WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBREอลิวัสสาสรุปภาพตลาดคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ ปี 2562

          ซีบีอาร์อี บริษัทที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำเปิดเผยว่า ด้วยหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หนี้ครัวเรือนที่สูง และปริมาณที่พักอาศัยที่เพิ่มขึ้น ทำให้ปี 2562 เป็นปีที่มีความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับตลาดที่พักอาศัยในกรุงเทพมหานคร ผู้พัฒนาโครงการต่างชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่เนื่องจากความเชื่อมั่นในตลาดที่ลดลง นอกจากนี้ ยอดขายลูกค้าต่างชาติก็ได้รับผลกระทบจากการที่เงินบาทแข็งค่าและการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว โดยเฉพาะยอดขายจากผู้ซื้อชาวจีน

          ความต้องการซื้อที่พักอาศัยจากผู้ซื้อในประเทศที่ลดลง ส่งผลให้ผู้พัฒนาโครงการต้องขยับวันเปิดตัวโครงการใหม่ออกไป ปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้า และเลื่อนการซื้อที่ดินเพื่อการพัฒนาโครงการ แม้ว่าจะเริ่มต้นปีได้ดีแต่ตลาดก็ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดนับตั้งแต่ไตรมาส 2 ปี 2562 ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้แผนกวิจัย ซีบีอาร์อีพบว่ามีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่ย่านใจกลางเมืองในระดับที่ต่ำที่สุดหากเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปีอื่นๆ นับตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา โดยในไตรมาส 3 ปีนี้มีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่เพียง 1,268 ยูนิต ขณะในไตรมาส 3 ปีที่แล้วมีการเปิดตัวคอนโดมิเนียมใหม่จำนวน 7,147 ยูนิต

 

จำนวนคอนโดมิเนียมเปิดใหม่ในกรุงเทพมหานค
12419 CBREที่มา: แผนกวิจัย ซีบีอาร์อี

 

          ในขณะที่ซีบีอาร์อีเชื่อว่าราคาขายเฉลี่ยของคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ จะไม่ลดลงเพราะต้นทุนที่ดินยังอยู่ในระดับสูง แต่ราคาขายเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ ราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมในย่านใจกลางกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นเพียง 0.9% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยอยู่ที่ 279,740 บาทต่อตารางเมตร ณ ไตรมาส 3 ปี 2562 ด้านราคาขายเฉลี่ยคอนโดมิเนียมในย่านรอบนอกใจกลางเมืองหรือมิดทาวน์เพิ่มขึ้นเพียง 0.05% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็น 99,943 บาทต่อตารางเมตร ความสามารถในการซื้อจะอีกหนึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับตลาดในปี 2563 เนื่องจากผู้คนมีอำนาจในการใช้จ่ายน้อยลงจากหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นและภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

          รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาตรการต่างๆ ในปีนี้เพื่อกระตุ้นตลาดที่พักอาศัย มาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยหรือ LTV ที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งซีบีอาร์อีเชื่อว่ามีวัตถุประสงค์ที่ดีเพื่อป้องกันไม่ให้ตลาดเต็มไปด้วยนักเก็งกำไรนั้น ได้ทำให้ความต้องการจากผู้ซื้อในประเทศลดลง เนื่องจากการขอสินเชื่อทำได้ยากขึ้น นอกจากนี้ค่าธรรมเนียมการโอนและค่าธรรมเนียมการจดจำนองได้ถูกปรับลดลงเหลือ 0.01% จาก 2% และ 1% ตามลำดับ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท

          ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่มีการปรับลดสองครั้งในปีนี้จาก 1.75% เหลือ 1.25% เพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย เป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับช่วงวิกฤตการเงินโลก อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจชะลอตัวและอำนาจการใช้จ่ายมีจำกัด ซีบีอาร์อีเชื่อว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์

          ส่วนการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ช่วงต้นปี ส่งผลให้อสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพฯ มีราคาแพงขึ้นสำหรับผู้ซื้อชาวต่างชาติที่ต้องการลงทุน โดย ณ ไตรมาส 3 ปี 2562 เงินบาทแข็งค่าขึ้น 9.5% เมื่อเทียบกับเงินหยวน และแข็งค่าขึ้น 6.1% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหากเทียบกับปีที่แล้ว

          นางสาวอลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย ให้ความเห็นว่า “ด้วยความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่พักอาศัย ผู้พัฒนาโครงการจำเป็นต้องลดและกระจายความเสี่ยงในการลงทุน รวมทั้งเพิ่มช่องทางในการสร้างรายได้ที่หลากหลายมากขึ้น ผู้พัฒนาโครงการหลายรายเริ่มพิจารณาอสังหาริมทรัพย์ที่สร้างรายได้ประจำหรืออสังหาริมทรัพย์ประเภทมิกซ์ยูส โดยเฉพาะบนแปลงที่ดินขนาดใหญ่ เพื่อทำให้โครงการมีความน่าสนใจยิ่งขึ้นจากการใช้ประโยชน์ที่มีความหลากหลายภายในพื้นที่โครงการเดียวกัน นอกจากนี้แหล่งท่องเที่ยวสำคัญ เช่น หัวหิน พัทยา ภูเก็ต และกระบี่ ได้กลายสร้างโอกาสให้กับนักพัฒนาเนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานของไทยกำลังขยายตัวอย่างมากและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยังคงแข็งแกร่งอยู่”

 


AO12419

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 790x90

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!