- Details
- Category: อสังหาริมทรัพย์ฯ
- Published: Thursday, 11 April 2019 12:26
- Hits: 1773
ฉนวนกันความร้อน SCG STAY COOL ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมบูรณาการ บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี สถาปัตยกรรมไทยอายุกว่า 100 ปี สู่ความเป็น'บ้านต้นแบบ' ที่สะท้อนการพัฒนาอย่างยั่งยืน
หลายครั้งที่เรามองนวัตกรรมใหม่ๆ รอบตัวเป็นเรื่องราวที่ท้าทาย ตื่นเต้น หรือทันสมัย จนลืมคิดไปว่า บางครั้ง นวัตกรรม หรือข้าวของเครื่องใช้ใหม่ๆ ที่ดูจะล้ำๆ ก็อาจเอาไป MIX & MATCH กับของเก่า ได้ หรือบางที ของเก่าๆ ที่ว่านั้น ก็อาจกลายเป็นของร่วมสมัยที่เตรียมไว้ให้เราสวมใส่รอยต่อที่ว่าให้สามารถต่อยอดพัฒนาอะไรๆ ได้อีกมากมาย จนเราอาจคิดไม่ถึง เหมือนกับการบูรณาการบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ของมูลนิธิครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) เพื่อให้เป็นที่ตั้งของโครงการ Bangkok 1899 ที่จะเกิดขึ้น เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมและวัฒนธรรมแห่งใหม่ในเมืองไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนหลักจากมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ และกองทุน ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี
“จุดเด่นของการบูรณะบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ในครั้งนี้ คือเพื่อให้เป็นต้นแบบของบ้านที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งความยั่งยืนในที่นี้หมายถึง การมีส่วนร่วมในการใช้พลังงานให้น้อยที่สุดด้วย’’โจทย์สำคัญที่คุณ ซูซานนา ตันเต็มทรัพย์ ประธานกรรมการ มูลนิธิครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) / ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการของ Bangkok 1899’ บอกเล่าถึงความตั้งใจของการ บูรณะ บ้านเก่า ที่พระยาศรีภูริปรีชา (กมล สาลักษณ์) สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นเรือนหอของนางสาวถวิล ธิดาคนโต กับ นายสนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา (เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) เมื่อราวปี 2442 โดยแรกสร้างเป็นตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น ที่แม้จะมีขนาดเล็กและเรียบง่ายแต่ก็มีรูปแบบทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ที่เป็นที่นิยมในสมัยนั้น แต่สิ่งที่น่าสนใจของบ้านหลังนี้ก็คือ สร้างขึ้นในช่วงเดียวกันกับที่สร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อราว 110 ปีที่แล้ว และเพื่อให้บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีหลังบูรณาการเป็น Cultural and Civic Hub หรือ บ้านต้นแบบ ที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ศิลปะ วัฒนธรรม รวมถึงนวัตกรรมทางสังคม โดยการผสมผสานเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เพื่อพัฒนาการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ผ่านสามเสาหลัก ศิลปะ การมีส่วนรวมของประชาชน และความยั่งยืน ให้เกิดขึ้นในสังคม ซึ่งยังไม่มีในประเทศไทยมาก่อน ตามความต้องการของมูลนิธิ ฯ
หลังการเข้าสำรวจพื้นที่หน้างาน เพื่อปรับปรุงพื้นที่ให้สอดรับกับแนวทางในการพัฒนา และกิจกรรมต่าง ๆ ของทางมูลนิธิฯ ที่จะนำมาสานต่อให้เกิดขึ้นบนพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี หลังถูกปล่อยว่างจากการใช้งานมานานกว่า 10 ปี คุณอะเล็กซานเดอร์ สรรประดิษฐ์ สถาปนิกที่รับผิดชอบดูแลการบูรณาการ การปรับปรุงพื้นที่ ได้ตัดสินใจติดต่อให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของบริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด เข้าไปร่วมสำรวจพื้นที่ เนื่องจากเห็นความเป็นไปได้ของการนำนวัตกรรมที่มีคุณสมบัติในการช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ตามแผนการบรูณาการ เข้าไปติดตั้ง บริเวณพื้นห้องใต้หลังคาที่สถาปนิกผู้ออกแบบบ้าน นำรูปแบบสถาปัตยกรรมแนวนีโอคลาสสิคของตะวันตกที่กำลังได้รับความนิยมในประเทศไทยขณะนั้นมาผสมผสานกับ หลังคาแบบบ้านไทยให้สอดรับกับสภาพอากาศ ภูมิประเทศได้อย่างลงตัว และเอื้อต่อสภาพภูมิอากาศได้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นช่องช่วยระบายอากาศ แนวจั่วสูงประมาณกว่า 1 เมตร ที่แม้ว่าจะถูกปิดไว้ ด้วยแผ่นไม้บาง ๆ ทำให้พอดีต่อการนำฉนวนกันความร้อนไปวางปูได้อย่างลงตัว
