WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SPALIดร ประศาสน์2

การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย : จำเป็น/แค่ไหน?

โดย ดร.ประศาสน์ ตั้งมติธรรม

 

          บุคคลทั่วไปที่มีความรู้ทางเศรษฐกิจเศรษฐศาสตร์เพียงพื้นฐาน จะทราบว่าภาวะเงินเฟ้อเกิดจากอุปสงค์/ความต้องการมวลรวมมากเกินไป หรือ อาจกล่าวเป็นภาษาชาวบ้านว่าเศรษฐกิจร้อนแรงเกินไป อาการเศรษฐกิจที่ว่านี้ต้องแก้ไขด้วยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางซึ่งก็จะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ยโดยทั่วไปในระบบเศรษฐกิจให้เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางเดียว

          แต่ว่า ภาวะเงินเฟ้อไม่ได้เกิดจากอุปสงค์มวลรวมมากเกินไปเสมอไป การปรับขึ้นราคาน้ำมันแบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยของประเทศผู้ผลิตน้ำมันในทศวรรษที่ 1970 ก็ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อได้มากมายมาแล้ว

          ตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ยูเครนเป็นต้นมา ประเทศกลุ่มนาโตคว่ำบาตรรัสเซียด้วยการไม่ซื้อน้ำมันจากรัสเซีย การจัดหาน้ำมันของกลุ่มประเทศเหล่านั้นจึงไม่มีทางอื่นนอกจากการซื้อน้ำมันจากประเทศนอกรัสเซียมากขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตของประเทศนอกรัสเซียเท่าเดิม แถมยังลดกำลังผลิตในช่วงหลังด้วย ราคาน้ำมันจึงพุ่งสูงอย่างรุนแรงด้วยปริมาณความต้องการมากกว่าปริมาณที่มีขายอยู่พร้อมๆ กับการเก็งกำไรของตลาดซื้อขายน้ำมัน ที่จริงแล้ว ประเทศผู้ผลิตน้ำมันมีการลดการผลิตน้ำมันตั้งแต่ปี 2021 แล้วและทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นตลอดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

          ในบทความนี้จะดูผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อในประเทศตัวอย่าง 4 ประเทศคือ ไทย สหรัฐอเมริกา จีน และออสเตรเลีย รูปกราฟที่แสดงอัตราเงินเฟ้อในไทยและสหรัฐอเมริกาขึ้นถึงจุดสูงสุดประมาณกลางปี 2022 และเริ่มลดลงมาตามราคาน้ำมันหลังจากนั้น จีนเป็นกรณีที่อัตราเงินเฟ้อลดลงมาแล้วสูงขึ้นไปอีก ส่วนออสเตรเลียยังไม่มีจุดสูงสุด

 

121084 RealEstate TH

 

          เมื่อดูรูปกราฟที่แสดงอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจรายไตรมาส (แต่คำนวณอัตราเป็นรายปี) จะพบว่าอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยค่อยๆ สูงขึ้นตั้งแต่การเปิดประเทศในไตรมาส 4 ปี 2021 ที่เริ่มต้นด้วยภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์จนกระทั่งเปิดเต็มที่ในปีนี้ เมื่อไปดูรูปกราฟที่แสดงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยจะพบว่าธนาคารกลางเริ่มปรับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2022 และปรับสูงทั้งหมดเพียง 0.75 หน่วย% ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าการเปิดประเทศ/ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็น dominating of factor ของเศรษฐกิจไทย ราคาน้ำมันอาจสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นไม่มากและมาช้าด้วยจึงอาจจะไม่ส่งผลกระทบหรือยังไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย

 

121084 RealEstate USA

 

          เมื่อดูกราฟแสดงอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาจะพบว่า เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาฟุบด้วยภาวะโควิดในปี 2020 แต่เด้งกลับขึ้นในปี 2021 เกินกว่าที่เสียไป หลังจากนั้นเศรษฐกิจทยอยขยายตัวลดลงด้วยอัตราที่ต่ำลงเรื่อยๆ สอดคล้องกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นชัดเจนตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2021 ปัจจัยสำคัญสำหรับสหรัฐอเมริกาที่ควรกล่าวถึงคือ ระดับการขาดดุลทางการคลังสำหรับปีงบประมาณ 2022 (Oct 2021-Sep 2022) มีระดับเพียง 1/3 ของการขาดดุลของ 2 ปีงบประมาณก่อนหน้านี้ เมื่อสรุปโดยรวมแล้ว dominating of factor ต่อภาวะเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเป็นการขาดดุลที่ลดลง หรือ ราคาน้ำมัน หรือ การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วกว่าและมากกว่าประเทศอื่นๆ คือตั้งแต่เดือนมีนาคม 2022 และปรับทั้งหมด 3.5 หน่วย% หรือ ทั้งหมดรวมๆ กันและแยกไม่ออกว่าอย่างไหนมากกว่ากัน เมื่อดูองค์ประกอบของจีดีพีจะพบว่าการบริโภคภาคเอกชนลดลงในไตรมาส 2-3 ประมาณ 1-2% แต่การบริโภคมีสัดส่วนถึง 70%ของจีดีพีจึงส่งผลกระทบมาก แต่ว่าการลงทุนภาคเอกชนลดลงมากที่สุดถึง 10% หรือกว่านั้นแม้ว่าจะมีสัดส่วนเพียง 20% โดยสรุปแล้วอาจกล่าวได้ว่า ราคาน้ำมันและความไม่แน่นอนของอัตราดอกเบี้ยในอนาคตส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจีดีพีโดยรวม

