WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

CBREอลวสสา พฒนถาบตรCBRE อสังหาฯ กทม.ปี 61 ยังเน้นทำเลกลางเมือง-เจาะตลาดบน,คาดต่างชาติร่วมทุน-เข้าซื้อเพิ่ม,ค้าออนไลน์บูมกระทบพื้นที่ค้าปลีก

      น.ส.อลิวัสสา พัฒนถาบุตร กรรมการผู้จัดการ ซีบีอาร์อี ประเทศไทย (CBRE) กล่าวถึง"แนวโน้มอสังหาริมทรัพย์กรุงเทพฯปี 61"ว่า บรรยากาศของการลงทุนในประเทศไทยเริ่มกลับมาฟื้นตัวดีขึ้น จากปัจจัยบวกที่ภาพรวมเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกมีทิศทางที่ดี โดยเฉพาะเศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยหลัก ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและผู้ที่กำลังมองหาซื้ออสังหาริมทรัพย์กลัมาดีขึ้น

     โดยในส่วนของผู้พัฒนาโครงการคาดว่าจะมีการเปิดโครงการใหม่ในกรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้นอีกกว่า 5 หมื่นยูนิตในปีนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10-15% โดยการพัฒนาโครงการใหม่ส่วนใหญจะเน้นไปที่ทำเลในเมืองที่เป็นทำเลที่มีศักยภาพ โดยยังเกาะกลุ่มในทำเลสุขุมวิท ลุมพินี สีลม และสาทร ราคาขายต่อตารางเมตรเฉลี่ยอยู่ที่ 270,000 บาท/ตารางเมตร และยังเน้นการเจาะกลุ่มตลาดระดับบน ซึ่งมีทิศทางของการซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง

      ขณะเดียวกัน แนวโน้มของราคาที่ดินในปีนี้มองว่าจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อน หลังจากทุบสถิติราคาสูงสุดในทำเลหลังสวนที่ 3.1 ล้านบาท/ตารางวา ที่บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) ได้ซื้อที่ดินดังกล่าวไปเพื่อเตรียมพัฒนาโครงการ โดยหลังจากที่มีการทำสถิติใหม่เกิดขึ้น ส่งผลให้เจ้าของที่ดินในทำเลต่าง ๆ ปรับราคาที่ดินเพิ่มขึ้นตาม

      แต่ในแง่ของผู้พัฒนานั้นมองว่าจะต้องใช้การวิเคราะห์ข้อมูลของการซื้อที่ดินมาพัฒนา เพราะหากราคาที่ดินที่ซื้อมาสูงมาก จะทำให้ราคาขายโครงการสูงขึ้นตาม ซึ่งเป็นความเสี่ยงของผู้พัฒนาโครงการที่อาจจะเผชิญกับการขายที่ไม่ดี เพราะราคาขายสูงกว่าราคาขายเฉลี่ยในทำเลนั้นๆ โดยในภาพรวมของราคาขายเฉลี่ยของโครงการคอนโดมิเนียมในปี 61 คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 5-7% มาอยู่ที่ 285,00-290,000 บาท/ตารางเมตร จากอีก่อนที่ 270,000 บาท/ตารางเมตร

     "ความเสี่ยงของการซื้อที่ดินมาพัฒนาที่ราคาสูงมาก ถ้าไม่วิเคราะห์ราคาขายไนเรื่อง Rate of sell ที่ดี จะทำให้การขายช้ามาก ซึ่งการพัฒนาโครงการในที่ดินที่ซื้อมาราคาสูง ต้องดูความต้องการใน Location นั้นๆ ดูกลุ่มลูกค้าว่าจะ Serve ลูกค้ากลุ่มไหม และราคาขายเฉลี่ยในทำเลนั้นๆต้องมีความสมเหตุสมผลกับทำเล ซึ่งตอนนี้ก็มีบาง Product ที่มีราคาขายโดดขึ้นมา และขายได้เพียงแค่ 20-30% ไปขายอีกทีก็ตอนตึกเสร็จ ซึ่งต่างจาก Product ที่เป็นกลุ่ม Affordable price และ Premium mass ที่ยังเป็นเทรนด์อยู่และมียอดขายที่ดี 70-100% ซึ่งการพัฒนาโครงการขึ้นมาก็ต้องดู Demand และ Supply รวมถึงราคาขายในทำเลนั้นๆ"น.ส.อลิวัสสา กล่าว

