WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1.AAA A AAJLL

JLL ประกาศการเป็นผู้นำในธุรกิจบริหารอาคารสำนักงานมาตรฐาน LEED

     มากกว่าครึ่งของพื้นที่อาคารสำนักงานทั้งหมดที่ได้รับและเตรียมรับการรับรองมาตรฐาน LEED ในกรุงเทพฯ อยู่ภายใต้ความดูแลของ JLL ในฐานะผู้บริหารอาคารและที่ปรึกษา

       บริษัทที่ปรึกษาและบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ เจแอลแอลในประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ บริษัทมีพื้นที่สำนักงานภายใต้ความดูแลในฐานะผู้บริหารอาคารและที่ปรึกษาด้านการบริหารอาคาร ที่ขึ้นทะเบียนผ่านการรับรองและรอการรับรองมาตรฐานอาคารเขียว LEED คิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1.74 ล้านตารางเมตร หรือราว 58% ของที่ขึ้นทะเบียนทั้งหมดในกรุงเทพฯ ทำให้บริษัทครองตำแหน่งผู้นำในธุรกิจบริหารอาคารสำนักงานมาตรฐาน LEED ในประเทศไทย

      LEED เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดยสภาอาคารเขียวแห่งสหรัฐอเมริกา (U.S.Green Building Council: USGBC) ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานอาคารเขียวที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในโลก โดยเป็นระบบการให้คะแนนด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของอาคารในด้านต่างๆ ตั้งแต่การออกแบบโครงการ การก่อสร้าง การดำเนินการ ไปจนถึงการบริหารจัดการบำรุงรักษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยให้เจ้าของอาคารหรือผู้พัฒนาโครงการ ทำให้อาคารของตนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

        นายเด็กซ์เตอร์ นอร์วิลล์ หัวหน้าร่วมของหน่วยธุรกิจบริหารจัดการอาคาร เจแอลแอล กล่าวว่า “ปัจจุบัน กรุงเทพฯ มีพื้นที่สำนักงานในอาคารที่สร้างเสร็จแล้วและผ่านการรับรองมาตรฐาน LEED คิดเป็นปริมาณพื้นที่รวมทั้ง 1.26 ล้านตารางเมตร ในจำนวนนี้ เป็นพื้นที่สำนักงานในอาคารที่เจแอลแอลเป็นผู้บริหารคิดเป็นพื้นที่รวมทั้งสิ้น 877,000 ตารางเมตร หรือเกือบ 70% ทั้งนี้ หากนับเฉพาะอาคารที่มีการเสนอพื้นที่สำนักงานให้เช่า (ไม่นับรวมพื้นที่อาคารสำนักงานที่เจ้าของสร้างขึ้นเพื่อใช้เอง) และผ่านการรับรองมาตรฐาน LEED ในกรุงเทพฯ จะมีปริมาณรวมทั้งสิ้น 630,000 ตารางเมตร ในจำนวนนี้ กว่า 90% หรือ 577,000 ตารางเมตรเป็นพื้นที่สำนักงานในอาคารที่เจแอลแอลเป็นผู้บริหารจัดการ”

        อาคารสำนักงานที่เจแอลแอลทำหน้าเป็นผู้บริหารอาคารและผ่านการรับรองมารฐาน LEED แล้ว ได้แก่ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารปาร์คเวนเชอร์ อีโคเพล็กซ์ อาคารเอไอเอ แคปปิตอล เซ็นเตอร์ อาคารเอไอเอ สาทร ทาวเวอร์ อาคารเอฟวายไอ เซ็นเตอร์ อาคารสาทร สแควร์ และอาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก

        ยังมีอาคารสำนักงานและอาคารมิกซ์ยูสที่มีส่วนของพื้นที่สำนักงานรวมอยู่ด้วย อีก 6 โครงการที่เจแอลแอลเป็นผู้บริหารอาคารหรือทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารอาคาร และกำลังอยู่ระหว่างรอการรับรองมาตรฐาน LEED คิดเป็นพื้นที่สำนักงานรวมอีก 869,000 ตารางเมตร

      ในจำนวนดังกล่าว เป็นอาคารที่เจแอลแอลได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บริหารอาคารแล้ว ได้แก่ อาคารจีทาวเวอร์ โครงการสปริง ทาวเวอร์ โครงการเดอะ ปาร์ค และโครงการสามย่าน มิตรทาวน์ ซึ่งสามโครงการหลังกำลังจะสร้างเสร็จในปีนี้ โดยสองโครงการหลังอาคารมิกซ์ยูส

