- Details
- Category: อสังหาริมทรัพย์ฯ
- Published: Thursday, 22 September 2022 11:09
- Hits: 1105
สถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (REIC) รายงานภาพรวมสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยจังหวัดนครราชสีมาขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี และมหาสารคามพบว่าสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยที่อยู่ระหว่างการขายใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ณ ครึ่งแรกปี 2565 ในด้านอุปทานพร้อมขายต้นงวด หรือ Total Supply มีจำนวนโครงการลดลง เป็นการลดลงของจำนวนหน่วย แต่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จากครึ่งแรกปี 2564 (YoY)
โดยในครึ่งแรกปี 2565 นี้มีโครงการเปิดขายใหม่ (New Supply) เพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการ จำนวนหน่วย และมูลค่า โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี แม้ว่าจะเป็นจังหวัดที่มีขนาดธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขนาดรองลงมาจากจังหวัดนครราชสีมาและขอนแก่น แต่ในครึ่งแรกปี 2565 นี้มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นของจำนวนหน่วยและมูลค่าโครงการเปิดขายใหม่มากที่สุด
ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า การสำรวจโครงการที่อยู่อาศัยเสนอขายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครึ่งแรกปี 2565 พบว่ามีจำนวน 13,179หน่วย มูลค่า 46,812 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าวแบ่งเป็นโครงการอาคารชุด 2,525 หน่วย มูลค่า 8,155 ล้านบาท เป็นโครงการบ้านจัดสรร 10,654 หน่วย มูลค่า38,657 มีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาด2,076 หน่วย มูลค่า6,174 ล้านบาท มีโครงการขายได้ใหม่จำนวน2,674หน่วย มูลค่า11,642 ล้านบาท ส่งผลให้มีหน่วยเหลือขาย 10,505 หน่วย มูลค่า35,170 ล้านบาท
อุปทานบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดขับเคลื่อนตลาด ขณะที่คอนโดมิเนียมชะลอตัว
“ภาพรวมผลสำรวจตลาดที่อยู่อาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด ณ ครึ่งแรกปี 2565 พบว่าสถานการณ์ด้านการขายในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา ปรับสู่สภาวะที่ดีขึ้น จังหวัดอุบลราชธานี และจังหวัดมหาสารคามเริ่มเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัวแต่ยังคงมีความน่าเป็นห่วงจากการที่โครงการสร้างเสร็จรอการขายในจังหวัดอุบลราชธานีเริ่มใช้เวลาในการขายนานขึ้น
ขณะที่จังหวัดอุดรธานียังคงทรงตัว เนื่องจากกำลังซื้อในพื้นที่ถดถอยตามสภาวะเงินเฟ้อ และอัตราดอกเบี้ยที่มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องให้ความสำคัญกับการเติมสินค้าใหม่เข้ามาในตลาด โดยเฉพาะในส่วนของโครงการบ้านแฝดซึ่งเพิ่มเข้ามาในตลาดในสัดส่วนที่สูงแม้จะได้รับกระแสตอบรับที่ดี แต่อัตราการขายบ้านเดียวก็ยังคงสูงกว่า”
ในช่วงครึ่งแรกปี 2565 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั้งหมดลดลงจากช่วงครึ่งแรกปี 2564โดยลดลงทั้งจำนวนหน่วย และมูลค่า ทั้งนี้จำนวนหน่วยลดลงร้อยละ -3.7 มูลค่าลดลงร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับจำนวนหน่วยเสนอขายทั้งหมดณ ครึ่งแรกปี 2564ขณะที่หน่วยเสนอขายเพิ่มขึ้นโดยมีโครงการใหม่เข้าสู่ตลาดจำนวน2,076 หน่วย มูลค่า6,174 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นจากครึ่งแรกปี 2564 ร้อยละ 31.1มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ27.0 โดยเป็นโครงการอาคารชุดเพียง220หน่วย มูลค่า197 ล้านบาทเป็นโครงการบ้านจัดสรร1,856 หน่วย มูลค่า 5,977 ล้านบาท
เมื่อพิจารณาภาพโดยรวมจะพบว่าโครงการอาคารชุดเปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งแรกปี 2565มีเพียง 1 ทำเลคือ นิคมลำตะคอง ขณะที่โครงการบ้านจัดสรรกระจายอยู่ในหลายทำเล เช่น ทำเลขามใหญ่ทำเลจอหอ และทำเลบ้านทุ่ม
โดย 5 ทำเลที่มีโครงการเสนอขายมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ อันดับ 1ทำเลจอหอ จำนวน 1,978หน่วย มูลค่าโครงการ6,264 ล้านบาท อันดับ 2 ทำเลบ้านใหม่-โคกกรวด จำนวน1,221 หน่วย มูลค่าโครงการ 3,905 ล้านบาท อันดับ 3 ทำเลมหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 1,092 หน่วย มูลค่าโครงการ 2,291ล้านบาท อันดับ 4 ทำเลหัวทะเล จำนวน936 หน่วย มูลค่าโครงการ3,322 ล้านบาท และอันดับ 5 ทำเลในเมืองนครราชสีมา จำนวน854หน่วย มูลค่าโครงการ2,687 ล้านบาท