      นอกจากนั้น ยังเชื่อว่าแนวโน้มผู้ประกอบการไทยจะเข้าร่วมทุนกับผู้ประกอบการต่างชาติเพื่อพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เพิ่มมากขึ้น โดยส่วนใหญ่จะเป็นความร่วมมือกับพันธมิตรญี่ปุ่นเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้สัดส่วนการร่วมทุนกับพันธมิตรญี่ปุ่นสูงถึง 75% เนื่องจากธนาคารไทยยังมีความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเพื่อพัฒนาโครงการใหม่ ทำให้ผู้พัฒนาโครงการต้องมองหาเงินลงทุนจากพันธมิตรต่างชาติเข้ามาเสริม

       อีกทั้ง ปัจจุบันยังเห็นนักลงทุนต่างชาติ เช่น จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ นิยมเข้ามาซื้อที่อยู่อาศัยในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะโครงการคอนโดมิเนียม เนื่องจากราคาขายและค่าใช้จ่ายต่างๆ ยังต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เมื่อเทียบกับสิงคโปร์และฮ่องกง โดยขณะนี้สัดส่วนของผู้ซื้อชาวต่างชาติในโครงการคอนโดมิเนียมในกรุงเทพฯ เพิ่มขึ้นมาเป็น 25% ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน 28% ฮ่องกง 14% สิงคโปร์ 8% และญี่ปุ่น 5% และส่วนที่เหลือเป็นสัดส่วนของผู้ซื้อชาวไทย 75%

     ด้านนายนิธิพัฒน์ ทองพันธุ์ หัวหน้าแผนกพื้นที่สำนักงาน ซีบีอาร์อี ประเทศไทย กล่าวว่า ปริมาณความต้องการใช้พื้นที่สำนักงานในกรุงเทพฯในช่วง 2–3 ปีข้างหน้าจะยังคงอยู่ที่ระดับ 200,000 ตารางเมตร/ปี ไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่วนในปี 61 ที่มีพื้นที่สำนักงานใหม่เพิ่มเข้ามาน้อยกว่า 200,000 ตารางเมตร แต่ปริมาณพื้นที่ว่างจะยังคงลดลงเรื่อยๆ และค่าเช่าจะยังเพิ่มสูงขึ้นแม้จะเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงก็ตาม

    ปัจจุบันอัตราพื้นที่ว่างอยู่ที่ระดับ 7.8% และจะลดลงต่อเนื่อง ขณะที่ค่าเช่าพื้นที่สำนักงานปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 4-5% ในทุกเกรดและทุกทำเล

    "เนื่องจากค่าเช่าพื้นที่สำนักงานปรับตัวสูงขึ้น ผู้เช่าจึงมองหาหนทางในการลดค่าใช้จ่าย โดยอาศัยกลยุทธ์การจัดพื้นที่ทำงาน เพื่อให้สามารถเพิ่มจำนวนพนักงานได้ในขณะที่ใช้พื้นที่ลดลง โดยในปีนี้จะเห็นการเช่าพื้นที่มาทำโคเวิร์กกิ้งสเปซ ซึ่งจะมีผู้ให้บริการพื้นที่โคเวิร์กกิ้ง สเปซจากต่างชาติ 4 รายจะเปิดให้บริการครั้งแรกในอาคารสำนักงานในย่านใจกลางซีบีดีของกรุงเทพฯ โดยมีพื้นที่รวมทั้งหมดราว 1.8 หมื่นตารางเมตร และซีบีอาร์อีคาดการณ์ว่าจะมีการขยายสาขาออกไปอีกในปี 61"นายนิธิพัฒน์ กล่าว

