WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaaAINHA

กคช. จัดกิจกรรม NHA GIS DAY 2018 โชว์นวัตกรรมและเทคโนโลยีสู่ Smart City

     การเคหะแห่งชาติ จัดกิจกรรม NHA GIS DAY 2018 : Smart Cities Powered by GIS โดยมี พลเอก ณัฐติพล กนกโชติ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธาน พร้อมด้วย ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานการเคหะแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน อาจารย์ นิสิต นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ และประชาชนที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 250 คน ในวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม (ชั้น 3) โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ

      ดร.ธัชพล กาญจนกูล ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวถึงการจัดกิจกรรม NHA GIS Day 2018 : Smart Cities Powered by GIS ว่า เป็นการเผยแพร่ความรู้นวัตกรรมและผลงานด้านเทคโนโลยีระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information Sytem : GIS) ที่การเคหะแห่งชาตินำมาใช้มาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อใช้สนับสนุนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพัฒนาเมืองของการเคหะแห่งชาติ รวมทั้งได้บริการเผยแพร่ข้อมูลแผนที่ในลักษณะ Offline แก่หน่วยงานภายนอก ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และประชาชนที่สนใจ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างหน่วยงานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือ สร้างการเชื่อมโยงข้อมูล (Base Platform) ในการใช้ข้อมูล (GIS) ที่มีอยู่ ให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ทั้งส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์งานด้าน (GIS) แก่หน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอกองค์กร

        นอกจากนี้ ภายในงานยังประกอบด้วยการจัดแสดงนิทรรศการของภาครัฐ ภาคเอกชน และการบรรยายพิเศษในหัวข้อต่างๆ อาทิ GIS for Smart Community : โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง, Geo Intelligent Platform for Smart Cities, GIS for Smart Mobility, GIS for Smart Cities, GIS For Housing and Urban Development (Smart Cities) โดยใช้ GIS เพื่อการพัฒนาพื้นที่อยู่อาศัยและเมืองเชื่องโยง Smart City, GIS Supports the Planning and Development of smart Cities โดยใช้ GIS เป็นเครื่องมือในการวางแผน บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ และความเชื่อมโยงกับแนวโน้มของ GIS โลก สำหรับแนวคิดเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City

        ปัจจุบันได้มีการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงานเพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในอนาคตให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ที่รัฐบาลได้กำหนดวิสัยทัศน์แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศคือ การบูรณาการข้อมูลผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลกลาง หรือรูปแบบการแชร์ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ (Open Data) ที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน (Base Platform) มีการดำเนินงานแบบอัจฉริยะ รวดเร็ว (Real-Time GIS) ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริงนำไปสู่การสร้างเป้าหมายสูงสุด (Ultimate goal) ร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบผลที่ได้ออกมาถูกต้องและตรงกับความต้องการของหน่วยงาน

       อีกทั้ง การนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเป็นเครื่องมือสำคัญในการวางแผนบริหารจัดการข้อมูลที่มีความหลากหลาย (Big Data) นั้น สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะให้มีประสิทธิภาพจากการบริหารจัดการซึ่งเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ หรือ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System : GIS) เป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางในการเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ทั้งยังสร้างบริบทเพื่อให้เห็นภาพของพื้นที่จริงได้รวดเร็ว สามารถประยุกต์ใช้ข้อมูลภูมิสารสนเทศในภารกิจต่างๆ และถือเป็นข้อมูลส่วนหนึ่งในระบบข้อมูลที่มีความหลากหลาย (Big Data) ยกตัวอย่างเช่น การบริหารจัดการทรัพย์สินของการเคหะแห่งชาติคือมีที่อยู่อาศัยและที่ดิน การรวบรวมข้อมูล ภูมิสารสนเทศ (GIS) และเชื่อมโยงกับระบบสารสนเทศ จึงนำไปสู่การสร้างฐานข้อมูลที่มีความหลากหลาย (Big Data) เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาทรัพย์สินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!