วการเสพติดบุหรี่ ไม่ได้หมายความว่าเสพติดจากความอยากสูบ แต่เสพติดจากสารเคมีต่างๆ เช่น สารนิโคตินที่จะไปกระตุ้นสมองให้เกิดความรู้สึกอยากสูบขึ้นมา แม้แพทย์อาจช่วยบำบัดอาการดังกล่าวจนสามารถเลิกบุหรี่ได้ แต่ที่สำคัญยิ่งกว่า คือ ผู้สูบต้องตั้งเป้าหมายในการเลิกบุหรี่อย่างจริงจัง และลงมือปฏิบัติโดยเคร่งครัด นอกจากนี้กำลังใจจากครอบครัวก็เป็นสิ่งที่สำคัญ โดย ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เป็นโรงพยาบาลที่ปลอดการสูบบุหรี่ 100% ซึ่งมีคลินิกบำบัดการติดบุหรี่ หรือ คลินิกฟ้าใส” ที่พร้อมด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและนักสุขศึกษา คอยให้คำปรึกษา และติดตามผลจนสามารถเลิกบุหรี่ได้ในที่สุด สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 0-2849-6600 ต่อ 2318 ในวันและเวลาราชการร้อยโท นายแพทย์ภาณุภัท นราศุภรัฐ กล่าวทิ้งท้าย

 

A5884

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!