     สำหรับ ภาพรวมของพื้นที่เช่าค้าปลีกนัน CBRE มองว่าการแข่งขันระหว่างร้านค้าและตลาดออนไลน์ในไทยจะเริ่มเห็นได้ชัดในปี 61 ซึ่งอีคอมเมิร์ซส่งผลกระทบอย่างมากต่อร้านค้าปลีกรูปแบบดั้งเดิม ส่วนการปิดปรับปรุงพื้นที่ในศูนย์การค้าที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีร้านค้าปลีกกลับมาเปิดให้บริการ จะทำให้อัตราพื้นที่ว่างซึ่งอยู่ที่ระดับ 5% ลดลง ขณะที่พื้นที่ค้าปลีกใหม่จะมีเพิ่มขึ้นอีกราว 300,000 ตารางเมตรในปี 61 จากในปี 60 มีพื้นที่ค้าปลีกใหม่เพิ่มเข้ามา 100,000 ตารางเมตร ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในตลาดค้าปลีกเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามายังศูนย์การค้ารุนแรงมากขึ้น

     นอกจากนี้ ผู้ค้าปลีกจะขยายช่องทางการขายให้มีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งการขายผ่านออนไลน์และการขายหน้าร้าน (Offline) หมายความว่าผู้ค้าปลีกอาจต้องการใช้พื้นที่น้อยลง โดยผู้ค้าปลีกและเจ้าของพื้นที่ค้าปลีกจะต้องปรับตัว ไม่เพียงแต่ต้องสร้างประสบการณ์ที่พิเศษให้แก่ลูกค้า แต่ยังต้องอำนวยความสะดวก ที่ไม่สามารถหาได้จากการซื้อขายทางออนไลน์

     นายนิธิพัฒน์ กล่าวว่า ขณะเดียวกันการเติบโตของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซจะนำไปสู่ความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่ทุกรูปแบบเพิ่มมากขึ้น ณ ไตรมาส 4/60 อัตราการเข้าใช้พื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่โดยรวมอยู่ที่ 79.2% เพิ่มขึ้นจาก 78.6% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งมูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นทุกปี

    จากการสำรวจโดยแผนกวิจัยพื้นที่อุตสาหกรรมพบว่ายอดขายทุก 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในตลาดอี-คอมเมิร์ซของสหรัฐอเมริกาแสดงถึงความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่เพิ่มขึ้นอีก 100,000 ตารางเมตร ส่วนตลาดอีคอมเมิร์ซในไทยปี 60 มี มูลค่าโดยรวมอยู่ที่ 2.84 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 8.9 พันล้านบาท คิดเป็นประมาณ 1% ของยอดขายค้าปลีกทั้งหมด ซึ่ง CBRE คาดการณ์ว่ายอดขายอีคอมเมิร์ซในไทยที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ความต้องการพื้นที่คลังสินค้าและศูนย์กระจายสินค้ารุ่นใหม่เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน

               อินโฟเควสท์

อสังหาฯปี 61 คึกเติบโต 8% บจ.ลงทุน 600,000 ล้าน ธอส.ปล่อยกู้ดอกฯถูก

     ไทยโพสต์ ; พระรามเก้า * ศูนย์ข้อมูลอสังหาฯ เผยรายงานสถานการณ์ตลาดที่อยู่อาศัยทั่วประเทศปี 61 ขยายตัว 8.2% ทำเลกรุงเทพฯ-ปริมณฑล มีโครงการเปิดขายใหม่ 117,100 ยูนิต เพิ่มขึ้น 2.8% คาดเม็ดเงินลงทุนทะลัก 6 แสนล้าน ธอส.เท 2.85 หมื่นล้านบาท จัด 5 โครงการปล่อยกู้ต่ำเพียง 2.8%

     นายวิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหา ริมทรัพย์ (ธอส.) เปิดเผยถึงแนวโน้มสถานการณ์ที่อยู่อาศัยทั่วประ เทศในปี 2561 โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ 8.2% ขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑล จะมีการขยายตัว 10.7% ส่วนตลาดในจังหวัดภูมิภาคขยายตัว 4.2% ขณะที่อัตราการขยายตัวในด้านยูนิตการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย 7.9% มีอัตราการขยายตัวด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 10.8% และมีอัตราการขยายตัวด้านยอดปล่อยใหม่สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อที่อยู่อาศัย 2.8% และมีอัตราการขยายตัวที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน 10.9%