สำหรับ สถานการณ์หน่วยเหลือขายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ ครึ่งแรกปี2565มีจำนวน10,505หน่วย ลดลงจากครึ่งแรกปี 2564 ร้อยละ -9.0มูลค่า35,170 ล้านบาท ลดลงร้อยละ -13.1 เป็นโครงการอาคารชุด 1,990 หน่วย มูลค่า4,652 ล้านบาท ซึ่งทำเลที่มีอาคารชุดเหลือขายมากยังคงเป็นสูงสุด 3 อันดับแรก คือ อันดับ1 โซนม.ขอนแก่น847 หน่วย มูลค่าโครงการ 1,519 ล้านบาทอันดับ 2 โซนบ้านใหม่-โคกกรวด365 หน่วย มูลค่าโครงการ 584 ล้านบาท อันดับ 3 โซนนิคมลำตะคอง187 หน่วย มูลค่าโครงการ 167 ล้านบาท
ในส่วนของโครงการบ้านจัดสรรมีหน่วยเหลือขายรวม 8,515 หน่วย มูลค่า30,518ล้านอันดับ 1 โซนจอหอ1,546 หน่วย มูลค่าโครงการ 4,921 ล้านบาทอันดับ 2 โซนหัวทะเล จำนวน 707 หน่วย มูลค่าโครงการ 2,609ล้านบาท อันดับ 3 โซนบ้านใหม่-โคกกรวด701 หน่วย มูลค่าโครงการ2,574 ล้านบาท ซึ่งจะสังเกตได้ว่าหน่วยที่เหลือขายส่วนใหญ่จะเป็นประเภทบ้านเดี่ยว
อุปสงค์คอนโดฯโซนเขตเมือง-โซนท่องเที่ยวฟื้นตัว
พบว่า ในช่วงครึ่งแรกปี 2565 มีที่อยู่อาศัยขายได้ใหม่ 2,674 หน่วย มูลค่า 11,642ล้านบาทเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.1 มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 80.2แบ่งเป็นโครงการอาคารชุดเพียง535 หน่วย มูลค่า 3,503 ล้านบาท ซึ่งทำเลที่มียอดอาคารชุดขายได้ใหม่สูงสุด3อันดับแรกคือ อันดับ 1 โซนเขาใหญ่201 หน่วย มูลค่า2,679ล้านบาท อันดับ 2โซนในเมืองนครราชสีมา111 หน่วย มูลค่า223 ล้านบาท3 โซนบึงแก่นนคร 52 หน่วย มูลค่า 227 ล้านบาท
ในขณะที่ยอดขายได้ใหม่ของโครงการบ้านจัดสรร2,139 หน่วย มูลค่า 8,139 ล้านบาท โดยทำเลที่มีการขายบ้านจัดสรรสูงสุด 3อันดับแรกคือ อันดับ 1 โซนจอหอ432 หน่วย มูลค่า 1,343 ล้านบาท อันดับ 2 โซนหัวทะเล229 หน่วย มูลค่า713 ล้านบาทอันดับ 3 โซนบ้านเป็ด จำนวน 161 หน่วย มูลค่า 580 ล้านบาท
จากการสำรวจพบว่ามีการเปิดตัวโครงการอาคารชุดพักอาศัยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาเท่านั้นโดยมีจำนวนเพียง 220 หน่วย ที่อยู่ในทำเลนิคมลำตะคองและมีการเปิดขายโครงการบ้านจัดสรรกระจายทั้ง 5 จังหวัด แสดงให้เห็นว่าโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยแนบราบมีการฟื้นตัวมากกว่าโครงการอาคารชุด
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากอัตราดูดซับแยกตามประเภทที่อยู่อาศัย พบว่าในช่วงครึ่งแรกปี 2565 อัตราดูดซับรวมทุกประเภทอยู่ที่ร้อยละ3.4 และประเภทที่มีอัตราดูดซับดีที่สุดอยู่ในกลุ่มของบ้านเดี่ยวโดยอัตราดูดซับอยู่ที่ร้อยละ 3.8 ขณะที่อัตราดูดซับอาคารชุดมาอยู่ที่ร้อยละ3.5
โดยทำเลที่มีอัตราดูดซับสูงสุด5อันดับแรกประเภทโครงการอาคารชุด อันดับที่ 1ทำเลบึงแก่นนคร อัตราดูดซับร้อยละ 14.7 อันดับ 2ทำเลเขาใหญ่ อัตราดูดซับร้อยละ10.7 อันดับ 3 ทำเลเซ็นทรัล อุบลราชธานี อัตราดูดซับร้อยละ9.1 อันดับ 4 ทำเลในเมืองนครราชสีมาอัตราดูดซับร้อยละ6.3 และอันดับ 5 ทำเลกลางดง อัตราดูดซับร้อยละ 3.3
ปี 2565 ภาพรวมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับ ปี 2565 ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ประเมินภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในภาคตะวันเฉียงเหนือโดยคาดการณ์ว่าจะมีโครงการเปิดตัวใหม่จำนวน 3,928 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 60.3 เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 2,450 หน่วย โดยมีมูลค่าการเปิดตัวใหม่จำนวน11,557 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ49.0 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า7,757 หน่วย มีจำนวนหน่วยขายได้ใหม่ 4,206 หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ5.9 เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 3,973หน่วย มูลค่าขายได้ใหม่13,560ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าซึ่งมีมูลค่า12,945ล้านบาท
และคาดว่า จะมีหน่วยเหลือขาย14,962หน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ43.3เมื่อเทียบกับปี 2564 ซึ่งมีจำนวน 10,439 หน่วย มูลค่าหน่วยเหลือขาย50,788 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.7 โดยเพิ่มจาก 36,095ล้านบาท ในขณะที่อัตราดูดซับในกลุ่มโครงการแนวราบลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.0 และอาคารชุดอัตราดูดซับจะปรับลดลงจากร้อยละ 2.8 ในปี 2564 เป็นร้อยละ 2.3 ในปี 2565