WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AAA11enสอศ

สอศ.-สพฐ.เดินหน้าเชื่อมโยงเรียนสายอาชีพในเขตกทม. ย้ำ เหนือกว่าหน้าที่คือความรับผิดชอบ

      ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนา การขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร พร้อมลงนามความร่วมมือ "สะพานเชื่อมโยงการจัดการศึกษา" ระหว่าง อาชีวศึกษากรุงเทพ กับ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 และ เขต 2 และ มีการเสวนา เรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานกับการจัดการอาชีวศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร” ณ ห้องประชุม วิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง

      ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร เปิดเผยว่า ด้วยนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ลงนามความร่วมมือเพื่อบูรณาการการทำงานเชื่อมโยงการจัดการศึกษาร่วมกันผลิตและพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้กำลังคนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยมีการส่งเสริมการเรียนสายอาชีพของนักเรียน ด้วยโครงการสานฝันอาชีพเด็กไทยก้าวไกลสู่สากล เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้ค้นพบตัวเอง ผ่านการเรียนการสอนเสริมทักษะอาชีพที่หลากหลาย รวมทั้งการจัดกิจกรรมแนะแนวและให้นักเรียนได้ทำแบบวัดแวว วัดความถนัดทางอาชีพ และสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพ

      โดยใช้สะพานเชื่อมโยง 5 สาย เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จระหว่าง สพฐ. กับ สอศ. ได้แก่ สะพานที่ 1 สะพานของฝ่ายบริหาร ที่เป็นการเชื่อมโยงระหว่างผู้บริหาร สพฐ. กับผู้บริหาร สอศ. ส่วนกลาง หรือระหว่างผู้อำนวยการโรงเรียนกับผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวะ และผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษากับผู้อำนวยการเขตในแต่ละจังหวัด สะพานที่ 2 คือสะพานเชื่อมโยงระหว่างครูกับครู สะพานที่ 3 ให้เด็กเชื่อมโยงกันระหว่างเด็กกับเด็ก สะพานที่ 4 คือผู้ปกครองกับผู้ปกครองต้องเชื่อมโยงกัน มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพื่อทำให้เกิดทัศนคติที่ดี มีความเชื่อมั่นว่าเด็กที่มีโอกาสได้เรียนสายอาชีพตั้งแต่ต้นจะได้ค้นพบตัวตน เน้นสมรรถนะมากกว่าวิชาการอย่างเดียว และสะพานที่ 5 คือการเชื่อมโยงกับชุมชน ซึ่งการเรียนในวิทยาลัยหรือในโรงเรียนอาจจะเรียนทางทฤษฎีมากกว่า จึงต้องเชื่อมโยงกับชุมชนหรือสถานประกอบการต่างๆ

      ดร.บุญรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมสัมมนาในครั้งนี้ เป็นการประชุมของบุคคลที่เชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาประเทศโดยชี้ให้เห็นว่าความร่วมมือในการทำสะพานเชื่อมโยงนั้นเดิมทีทำได้ดีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทำให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้และในหลาย ๆ เรื่องที่เด็กประสบความสำเร็จ ส่วนด้านอาชีวศึกษาก็ผลิตและพัฒนากำลังคนให้เข้าสู่การพัฒนาประเทศได้อย่างเข้มข้น แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องคิดต่อคือในการทำหน้าที่นั้นต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อไปด้วย นั่นคือ "เหนือกว่าหน้าที่ คือความรับผิดชอบ’ ซึ่งความรับผิดชอบนั้นต้องร่วมมือกันทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตัวนักเรียน ที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากทำให้อ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณได้ ให้ค้นพบตัวตน ความสนใจ ความถนัด นั่นคือการตัดสินใจที่จะไปเรียนต่อด้านใด หรือประกอบอาชีพไหน ในอนาคตอีกด้วย

     ด้านอาชีวศึกษาต้องคิดต่อยอด ต้องไม่คิดว่ามีนักเรียนมาเท่าไหร่ หายไปเท่าไหร่ ก็จัดการเรียนการสอนเท่านั้น ต้องคิดว่ามีหน้าที่ผลิตและพัฒนากำลังคนให้กับประเทศ มีความจำเป็นต้องใช้กำลังคนอย่างน้อย 4 กลุ่ม ในการทำงาน กลุ่มแรกคือทักษะเชิงเดี่ยว กลุ่มสองคือกลุ่มช่างฝีมือ เครื่องมือ เครื่องจักร เครื่องยนต์ได้อย่างคล่องแคล่ว มีฝีมือผลิตงานตามที่ต้องการได้ กลุ่มสาม คือกลุ่มช่างเทคนิค ที่สามารถคุมงาน สั่งงาน สามารถสื่อสารกับนายจ้างหรือผู้ประกอบการ โดยใช้ได้หลายภาษาและกลุ่มที่สี่ คือกลุ่มที่จะพัฒนาให้เป็นนวัตกรที่จะมาสร้างนวัตกรรมให้กับประเทศ

      อาชีวศึกษาต้องไปให้ถึงจุดความรับผิดชอบ ว่าประเทศชาติต้องการคนอย่างน้อย 4 กลุ่ม แต่ปริมาณกำลังคนยังไม่เพียงพอ ซึ่งกลุ่มที่ 1 อาจจะมีมากพอ แต่ไม่ตอบโจทย์ในทักษะที่ได้รับ ซึ่งสามารถพัฒนาโดยหลักสูตรระยะสั้น ในวิทยาลัยสารพัดช่าง ให้ฝึกให้มีอาชีพให้มีงานทำส่วนกลุ่มที่ 2 ยังไม่เพียงพอจากข้อมูลของ EEC และความต้องการของประเทศแล้ว ไม่สามารถผลิตช่างที่มีฝีมือได้เพียงพอกับการผลิตและการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมใน EEC ส่วนกลุ่มที่ 3 ช่างเทคนิคยังมีน้อยมาก กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญ เป็นกลุ่มที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมจากต่างประเทศ ตัดสินใจมาลงทุน มากหรือน้อย

      โดยมีผลต่อสังคม ถ้ามีการย้ายฐานการผลิตมาที่ประเทศไทยเงินทุนก็จะเข้ามาในประเทศ ความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจก็จะเกิดขึ้น อัตราการว่างงานก็จะน้อยลง เพราะคนมีงานทำ สินค้าที่ผลิตได้เป็นสินค้าในกลุ่ม S-Curve และ New S-Curve ทั้งหมด เป็นสินค้าที่เป็นความต้องการของโลก สินค้าที่ผลิตได้ก็ส่งออกไปต่างประเทศ ฉะนั้นเงินตราก็เข้าประเทศ ซึ่งก็เป็นความรับผิดชอบทางสังคมของอาชีวะที่สามารถทำให้คนทั้ง 4 กลุ่มเข้าสู่ตลาดแรงงานได้

     ดร.บุญรักษ์ กล่าวปิดท้ายว่า’เหนือกว่าหน้าที่ คือความรับผิดชอบ’ ฉะนั้นหน่วยงานทา งการศึกษาทุกหน่วยงานต้องมองไปถึง out come การทำให้เด็กอ่านออกเขียนได้ หรือทำหน้าที่ของเราอย่างเดียว การศึกษาขั้นพื้นฐานทำหน้าที่ตัวเอง อาชีวะทำหน้าที่ตัวเอง เป็นเพียง out put แต่วันนี้ประเทศชาติต้องการ out come ของประเทศ สอศ.กับ สพฐ.จึงต้องทำ นโยบายให้เกิดความเชื่อมโยงกัน

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!