WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

8877 วสทวสท. เผยข้อสันนิษฐานหอพักทรุดในสมุทรสาคร และตรวจทาวน์เฮ้าส์ทรุดในสมุทรปราการ

          วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) โดย ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วสท.และทีมวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ลงพื้นที่ตรวจวิเคราะห์ทางวิศวกรรมจากกรณีเกิดเหตุไม่คาดฝันอาคารวิบัติในพื้นที่ 2 แห่ง คือ อาคารหอพัก 3 ชั้น เมืองสมุทรสาครทรุดตัว และยังเดินทางตรวจทาวน์เฮ้าส์ทรุด 5 หลังรวด ย่านบางเสาธง .สมุทรปราการ เพื่อช่วยเหลือหน่วยงานภาครัฐและประชาชน พร้อมแนวทางป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่ออาคารข้างเคียงหรือผู้สัญจรผ่าน

          เผยปมหอพัก 3 ชั้น เมืองสมุทรสาคร ทรุดตัว

          ช่วงค่ำวันที่ 19 .. 2563 เกิดเหตุอาคารหอพัก 3 ชั้นในในซอยเสรีแฟคเตอรี่ หมู่ 2 .พันท้ายนรสิงห์ .เมืองสมุทรสาคร ทรุดตัว โดยเป็นอาคารปูน 3 ชั้น มีห้องพักชั้นละ 10 ห้อง รวมทั้งหมด 30 ห้อง โดยมีผู้เช่าเข้าพักอาศัย 29 ห้อง รวมกว่า 60 คน ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาเลิกงานจึงมีคนอยู่ในหอพักจำนวนมาก เมื่อเกิดเหตุการณ์ตึกทรุดตัวลงต่างวิ่งหนีออกมาจากห้องพัก

          ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ( วสท.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ตรวจสอบอาคารหอพัก 3 ชั้นนี้ เป็นอาคารที่ก่อสร้างมาแล้ว 5 ปี ได้รับอนุญาตการก่อสร้างอย่างถูกต้อง สภาพอาคารมีการทรุดลักษณะเอียงไปทางหนองน้ำด้านหลัง ฐานของอาคารปริแยกออกจากพื้น บริเวณชั้นแรกและเสาด้านหน้าเสียหายทั้งหมด

          โดย วสท. ได้นำกล้องสแกนตรวจวัดค่าความทรุดตัวของอาคารอย่างละเอียด ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง หากไม่มีการทรุดตัวเพิ่มก็สามารถเข้าไปนำทรัพย์สินออกมาได้ ซึ่งพบว่าอาคารหอพักมีอัตราการทรุดตัวอยู่ที่ 0.01 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง โดยฐานรากของอาคารหอพักบางส่วนได้หลุดจากหัวเสาเข็ม ทำให้น้ำหนักอาคารถูกถ่ายเทลงพื้นดินโดยตรง จึงได้ร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย (ปภ.) กำหนดมาตรการขั้นตอนการเคลื่อนย้ายสิ่งของออกจากตัวอาคาร

          ด้านข้อสันนิษฐานความเป็นไปได้ วสท.คาดว่าสาเหตุการทรุดเอียงของอาคาร น่าจะมาจากเสาเข็มมีพฤติกรรมเป็น Friction Pile หรือ เสาเข็มเสียดทานที่รับน้ําหนักบรรทุกโดยแรงเสียดทานจากดินรอบเสาเข็มเป็นส่วนใหญ่เสาเข็มต้นที่รับน้ำหนักมากจะทรุดตัวมากกว่าเสาเข็มที่รับน้ำหนักน้อยอย่างชัดเจนและทรุดตัวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาคารหลังใดก็ตามที่วางบนเสาเข็มชนิดที่เป็น Friction Pile ควรคำนึงถึงตำแหน่งจุดศูนย์กลางน้ำหนักของอาคาร (Center of Load) ว่าอยู่บริเวณช่วงกลางอาคารหรือไม่ หากไม่อยู่ช่วงกลางของอาคาร การทรุดตัวจะเกิดกับฐานรากที่อยู่ใกล้ตำแหน่ง Center of load มากกว่าฐานรากที่อยู่ห่างออกไป สันนิษฐานว่าอาคารนี้อาจมีน้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแนวด้านหลังอาคาร มากกว่าน้ำหนักที่กดลงเสาเข็มแนวด้านหน้าของอาคาร ทำให้เสาเข็มด้านหลังทั้งแนวทรุดตัวมากกว่าด้านหน้า และเป็นการทรุดตัวอย่างต่อเนื่องโดยตลอด นอกจากนี้อาคารมีช่วงเสาเข็มช่วงเดียว ทำให้อาคารทรุดเอียงโดยไม่มีการดึงรั้ง ซึ่งอาคารทรุดเอียงมักจะไม่มีรอยแตกร้าวให้เห็น ดังนั้นผู้พักอาศัยจะไม่เห็นความผิดปกติโดยง่าย เมื่ออาคารทรุดไปจนถึงจุดหนึ่งที่ฐานรากตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัวหลุดจากหัวเสาเข็ม จะทำให้เกิดการทรุดเอียงอย่างทันทีทันใดดังที่ปรากฏ

