WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaBAbTSE

วิศวกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จัดงาน 'TSE : Engineering and Beyond เป็นมากกว่าวิศวกร' ดึงนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ โชว์จุดเปลี่ยนอนาคตประเทศด้วยวิศวกรรมและเทคโนโลยียุคใหม่

·   วิศวกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เตรียมเปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ประจำปีการศึกษา 2562 ผ่านระบบ TCAS 62 ครอบคลุม หลักสูตรภาษาไทย ภาษาอังกฤษ

·   วิศวกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิดไอเดีย 'มากกว่าวิศวกร' โชว์นวัตกรรม'ทียูวี' โฟลดิ่งสกูตเตอร์เล็กที่สุดในโลก ยานยนต์สุดล้ำ จิ๋วแต่แจ๋ว ขับขี่คล่องตัว พกพาสะดวก พับเก็บง่ายเพียง 3 ขั้นตอน และสุดยอดปัญญาประดิษฐ์ เปิดกล้องคัดกรองมะเร็งผิวหนังได้ในแชะเดียวด้วยแอปฯ บนมือถือ

       ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) 2 พฤศจิกายน 2561 - คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE) จัดงาน 'TSE : Engineering and Beyond เป็นมากกว่าวิศวกร'เปิดวิสัยทัศน์การสร้างวิศวกรรุ่นใหม่ให้สามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต และมีทักษะการทำงานที่ประสิทธิภาพ โดยในงานดังกล่าวยังมีการเปิดนวัตกรรมด้านวิศวกรรมศาสตร์แห่งอนาคต อาทิ “ยานยนต์สุดล้ำ TU-V” (ทียูวี) พาหนะจิ๋วพับได้ง่ายๆ ด้วย 3 ขั้นตอน มาพร้อมกับการขับขี่ที่คล่องตัว “แอปฯ คิวทิส ดอทเอไอ” (Cutis.AI) แอปฯ คัดกรองมะเร็งผิวหนังง่ายๆ ด้วยกล้องสมาร์ทโฟน รู้ผลไวในแชะเดียว ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านหลักสูตรวิศวกรรมแห่งอนาคต ตลอดจนยังมีกิจกรรม TSE Talks การบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีชื่อเสียง และหน่วยงานชั้นนำด้านวิศวกรรมศาสตร์ อาทิ รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ศิษย์เก่า และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ศิษย์เก่า และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงภาพยนตร์วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีนักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก

    รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร เจียศิริพงษ์กุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE)เปิดเผยว่า 'Thammasat School of Engineering'หรือ TSE (ทีเอสอี) ในปี 2562 เป็นต้นไป คณะฯมุ่งปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เพื่อสร้างผู้เรียน ให้สามารถปรับตัว มีศักยภาพในการแข่งขัน ภายใต้แนวคิด “Engineering and Beyond เป็นมากกว่าวิศวกร” เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของอนาคตได้ และส่งเสริมให้เป็นวิศวกรรุ่นใหม่เติบโตในอนาคตอย่างมั่นคง มีทักษะการทำงานที่ประสิทธิภาพ สามารถปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมถึงมีศักยภาพในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านวิศวกรรม ไปต่อยอดให้เกิดรูปแบบนวัตกรรมที่แปลกใหม่ สร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ มีทางเลือกในการประกอบอาชีพได้หลากหลาย โดยไม่ผูกขาดว่าต้องทำงานในสายอาชีพวิศวกรในโรงงานเพียงอย่างเดียว และสามารถค้นพบเส้นทางการดำเนินชีวิตของตนเอง สะท้อนภาพลักษณ์ใหม่ของ TSE  

     รองศาสตราจารย์ ดร.ธีร กล่าวต่อว่า TSE ได้จัดงาน 'TSE : Engineering and Beyond เป็นมากกว่าวิศวกร'โดยภายในงานมีกิจกรรม TSE Talks โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีชื่อเสียงและหน่วยงานชั้นนำด้านวิศวกรรมศาสตร์ นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับวิศวกรรมแห่งอนาคต อาทิ รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ บรรยายในหัวข้อ “บทบาทวิศวกรยุคใหม่เมื่อ AI จ่อเข้าวิน” ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ศิษย์เก่า และ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) บรรยายในหัวข้อ “เปิดประสบการณ์วิศวกร TSE ในวันวาน กับการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด ในโลกที่เปลี่ยนแปลง” และคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ศิษย์เก่า และ หัวหน้าพรรค อนาคตใหม่ บรรยายในหัวข้อ “โลกเปลี่ยน วิศวกรปรับ พร้อมรับอนาคต” ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล บรรยายหัวข้อ “นวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย วิศวกรไทยทำได้จริง”    

     นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการนำเสนอนวัตกรรมที่สะท้อนแนวคิด 'Engineering and Beyond เป็นมากกว่าวิศวกร'เพื่อนำเสนอความก้าวล้ำและทิศทางการพัฒนางานวิจัยด้านวิศวกรรมศาสตร์ให้สอดคล้องกับความต้องการของโลกในอนาคต อาทิ ยานยนต์สุดล้ำ 'TU-V'ผลงานของนายวัศพล สินทรัพย์ และนายเมธัส น้ำผุด นักศึกษาภาควิชวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งเป็นพาหนะจิ๋วพับได้ง่ายๆ ด้วย 3 ขั้นตอน มาพร้อมกับการขับขี่ที่คล่องตัว แอปพลิเคชันคัดกรองมะเร็งผิวหนัง “คิวทิส ดอทเอไอ” (Cutis.AI) ฝีมือการคิดค้นของ รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ที่นำเทคโนโลยี AI มาช่วยคัดกรองความเสี่ยงโรคมะเร็งผิวหนัง เพียงเปิดแอปฯ ใช้กล้องส่องบริเวณผิวหนัง รู้ผลทันใจในแชะเดียว ให้ผลการตรวจแม่นยำถึง 70 % สามารถตรวจคัดกรองและจำแนกภาพถ่ายจาก กระเนื้อ ไฝ หรือปาน แสดงผลเป็นค่าเปอร์เซ็นความเสี่ยง

       อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน TSE มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่สามารถผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของอนาคตได้ ภายใต้บริบทใหม่ ครอบคลุมความต้องการของภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-เอก รวม 38 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 21 หลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 9 หลักสูตร และหลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 8 หลักสูตร ซึ่งในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 21 หลักสูตรนี้ มีหลักสูตรภาษาอังกฤษ 2 หลักสูตรคือ

       1.       หลักสูตรวิศวกรรมสองสถาบัน (TEP) ซึ่งเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ ในรูปแบบของหลักสูตรสองปริญญา (Double Degree) โดยนักศึกษาจะได้เรียนที่ TSE ระยะเวลา 2 ปี และสามารถเลือกเรียนต่อในมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่อยู่ในความร่วมมืออีก 2 ปี ได้แก่ University of Nottingham ในประเทศอังกฤษ UNSW Sydney ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงติดอันดับ 1 ใน 8 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศออสเตรเลีย และ KU LEUVEN ประเทศเบลเยี่ยม

         2.       วิศวกรรมศาสตรบัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ (TEPE)โดยนักศึกษาจะมีโอกาสใช้ภาษาอังกฤษตลอดหลักสูตร และยังมีโอกาสในการฝึกงานในหน่วยงานอุตสาหกรรมต่างๆ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาเห็นภาพในการทำงานจริงด้านวิศวกรรมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการเตรียมความพร้อมสู่การทำงานในสถานประกอบการ โดยหลักสูตร TEPE ได้มีการขยายความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา (Exchange Programmes) กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการหาประสบการณ์ใหม่ๆ ในรั้วมหาวิทยาลัย และยังมีทุนการศึกษาให้จำนวน 30 ทุน แบ่งเป็นทุนการศึกษาเต็มจำนวน 20 ทุน และ ทุนบางส่วน 10 ทุน

      นอกจากนี้ ยังมีโครงการหลักสูตรนวัตกรรมทางวิศวกรรมศาสตร์ (Programme of Innovative Engineering) หรือ TU-PINE โดยจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย ทั้งในระดับปริญญาตรี 4 สาขา เพื่อการผลิตบัณฑิตให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของอนาคต โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมยุคใหม่ ที่ต้องอาศัยการบูรณาการองค์ความรู้ที่หลากหลายในการทำงาน ได้แก่ วิศวกรรมโยธาและการบริหารการก่อสร้าง (EBM) วิศวกรรมไฟฟ้าอุตสาหการ (iPEN-iEE) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Soft-en) และวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ (V-TECH) เพื่อตอบโจทย์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนและการประกอบรถยนต์ขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศให้เติบโตตามเทรนด์ของการพัฒนายานยนต์ยุคใหม่ ให้มีความสามารถในการแข่งขันรองรับอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) โดยความร่วมมือจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก สนับสนุนงบประมาณ ลงทุนก่อสร้างอาคารปฏิบัติการวิศวกรรมยานยนต์ ในหลักสูตรวิศวกรรมเทคโนโลยียานยนต์ (V-TECH) ภายในศูนย์พัทยา ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็นศูนย์กลางด้านการพัฒนาศักยภาพวิศวกรยานยนต์ของประเทศ

      “การพลิกโฉมของ TSE นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งสำคัญทางวิชาการ โดยเฉพาะด้านวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศไทย ที่สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ เข้าถึงความต้องการของคนรุ่นใหม่ และเข้าใจทิศทางด้านวิศวกรรมในอนาคต โดยตั้งเป้าให้เป็นมากกว่าวิศวกร แต่ถึงแม้ TSE จะมีเป้าหมายสำคัญในการพัฒนาวิศวกรรุ่นใหม่ ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงชองอนาคตเพียงใด TSE ยังคงยึดมั่นในการสร้างบัณฑิตที่คุณธรรม คำนึงถึงหลักจรรยาบรรณในวิชาชีพ ควบคู่ไปกับเป็นเลิศทางวิชาการ ทักษะการทำงานที่รอบด้าน โดยไม่ละเลยคุณสมบัติพื้นฐาน คือ ความรับผิดชอบต่อสังคม” ดร.ธีร กล่าวในตอนท้าย

       อย่างไรก็ตาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TSE)ได้จัดงาน 'TSE : Engineering and Beyond เป็นมากกว่าวิศวกร'พร้อมกิจกรรม TSE Talks การบรรยายจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีชื่อเสียงและหน่วยงานชั้นนำด้านวิศวกรรมศาสตร์ อาทิ รศ.ดร.จาตุรงค์ ตันติบัณฑิต อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ศิษย์เก่า และผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ศิษย์เก่า และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงภาพยนตร์วารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โดยมีนักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมจำนวนมาก

      ทั้งนี้ TSE กำลังรับสมัครคัดเลือกนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2562 ผ่านระบบ TCAS 62 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวกิจกรรมของ TSE ได้ที่ www.engr.tu.ac.th และ Facebook Fanpage ของ TSE ที่ www.facebook.com/ENGR.THAMMASAT

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!