WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษจ่อไฟเขียวแผนกระตุ้นอสังหา ลดค่าธรรมเนียมโอน-จดจำนองเหลือ 0.01%

   'สมคิด'เผยขอคุย 'บิ๊กตู่'ก่อนชงมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เข้า ครม. มีทั้งลดค่าธรรมเนียมโอนจดจำนองเหลือ 0.01% ของราคาประเมิน คาดสัปดาห์นี้ไฟเขียวได้แน่ ส่วนมาตรการสนับสนุนเอสเอ็มอีเฟส 2 จ่อคิวชง ครม.สัปดาห์หน้า พร้อมสั่งทำงบเน้นยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศมากขึ้น ขณะที่ภาคเอกชนเชียร์สุดแรง

   นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจเมื่อเช้าวันที่ 12 ต.ค.ที่ผ่านมาว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง ได้เสนอมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์มาให้พิจารณาเรียบร้อยแล้ว และตนจะรายงานให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณาก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป

    ด้านนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ได้หารือมาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ระยะที่ 2 ร่วมกับนายสมคิด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วสำหรับมาตรการสนับสนุนเอสเอ็มอีเฟส 2 จากนี้จะหารือกับกระทรวงการคลัง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เพื่อจัดทำรายละเอียดก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณาวันที่ 20 ต.ค.นี้

   ขณะที่นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กล่าวว่า นายสมคิดได้มอบนโยบาย การจัดทำงบประมาณ โดยเฉพาะปี 2560 ที่ต้องจัดสรรให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ที่ต้องการให้เกิดการปฏิรูปประเทศมากขึ้น เช่น ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจชุมชน หรือโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อลดภารกิจที่ซ้ำซ้อนจากเดิมที่การจัดสรรงบประมาณเน้นตามภารกิจรายกระทรวง ทบวง กรม ขณะเดียวกัน เน้นการจัดสรรงบลงพื้นที่ ให้มากขึ้น โดยให้หน่วยงานท้องถิ่นมีส่วนเสนอคำ ของบประมาณในเชิงยุทธศาสตร์ผ่านทางจังหวัด และกลุ่มจังหวัดทั้ง 18 กลุ่ม ซึ่งมีงบประมาณสนับสนุน 28,000 ล้านบาท เฉลี่ยจังหวัดละ 300-400 ล้านบาท

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คาดว่ารัฐบาลจะนำมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เข้าสู่การพิจารณาของ ครม.วันที่ 13 ต.ค.นี้ เพื่อให้มาตรการมีผลโดยเร็ว เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้สถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อแก่ลูกค้า รัฐบาลจึงออกมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเป็นการบรรเทาและสร้างความเชื่อมั่นให้เศรษฐกิจของประเทศ โดยจะช่วยผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ด้วยการลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนอง เป็นระยะเวลา 6 เดือน

    สำหรับ มาตรการที่สำคัญประกอบด้วย การลดค่าธรรมเนียนการโอน ที่ปัจจุบัน คิดในอัตรา 2% ของราคาประเมิน และลดค่าธรรมเนียมการจดจำนอง จากปัจจุบันในอัตรา 1% ของราคาประเมิน ให้เหลือเพียง 0.01% ของราคาประเมิน ซึ่งการลดค่าธรรมเนียมทั้ง 2 ประเภทนั้น ที่อยู่อาศัย ที่จะได้รับประโยชน์ จะมีระดับราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ต้องการซื้อบ้านที่มีฐานะปานกลางลงมา ซึ่งเป็นคนกลุ่มใหญ่

    ส่วนข้อเสนอของภาคเอกชนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการให้กระทรวงการคลัง ลดภาษีธุรกิจเฉพาะ ลงเหลือ 0.1% จากอัตราปัจจุบันที่ 3.3% นั้น กระทรวงการคลังไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติเหมือนช่วงปี 40 ที่เกิดภาวะฟองสบู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และอีกประการหนึ่ง กระทรวงการคลัง ต้องการให้มาตรการช่วยเหลือดังกล่าว ถึงมือผู้ที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยที่แท้จริง ไม่ต้องการให้เป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ กระทรวงการคลัง ยังให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ออกมาตรการผ่อนปรนในการพิจารณาสินเชื่อ ที่สำคัญคือ การเพิ่มอัตราการคำนวณเงินงวดผ่อนบ้าน จากปกติที่คิดในอัตรา 30% ของรายได้ เพิ่มขึ้นเป็น 50% เพื่อให้คนเข้าถึงสินเชื่อบ้านได้ง่ายขึ้น และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่งด้วย

      ขณะที่นายเลอศักดิ์ จุลเทศ รองประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้อำนวยการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ว่า โดยส่วนตัวมองว่า มาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล มีประโยชน์ต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และลูกค้าอย่างแน่นอน และจะช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ได้ อีกทั้งยังจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตอีกด้วย เพราะลูกค้าจะตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น เจ้าของโครงการจะลงทุนเพิ่มขึ้น เกิดการหมุนเวียน ทั้งการซื้อสินค้าก่อสร้าง การจ้างงาน และที่สำคัญหากรัฐประกาศมาตรการดังกล่าว ควรจะมีผลบังคับใช้ทันที มิเช่นนั้นลูกค้าจะไม่ยอมโอนจนกว่ามาตรการจะมีผลบังคับใช้

   ด้านนายอุทัย อุทัยแสงสุข รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส สายงานพัฒนาธุรกิจและพัฒนาคอนโดมิเนียม บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) หรือ SIRI กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่ดี และเป็นประโยชน์กับทั้งฝ่ายลูกค้าผู้ซื้อ และบริษัทฯที่เป็นผู้ขาย ซึ่งต้องการให้มาตรการนี้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว และส่งผลให้การขายโครงการภาคอสังหาริมทรัพย์กระเตื้องมากขึ้น สำหรับบริษัทฯ ในช่วงไตรมาส 3 โครงการคอนโดมิเนียม ได้รับผลกระทบจากลูกค้าไม่ยอมโอน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% หรือมีมูลค่าประมาณ 100-200 ล้านบาท ส่วนบ้านเดี่ยวไม่ค่อยมีผลกระทบ เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ซื้อด้วยเงินสด.

                        ที่มา : www.thairath.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!