     โดยในพื้นที่เขตกรุงเทพฯปริมณฑล คาดว่าจะมีอัตราการ ขยายตัวในด้านยูนิตการโอนกรรม สิทธิ์ที่อยู่อาศัย 8.9% ด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 13.9% และด้านยอดปล่อยใหม่สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อที่อยู่อาศัย 2.8% และมีการขยายตัวที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน 15.3% ส่วนภูมิภาคคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขยายตัวในด้านหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย 6.8% ด้านมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ 5.5% และด้านยอดปล่อยใหม่สินเชื่อส่วนบุคคลเพื่อที่อยู่อาศัย 2.8% และที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียน 4.3% ทั้งนี้คาดว่าจะมีมูลค่าการลงทุนของกลุ่มบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 29 บริษัท รวมไม่ต่ำกว่า 611,800 ล้านบาท

     อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 นี้ โดยภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยจะยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยองค์ประกอบสำคัญของตลาดที่อยู่อาศัยยังคงอยู่ใน พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จากอาคารชุดเป็นหลัก ขณะที่ในภูมิ ภาคจะเป็นตลาดทาวน์เฮาส์และ บ้านเดี่ยวเป็นหลัก คาดการณ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑลจะ มียูนิตโครงการเปิดขายใหม่ 117,100 ยูนิต เพิ่มขึ้น 2.8% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ประมาณ 107,800-128,800 ยูนิต สำหรับตลาดในภูมิภาคคาดว่าจะมียูนิตที่อยู่อาศัยเสนอขายรวมประมาณ 111,300 ยูนิต แบ่งเป็นบ้านจัดสรร 79,900 ยูนิต และอาคารชุด 31,400 ยูนิต

      นายฉัตรชัย ศิริไล กรรม การผู้จัดการ ธนาคารอาคารสง เคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า ในไตรมาสแรกปีนี้ธนาคารได้จัดวง เงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ 2.85 หมื่นล้านบาท สำหรับปล่อยกู้ให้ผู้ต้อง การมีบ้านในทุกกลุ่มรายได้ 5 โครงการ โดยคิดดอกเบี้ยเริ่มต้นต่ำสุดเพียง 2.8% เพื่อกระตุ้นให้คนไทยมีที่อยู่อาศัยเป็นของตัวเอง รวมถึงผลักดันให้สินเชื่อใหม่ของธนาคารในปีนี้ให้ได้ตามเป้าหมายที่ 1.89 แสนล้านบาท

     สำหรับ โครงการแรก เป็นสินเชื่อบ้านสวัสดิการรายย่อย วงเงิน 1.15 หมื่นล้านบาท ต่อมาเป็นสินเชื่อบ้านโครงการจัดสรร วงเงิน 5,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อบ้านสุขสันต์สำหรับลูกค้ารีไฟแนนซ์วงเงิน 5 พันล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการสินเชื่อบ้านเพิ่มสุขปี 61 วงเงิน 2 พันล้านบาท ขณะเดียวกันยังมีโครงการสินเชื่อบ้านมั่งมี ศรีสุข วงเงิน 5 พันล้านบาท.

อสังหาฯปี 61 คึก บ้าน-คอนโดมิเนียมโตไม่หยุด

      ไทยโพสต์ : ในปี 2561 นี้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เรียกได้ว่าเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติ มีความคึกคักมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จากรายงานดัชนีที่อยู่อาศัย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ พร็อพเพอร์ตี้ อินเด็กซ์ ฉบับล่าสุดเผย แนวโน้มดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ยังคงเป็นบวก สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและกำลังซื้อที่ปรับตัวดีขึ้น ชี้แม้อุปทานในตลาดจะถูกดูดซับช้า แต่ยังคงไร้สัญญาณโอเวอร์ซัพพลายแม้แนวโน้มของราคาจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ต้นปี 2560

    ทั้งนี้ เป็นที่คาดว่าดัชนีอุปทานที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นในปี 2561 จากการที่ผู้ประกอบการทั้งรายเล็ก-รายใหญ่ส่งสัญญาณว่าจะเปิดโครงการใหม่ๆ เป็นจำนวนมาก ในขณะที่ตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ นั้น คาดว่าจะยังคงