WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Artificial

มจธ.ร่วมกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เปิดสาขาใหม่ วิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพสาขาที่ขาดแคลนบุคลากร

     ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เปิดสอนหลักสูตรใหม่ระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ หลักสูตรใหม่ เริ่มปีการศึกษา 2561 รุ่นแรกรับ 30 คน ได้รับทุนเรียนฟรี

      ดร.อัญชลิสา แต้ตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดแคลนบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล และข้อมูลจากทั่วโลกพบว่าข้อมูลด้านสุขภาพเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกที่ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยวิทยาศาสตร์ข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลสุขภาพหรือการบริการด้านสาธารณสุข เช่น การใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI) วิเคราะห์รูปภาพและข้อมูลทางการแพทย์เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคของผู้ป่วย หรือการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานในโรงพยาบาลเพื่อลดระยะเวลาการใช้บริการของผู้ป่วย เป็นต้น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพจะทำการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงลึก โดยดึงเอาข้อมูลที่มีอยู่แล้วในอดีต มาหาความสัมพันธ์เพื่อตอบโจทย์ปัญหา แล้วมาทำเป็นโมเดลคณิตศาสตร์เพื่อทำนายอนาคต และบอกแนวทางในการแก้ปัญหานั้นๆ

        สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพ เป็นการออกแบบหลักสูตรร่วมกันของสองสถาบัน โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จะเน้นการเรียนการสอนแบบการแก้โจทย์ปัญหาจริง (problem based learning) จากฐานข้อมูลจริง เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูล และวิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะสอนเรื่อง Healthcare ที่เกี่ยวกับความรู้ด้านสาธารณสุข สุขภาพ ข้อมูลการรักษา ข้อมูลโรงพยาบาล เมื่อบัณฑิตจบไปจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่มีความเข้าใจเรื่อง Healthcare สามารถไปศึกษาเพิ่มเติมในด้านอื่นให้เข้าใจในธุรกิจนั้นก็สามารถประกอบอาชีพได้ในหลากหลายธุรกิจ เช่น ธนาคาร ค้าปลีก ภาครัฐ สามารถทำงานในด้านต่าง ๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักระบาดวิทยา นักวิเคราะห์ข้อมูล นักพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบข้อมูล และนักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

       สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ข้อมูลสุขภาพเป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี รับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 4 หรือสายการเรียนวิทย์-คณิต หรือประกาศนียบัตรที่กระทรวงศึกษาธิการเทียบเท่าสายวิทยาศาสตร์ โดยการเรียนการสอนของนักศึกษาจะเรียนที่ มจธ.เป็นส่วนใหญ่ สำหรับบางรายวิชาที่ต้องเรียนให้ห้องแล็บหรือใช้อุปกรณ์ด้าน Healthcare จะเรียนที่วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ โดยผู้สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรนี้จะได้รับปริญญาบัตรร่วมกันจากสถาบันทั้งสองแห่ง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!