WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3822 LWS Prapansak

ลุมพินี วิสดอมระบุ โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) พลังงานทางเลือกสำหรับที่อยู่อาศัย

         ลุมพินี วิสดอมระบุ การติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) เป็นพลังงานทางเลือกเพื่อการประหยัดพลังงานสำหรับที่อยู่อาศัย มีระยะเวลาคืนทุนภายใน 5 ปี ตอบโจทย์การพัฒนาที่อยู่อาศัยในปัจจุบันและอนาคตสำหรับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์

          นายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด (LPN Wisdom หรือ LWS) บริษัทวิจัยและที่ปรึกษาในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในเครือบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ระบุว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ได้มีการพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยการนำพลังงานทางเลือกเข้ามาใช้เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำหรับที่อยู่อาศัยทั้งแนวราบและอาคารชุดพักอาศัย โดยเฉพาะการติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อป (Solar Rooftop) หรือ หลังคาโซลาร์เซลล์ โดยการนำแผงโซลาร์เซลล์ติดตั้งไว้บนหลังคาอาคารที่อยู่อาศัย เพื่อทำหน้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้งานในระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในอาคาร

 

3822 LWS Solar Rooftop

 

          ปัจจุบันการติดตั้งหลังคาโซลาร์เซลล์บนอาคารทั้งที่อยู่อาศัยแนวราบและอาคารชุดพักอาศัย มีต้นทุนที่ถูกลง เมื่อเทียบกับ 10 ปี ก่อนหน้านี้ โดยมีการพัฒนารูปแบบของระบบออกเป็น 3 ระบบคือ ระบบที่ต่อเข้ากับระบบสายส่งจากการไฟฟ้า หรือเรียกว่า ออนกริด (On Grid) ระบบการใช้งานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่สมบูรณ์ในตัวเอง เก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี่ ที่เรียกว่า ออฟกริด (Off grid) และระบบไฮบริด (Hybrid) ในรูปแบบที่ผสมผสานระหว่าง On Grid กับ Off Grid เข้าด้วยกัน ทั้ง 3 ระบบมีต้นทุนค่าติดตั้งในปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 169,000 บาท สำหรับการติดตั้งและสร้างพลังงานไฟฟ้าที่ 3.2 KW ใช้ระยะเวลาคืนทุนประมาณ 5 ปี สามารถช่วยในการประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 945,295 บาทภายในระยะเวลา 25 ปี หรือเฉลี่ยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ปีละ 37,811.8 บาท หรือ 3,150.98 บาทต่อเดือน เรียกว่าเป็นระบบที่ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาวในภาวะที่แนวโน้มค่าพลังงานในปัจจุบันมีการปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องนายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว

 

EXIM One 720x90 C J

 

3822 LWS Solar Rooftop2

 

          จากผลการศึกษาของ ศูนย์วิจัย Krungthai Compass ธนาคาร กรุงไทย ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2556 ราคาแผงโซลาร์ในไทยลดลงกว่า 66% ประกอบกับราคารับซื้อไฟของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นเป็น 2.2 บาท/หน่วย ทำให้ระยะเวลาคืนทุนจากการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปเร็วขึ้นจาก 17-30.3 ปี ในปี 2556 เหลือ 6.1-13.9 ปี ในปี 2564 และอาจเหลือเพียง 5.3-12 ปี ภายในระยะเวลาไม่กี่ปีข้างหน้าเนื่องจากราคาแผงโซลาร์ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ประเมินว่ามีครัวเรือนไทยถึง 2.3 ล้านครัวเรือนที่สามารถติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปและคุ้มทุนได้ค่อนข้างเร็ว หากครัวเรือนกลุ่มนี้เพียง 20% หันมาติดแผงโซลาร์ก็จะทำให้มูลค่าตลาดสูงถึง 1.37 แสนล้านบาท

 

3822 LWS Solar Rooftop3

 

          ขณะที่ผลการศึกษาของ ลุมพินี วิสดอม พบว่า ปัจจุบันมีผู้ประกอบการที่ให้บริการติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปหลายบริษัท โดยมีแพ็คเกจการให้บริการติดตั้งต่ำสุดตั้งแต่ 1.6 KW ไปจนถึง 10 KW โดยมีต้นทุนเฉลี่ยในการติดตั้งประมาณ 89,000-99,000 บาทต่อ 1.6 KW อายุการใช้งานเฉลี่ยอยู่ที่ 15-25 ปี มีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 5 ปี ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ประมาณ 1,500 บาทต่อเดือน โดยค่าพลังงานที่ 1.6 KW สามารถผลิตไฟฟ้าสำหรับใช้งานระบบไฟฟ้าพื้นฐานในบ้านอาทิ หลอดไฟประมาณ 10 หลอด ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และทีวี อย่างละ 1 เครื่อง โดยการติดตั้งต้องการพื้นที่ในการติดตั้งประมาณ 8-11 ตารางเมตร เหมาะกับที่อยู่อาศัยทั้งประเภทบ้านเดี่ยว และทาวน์เฮ้าส์

 

GC 720x100

 

          สำหรับอาคารชุดพักอาศัย นายประพันธ์ศักดิ์ กล่าวว่า การติดตั้งระบบโซล่าร์รูฟท็อป สามารถติดตั้งได้และใช้ประโยชน์ในพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยลดค่าพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลางได้เช่นเดียวกัน โดยขนาดในการติดตั้งขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ และความต้องการใช้งาน

          จากเทคโนโลยีในการติดตั้งและต้นทุนที่ถูกลง ทำให้ปัจจุบันผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการ โดยการนำระบบโซลาร์รูฟท็อป เข้ามาเป็นอุปกรณ์พื้นฐานในการพัฒนาที่อยู่อาศัยทั้งบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ และอาคารชุดพักอาศัย กลายเป็นจุดขายที่สำคัญ ที่นอกจากจะช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าในระยะยาวสำหรับผู้ซื้อที่อยู่อาศัยแล้ว ยังเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์กับความต้องการของผู้อยู่อาศัยในปัจจุบันและอนาคตนายประพันธ์ศักดิ์ กล่าว 

 

A3822

 Click Donate Support Web

TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!