 

121084 RealEstate CH

 

          กรณีของจีนเห็นได้ชัดว่าจีดีพีได้รับผลกระทบหลักจากการล็อกดาวน์ที่ทำให้การผลิตทางเศรษฐกิจต้องหยุดชะงักลง อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2022 ไม่ได้ส่งผลอะไรที่ชัดเจนแม้ว่าจะเปลี่ยนแปลงในทางที่ต่ำลงแต่ก็ไม่ได้ช่วยเศรษฐกิจแต่อย่างใด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงมีขนาดเพียง 0.20 หน่วย% เท่านั้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นด้วยราคาน้ำมันก็ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจแต่อย่างใด

 

121084 RealEstate AUS

 

          เศรษฐกิจออสเตรเลียได้รับผลกระทบจากโควิดในปี 2020 และฟื้นกลับมาในปี 2021 ด้วยอัตราการขยายตัวที่สูงพร้อมๆ กับความต้องการที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระดับสูง แม้ว่าธุรกิจที่อยู่อาศัยเริ่มได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันตั้งแต่ต้นปี 2022 และการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2022 แต่ก็มีการใช้จ่ายของรัฐบาลกลางในระดับสูงที่ช่วยชดเชยให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับ 3-4% และอัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายสิบปีที่ 3+% การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายก็ไม่ได้ทำให้อัตราเงินเฟ้อลดลงเท่าที่ควรจะเป็นเลย

          กรณีศึกษาของประเทศตัวอย่าง 4 ประเทศคือ ไทย สหรัฐอเมริกา จีน และ ออสเตรเลีย แสดงให้เห็นว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่ได้สัมพันธ์กับภาวะเงินเฟ้อที่สูงเสมอไป ในกรณีศึกษาทั้งหมดนี้ ภาวะเงินเฟ้อเกิดจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นจึงไม่ได้ช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ ในกรณีของสหรัฐอเมริกาการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วและรุนแรงดูเหมือนจะชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรงที่มาคู่กับอนาคตทางเศรษฐกิจที่ผันผวน นำไปสู่ความชะงักงันของการบริโภคและการลงทุนมากกว่า ในขณะที่ประเทศที่เหลือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังคงดำเนินไปตามปัจจัยเฉพาะ หรือ dominating factor ของแต่ละประเทศเช่น ไทยและออสเตรเลีย ส่วนกรณีของจีนนั้น จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจชะลอลงจากการล็อกดาวน์เป็นสำคัญ อัตราการว่างงานค่อนข้างแปรผกผันกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจยกเว้นในช่วงที่อัตราการว่างงานต่ำมากอย่างในไทย สหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย ที่อัตราการว่างงานลดลงไม่ได้อีก

          กล่าวโดยสรุปคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไม่ได้ช่วยลดอัตราเงินเฟ้อ ในกรณีที่มี dominating factor อื่น ในกรณีของสหรัฐอเมริกา การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่รวดเร็วและรุนแรงเป็นการลดอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านความตกใจและความไม่มั่นใจต่ออนาคตของเศรษฐกิจมากกว่าจะเป็นไปตามกลไลของอัตราดอกเบี้ยตามปกติ แต่นั่นเป็นการกระทำที่สิ้นคิดโดยไม่คำนึงถึงความเป็นอยู่ของประชาชนโดยเฉพาะระดับล่างเลย

          แม้ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจจะใช้ไม่ได้ในบางกรณี บางครั้งก็จำเป็นต้องทำบ้างพอเป็นพิธี มิฉะนั้นนักค้าเงินระหว่างประเทศที่ไม่ได้มีความรู้ลึกซึ้งทางเศรษฐศาสตร์อาจโจมตีหรือเทขายเงินสกุลนั้นด้วยทัศนคติผิดๆ ที่ว่า ใครๆ ก็ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในยุคภาวะเงินเฟ้อด้วยกันทั้งนั้น

 
A121084

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100ais 720x100BANPU 720x100TU720x100sme 720x100

QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!