ด้วยเหตุผลที่ว่า “เพื่อให้มันเป็น sustainable way ตาม concept ที่ทางมูลนิธิวางไว้ ผมมองว่า ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี สเตย์ คูล (STAY COOL) เป็นวัสดุตกแต่งเชิงนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยให้บ้านเย็น ที่เราสามารถเริ่มต้นใช้ได้ทันที เป็นอันดับต้น ๆ ด้วยความสะดวก และง่ายในการติดตั้ง จากเดิมที่แม้จะมีช่องระบายอากาศใหญ่ และหน้าต่างสูงอยู่ รอบบ้าน แต่ด้วยอุณหภูมิที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ผนวกกับสภาพตึกเก่า ที่มีความเสี่ยงต่อผลกระทบด้านความชื้น การเลือก ฉนวนกันความร้อนเอสซีจี สเตย์คูล ที่ผลิตจากใยแก้วคุณภาพปราศจากสารพิษ จากการรับรองขององค์กรอนามัยโลก มีคุณสมบัติในการป้องกันความร้อนได้ถึง 7 เท่า ทำให้สามารถช่วยประหยัดค่าไฟจากเครื่องปรับอากาศได้ถึง 47% น้ำหนักเบา จึงไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างของบ้าน และไม่ลามไฟ พร้อมเนื้อฉนวนถูกห่อหุ้มด้วยฟอยด์อีก 1 ชั้น ช่วยปกป้องความชื้น ควบคู่ไปกับการเพิ่มต้นไม้ในพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบ ทำให้หลังการติดตั้ง มูลนิธิฯ ใช้เครื่องปรับอากาศเพียงแค่ครึ่งหนึ่งของบ้านเท่านั้นเอง”
คุณอะเล็กซานเดอร์ บอกเล่าถึงความเป็นมาในการตัดสินใจนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีที่มีอายุกว่าร้อยปี นอกเหนือจากเรื่องการปรับปรุงพื้นที่ใช้สอย เพื่อให้สอดรับกับกับกิจกรรรมอื่น ๆ อาทิ การเป็นที่พักสำหรับศิลปินนานาชาติ การปรับปรุงห้องน้ำให้สอดรับกับวัฒนธรรมการใช้พื้นที่ของคนในยุคปัจจุบัน รวมถึง พื้นที่ ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนทางศิลปะ และวัฒนธรรมในลำดับต่อไป
อย่างไรก็ดี คุณชัชวาลย์ เศรษฐบุตร กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด ในกลุ่มธุรกิจเอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (SCG Cement-Building Materials)ได้กล่าวถึงการเข้าร่วมสนับสนุนโครงการดังกล่าวว่า “นอกจากจะต้องขอบคุณ คุณซูซานนา และคุณอะเล็กซานเดอร์ ที่ช่วยเปิดมุมมอง การนำนวัตกรรมวัสดุตกแต่งมาใช้กับบ้านที่มีอายุยาวนาน กว่า 100 ปีได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะแนวคิดการพัฒนาของ “บ้านต้นแบบ” ที่สะท้อนถึงการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่พักอาศัย สิ่งแวดล้อม และชุมชนอย่างยั่งยืน ร่วมกันได้อย่างน่าสนใจ ตอกย้ำถึงความภาคภูมิใจในฐานะของผู้ผลิตฉนวนกันความร้อน ประเภทใยแก้วที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เริ่มต้น จนหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการพัฒนาการออกแบบวัสดุ ให้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ร่วมกับบ้านเย็น ทุกยุคสมัยได้อย่างแท้จริง”
รูปภาพประกอบ
03 ภายในบริเวณบ้านที่จะนำฉนวนกันความร้อนสเตย์ คลู เข้าไปติดตั้ง
01 ผลิตภัณฑ์ฉนวนกันความร้อน เอสซีจี รุ่น สเตย์ คูล ผลิตภัณฑ์ฉนวนประเภทใยแก้ว
02 นวัตกรรมวัสดุตกแต่งมาใช้กับบ้านที่มีอายุยาวนาน กว่า 100 ปีได้อย่างลงตัว
06 ต้องทำความสะอาดบริเวณพื้นที่
ก่อนติดตั้งเสียก่อน เพื่อสุขอนามัยผู้พักอาศัย
05 เตรียมนำฉนวนกันความร้อนเข้าปูบนพื้นบริเวณห้องใต้หลังคาข่องอุปกรณ์
04 นำฉนวนกันความความร้อน
ส่งไปยังจุดติดตั้ง
08 สภาพพื้นที่ก่อนปูเพื่อนำ
09 การติดตั้งฉนวนกันความร้อน
สเตย์ คลู บนฝ้าเพดานประเภทหลังคามุง
07 ช่างผู้ชำนาญการนำฉนวนกันความร้อนเข้าสู่ภายในบริเวณใต้หลังคา
10 ช่างผู้เชี่ยวชาญ นำฉนวนกันความร้อน ปูตามแนวฝ้าเพดานโดยกลิ้งม้วนออกจากตัว
11 ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย
ตามสโลแกนติดตั้ง ครบ จบ ภายใน วันเดียว
13 ขอชวนร่วมสัมผัส บ้านเย็น ที่ไช้นวัตกรรมสมัยใหม่ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้ากว่า 47 %ที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี อาคารอนุรักษ์ อายุกว่า 110 ปี ที่พร้อมเป็น “บ้านต้นแบบ” ของการพัฒนาอย่างยั่งยืน
12 ความงดงามภายนอกของบ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนทางด้านสังคมและวัฒนธรรมแห่งใหม่
ในเมืองไทย
15 บริเวณพื้นที่สร้างสรรค์ที่ใช้อาหารและเครื่องดื่มเป็นสื่อกลาง ที่ให้แรงบันดาลใจแก่สังคมในด้านต่าง ๆ
14 คาเฟ่ที่บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
ในชื่อ Na Caf?
16 นายสลิล กันตนฤมิตรกุล ผู้จัดการส่วนการตลาด บริษัท สยามไฟเบอร์กลาส จำกัด ภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสังคมสู่ความยั่งยืนกับนางสาวซูซานนา ตันเต็มทรัพย์ ประธานกรรมการ มูลนิธิครีเอทีฟ ไมเกรชั่น (อีส) / ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Bangkok 1899 ณ บ้านเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
คลิกลิ้งค์นี้หรือสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อรับชมวิดิโอ : https://www.youtube.com/watch?v=fpj4cz40aBk
Click Donate Support Web