          ส่วนสาเหตุจากดินเลื่อนไหลและสภาพดินอ่อนเพราะอาคารอยู่ใกล้ริมน้ำนั้น น่าจะเป็นปัจจัยรองลงมาเมื่อเทียบกับการที่น้ำหนักกดลงฐานรากแตกต่างกัน เนื่องจากสภาพดินริมบึงมีการขยับตัวน้อยมาก โดยเฉพาะแนวท่อระบายน้ำของอาคารที่อยู่ด้านหลังอาคารที่ไม่มีการเสียรูปที่ชัดเจน ทั้งนี้ การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงจะต้องมีการเก็บข้อมูลอย่างรอบด้าน อาทิ รายละเอียดสภาพอาคาร การทำ Crack Mapping การสำรวจลักษณะการเอียงตัว การคำนวณหาน้ำหนักลงฐานราก รวมถึงการเจาะสำรวจดิน และสำรวจเสาเข็ม

          รุดตรวจทาวน์เฮ้าส์ทรุด 5 หลังรวด สมุทรปราการ

          ภัยพิบัติอีกแห่งหนึ่งย่านสมุทรปราการ วสท.ลงพื้นที่ในช่วงเย็นวันเดียวกัน ดร.ธเนศ วีระศิริ นายก วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ถนนเทพารักษ์ .. 25 .17 .บางเสาธง .สมุทรปราการ พบว่าเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น ปลูกติดกันเป็นล็อก ล็อกละ 19 หลัง ก่อสร้างมานานกว่า 20 ปี ตัวโครงสร้างภายในบ้าน คาน ผนัง แตกร้าวและทรุดอย่างหนักจำนวน 5 หลังรวด จนประชาชนผู้อยู่อาศัยไม่สามารถเข้าไปขนของและอยู่อาศัยภายในบ้านพักได้

          ส่วนการวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการทรุดจำเป็นต้องดูข้อมูลประกอบหลายๆ ด้าน เช่น แบบแปลนการก่อสร้างอาคารมีลักษณะอย่างไร แต่จากการตรวจสอบเบื้องต้น ลักษณะการทรุดแบบนี้ไม่แนะนำให้ประชาชนเข้าไปในอาคารอย่างเด็ดขาด จะต้องมีการตรวจสอบโครงสร้างด้านล่างของอาคารให้แน่นอนก่อน ว่าโครงสร้างทางวิศวกรรมส่วนใหญ่ยังแข็งแรงดีพอหรือไม่ หากยังใช้ได้ก็สามารถเสริมกำลังและซ่อมแซมได้ แต่ก็ควรที่จะพิจารณาว่าจะคุ้มกับค่าซ่อมหรือไม่ สำหรับอาคารข้างเคียงที่ต่อเนื่องกันในลักษณะดังกล่าวนั้นมีการดึงกันอยู่ ปกติจะซ่อมได้ เพราะแต่ละหลังจะรั้งกันอยู่

          ทั้งนี้ อบต.ที่รับผิดชอบในพื้นที่ ได้เข้าไปดูแลความเป็นอยู่ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ จนไม่สามารถพักอาศัยได้ ด้วยการจัดหาเช่าบ้านพักในซอยดังกล่าวให้เข้าพักเป็นการชั่วคราว และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าช่วยเหลือ

 

AO8877

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!