WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaa Kโท เอก

สวทช. อว. จับมือ มจพ. พัฒนาบัณฑิตคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับปริญญาโท เอก เสริมความเข้มแข็งด้านการวิจัย พัฒนา สร้างนวัตกรรม และการผลิตบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ

    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ วิจัย พัฒนา การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมลงนาม เพื่อมุ่งเน้นการทำงานวิจัย พัฒนา สร้างนวัตกรรม และการผลิตบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง ร่วมกับ สวทช. เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันโดยรวมของประเทศ

      ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า สวทช. และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีความร่วมมือกันในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรม ผ่านโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ ITAP ของ สวทช. จำนวน 333 โครงการ มีโครงการร่วมวิจัยระหว่าง มจพ. และ สวทช. จำนวน 11 โครงการ (ตั้งแต่ปี 2557 - 2565) และโครงการวิจัยและพัฒนา ที่ สวทช. ให้ทุนสนับสนุน มจพ. จำนวน 6 โครงการ (ตั้งแต่ปี 2558 - 2566) และโครงการรับจ้างวิจัย 1 โครงการ (ตั้งแต่ปี 2558 - 2560) นอกจากนี้ ด้านการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. ได้สนับสนุนทุนการศึกษาให้กับนักศึกษา มจพ. ในระดับปริญญาตรี โท และเอก ที่มีการทำงานวิจัยร่วมกับนักวิจัย สวทช. หรือภาคอุตสาหกรรม รวม 90 ทุน ในห้วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

     การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งนี้ ทั้งสองสถาบันมีความพร้อมอย่างยิ่ง ที่จะใช้ศักยภาพของทั้งสองสถาบัน ร่วมผลักดันให้เกิดการพัฒนาบัณฑิตวิจัยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ถือเป็นความร่วมมือที่สำคัญทั้งในด้านการวิจัย พัฒนา การสร้างนวัตกรรมและการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ ที่สอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 เพื่อรองรับการพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมทั้งเทคโนโลยีเพื่องานด้านความมั่นคงและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ เทคโนโลยีเพื่อตอบสนองความต้องการของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมระบบรางและการขนส่งสมัยใหม่ของประเทศ ที่มีศักยภาพและเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต เสริมสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในประเทศ อีกทั้งเป็นการวางแผนพัฒนากำลังคนในอนาคตเพื่อรองรับการดำเนินการภายใต้นโยบายการพัฒนา“ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก”  (Eastern Economic Corridor : EEC) และเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation : EECi) ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้อีกด้วย

     ศ.ดร.สุชาติ เซี่ยงฉิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกันในวันนี้ จะเป็นกิจกรรมความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมของมหาวิทยาลัยและ สวทช. ที่บูรณาการความพร้อมของสองหน่วยงานในการการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยและพัฒนาร่วมกันสร้างบุคคลากรเพื่อรองรับและส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาของประเทศในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อาทิ ยานยนต์และการขนส่งสมัยใหม่ ระบบราง ดาวเทียม พลังงานทางเลือก ชิ้นส่วนอุปกรณ์ตลอดจนหุ่นยนต์เพื่อการแพทย์ และเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนเทคโนโลยีด้านวัสดุและการผลิต 4.0 และเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ โดยเป้าหมายระยะแรกในการพัฒนาบุคลากรระดับปริญญาโทและปริญญาเอกอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 5 ปี รวมผลิตบุคลากรถึง 125 คน แบ่งเป็นระดับปริญญาโท 75 คน และปริญญาเอก 50 คน

      ความร่วมมือนี้ยังมุ่งเน้นการเชื่อมโยงไปสู่การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากนานาประเทศด้วย โดยนักศึกษาผู้ได้รับทุนนอกจากจะได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์และความรู้จากบุคลากรทั้งจาก สวทช. และมหาวิทยาลัยแล้ว ยังจะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากหน่วยงานการศึกษาและวิจัยทั้งในประเทศ และต่างประเทศ อาทิ มหาวิทยาลัย RWTH Aachen ที่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศเยอรมัน ผ่านการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรต่าง ๆ อาทิ หลักสูตรปริญญาโทนานาชาติด้านวิศวกรรมยานพาหนะและโครงสร้างพื้นฐานระบบราง (Railway Vehicles and Infrastructure Engineering) ซึ่งร่วมมือกันระหว่าง มจพ. โดยบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติ สิรินธร ไทย-เยอรมัน หรือ TGGS และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหลักสูตรนี้นอกจากมีลักษณะเด่นของการได้รับปริญญาร่วมสองสถาบันแล้วยังมีการเรียนการสอนร่วมกับ RWTH Aachen ซึ่งนักศึกษาในหลักสูตรจะได้ไปเรียนรู้ที่ประเทศเยอรมันเป็นระยะเวลา 1 ปี  หรือหลักสูตรนานาชาติด้านวิศวกรรมไฟฟ้าและระบบซอฟต์แวร์ (Electrical and Software Systems Engineering) ซึ่งจะได้รับ Double Degree กับประเทศเยอรมัน ซึ่งนักศึกษาจะได้รับปริญญาจากทั้งสองมหาวิทยาลัยทั้งจาก มจพ. และมหาวิทยาลัย RWTH Aachen

      ทั้งนี้ สวทช. และ มจพ. จะร่วมกันดำเนินการในกิจกรรมวิจัยและพัฒนา การสร้างนวัตกรรม รวมทั้งการพัฒนาบัณฑิตวิจัยคุณภาพสูง สนับสนุนทุนวิจัยและทุนการศึกษา รวมถึงจัดหาทุนจากหน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อีกทั้งยังร่วมพัฒนาหลักสูตรปริญญาโทและปริญญาเอกที่มุ่งเน้นการทำงานวิจัยเป็นหลัก และสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัย เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์การวิจัย โดยจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย เพื่อให้เกิดการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมถึงทั้งสองฝ่ายยังร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมทางวิชาการ เช่น การจัดประชุมเชิงวิชาการ หรือการประชุมระดับนานาชาติร่วมกัน สนับสนุนให้นักศึกษาในโครงการได้เปิดโลกทัศน์และเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับนานาชาติ อันนำไปสู่การสร้างและขยายโอกาสเรียนรู้และเกิดแนวทางร่วมกันในการสร้างงานวิจัยที่มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ เสริมแกร่งด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเวทีโลกต่อไป

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!