     “เดอะ ปาร์ค เป็นโครงการพัฒนาโดยทีซีซี แอสเซ็ท และบริหารโดย เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ ส่วนสามย่าน มิตรทาวน์เป็นโครงการของโกลเด้นแลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ นับตั้งแต่ช่วงต้นๆ ของการก่อสร้าง เจแอลแอลได้รับหน้าที่เป็นปรึกษาด้านการบริหารอาคารให้กับทั้งสองโครงการ เพื่อให้มั่นใจว่า อาคารจะสามารถดำเนินการและได้รับการบริหารจัดการตรงตามข้อกำหนดของมาตรฐาน LEED รวมถึงมาตรฐานอาคาร WELL ในกรณีของโครงการเดอะ ปาร์คด้วย” นายเด็กซ์เตอร์กล่าว

       WELL เป็นมาตรฐานอาคารที่กำลังได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในหมู่เจ้าของอาคารและผู้พัฒนาโครงการ เป็นมาตรฐานที่กำหนดขึ้นโดย the International WELL Building Institute (IWBI) มีการตรวจสอบรับรองคุณสมบัติอาคารในหลายด้าน ซึ่งโดยรวมๆ เป็นการประเมินผลกระทบของอาคารที่มีต่อสุขอนามัยของผู้ใช้หรืออยู่ในอาคาร ในขณะที่การรับรองมาตรฐาน LEED โดยทั่วไปจะเน้นให้ความสำคัญกับคุณสมบัติทางกายภาพของอาคารและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม

       ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างและมีเป้าหมายที่จะได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED โดยมีเจแอลแอลกำลังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารอาคาร ได้แก่ วัน ซิตี้ เซ็นเตอร์ โครงการพัฒนาอาคารสำนักงานเกรดพรีเมี่ยมภายใต้การร่วมทุนระหว่างไรมอน แลนด์ และมิตซูบิชิ เอสเตท มีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2565 และโครงการวัน แบงค็อก โครงการมิกซ์ยูสขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างทีซีซี แอสเซ็ท และเฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ โฮลดิ้งส์ ทั้งนี้ เช่นเดียวกับเดอะ ปาร์ค โครงการวัน แบงค็อกได้มีการขึ้นทะเบียนเพื่อรอประเมินคุณสมบัติขอรับการรับรองมาตรฐาน WELL ด้วย

      “อาคารที่มีคุณสมบัติตามมาตรฐาน LEED ไม่เพียงต้องได้รับการก่อสร้างขึ้นด้วยคุณภาพมาตรฐานสูงเท่านั้น แต่ยังต้องได้รับการดูแลรักษาให้คงมีมาตรฐานตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ตามที่อาคารได้รับการสร้างขึ้น ทั้งนี้ อาคารบางอาคารที่เราบริหาร ไม่ได้สร้างขึ้นตามข้อกำหนดของ LEED ตั้งแต่ต้น แต่สามารถได้รับการรับรองมาตรฐาน LEED EBOM (Existing Building Operation and Maintenance) สำหรับอาคารที่มีอยู่เดิมที่มีการดำเนินการและการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการที่อาคารได้รับการบริหารจัดการด้วยมาตรฐานสูง และความมุ่งมั่นของเจ้าของอาคารและผู้บริหารอาคารในด้านความยั่งยืนและการสร้างสภาพแลดล้อมที่ดีสำหรับผู้ใช้อาคาร” นายเด็กซ์เตอร์กล่าว

       นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ หัวหน้าร่วมของหน่วยธุรกิจบริหารจัดการอาคาร เจแอลแอล กล่าวว่า “เจ้าของอาคารตระหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ว่าการพัฒนาโครงการให้มีความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการเสริมศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งในอันที่จริง อาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้ประโยชน์ทั้งกับเจ้าของอาคารและผู้ที่เข้ามาเช่าใช้พื้นที่ ทั้งในแง่ของภาพลักษณ์การมีความรับผิดชอบต่อสังคม และการประหยัดต้นทุนจากการใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งนี่คือเหตุผลที่ทำให้โครงการอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ พยายามคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ช่วงเริ่มออกแบบโครงการ การก่อสร้าง การวางระบบ และแนวปฏิบัติต่างๆ เพื่อให้อาคารได้รับการรับรองจากมาตรฐานอาคารเขียวที่เป็นที่ยอมรับ ดังเช่น LEED ของสหรัฐฯ หรือ TREES (Thai's Rating of Energy and Environmental Sustainability) ซึ่งเป็นมาตรฐานอาคารเขียวของไทยโดยสถาบันอาคารเขียวไทยที่จัดตั้งขึ้นโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์”

       “เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเป็นอาคารเขียว เจ้าของอาคารและบริษัทผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์หลายรายได้ดึงเอาที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยในขั้นตอนของการพัฒนาโครงการ การดำเนินการ และการบริหารจัดการอาคาร ด้วยเหตุนี้ ประกอบกับความเชี่ยวชาญของเราในการบริหารอาคารเขียว ทำให้เราได้รับงานการเป็นที่ปรึกษาและผู้บริหารอาคารที่ได้รับรองมาตรฐาน LEED เพิ่มมากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา” นายจักรพันธ์กล่าว

       ปัจจุบัน เจแอลแอลเป็นบริษัทบริการด้านอสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศที่มีอสังหาริมทรัพย์ภายใต้ความดูแลในฐานะผู้บริหารจัดการและที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการ มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 7 ล้านตารางเมตร เจแอลแอลยังได้รับรางวัลแบรนด์บริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทยติดต่อกันเป็นปีที่ 3 จาก Global Brands Magazine ประจำปี 2562

ดาวน์โหลดภาพประกอบ

·         เดอะ ปาร์ค โครงการมิกซ์ยูสที่มอบหมายให้เจแอลแอลเป็นผู้บริหารอาคาร มีกำหนดสร้างเสร็จในปีนี้ และขึ้นทะเบียนรอรับการรับรองมาตรฐาน LEED และ WELL: http://www.theparq.com/uploads/images/83fcf2c68ec69158e3aadb9cc0e9738d63fc80e7.jpeg

·         นายเด็กซ์เตอร์ นอร์วิลล์ หัวหน้าร่วมของหน่วยธุรกิจบริหารจัดการอาคาร เจแอลแอล : https://www.dropbox.com/s/7bqrji2u9njhoun/Dexter_Norville_JLL.jpg?dl=0

·         นายจักรพันธ์ ภวังคะรัตน์ หัวหน้าร่วมของหน่วยธุรกิจบริหารจัดการอาคาร เจแอลแอล : https://www.dropbox.com/s/b6r3go9lldmk528/Chakrapan_Pawangkarat_JLL.jpg?dl=0

เกี่ยวกับ JLL

         JLL จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำของโลกในธุรกิจบริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์และบริหารการลงทุน โดยในปีที่ผ่านมา มีรายได้ทั่วโลกรวมทั้งสิ้น 1.63 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ดำเนินธุรกิจในกว่า 80 ประเทศและมีพนักงานทั่วโลกรวมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 91,000 คน JLL เป็นชื่อแบรนด์และเครื่องหมายการค้าของบริษัทโจนส์ แลง ลาซาลล์ (Jones Lang LaSalle Incorporated)

     สำหรับ ในประเทศไทย JLL เริ่มดำเนินธุรกิจในปี 2533 ปัจจุบันเป็นบริษัทระหว่างประเทศผู้ให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ครบวงจรรายใหญ่ที่สุดในประเทศ ด้วยพนักงาน 1,600 คน JLL ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ชนะรางวัลระดับห้าดาวในสาขาที่ปรึกษาและตัวแทนซื้อขายให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ที่ดีที่สุดในประเทศไทย จากการประกาศรางวัล International Property Awards Asia Pacific 2019/2020 นอกจากนี้ ผลการสำรวจความคิดเห็นของคนในแวดวงอสังหาริมทรัพย์โดยยูโรมันนีประจำปี 2561 JLL ได้รับการโหวตให้เป็นบริษัทที่ปรึกษาอสังหาริมทรัพย์อันดับหนึ่งของประเทศไทยติดต่อกันเป็นปีที่ 8 และยังได้รับคะแนนโหวตสูงสุดในสาขาบริการตัวแทนซื้อขายให้เช่า บริการงานวิจัย และบริการประเมินราคาทรัพย์สิน ต้องการข้อมูลเพิ่ม โปรดไปที่ www.jll.co.th

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!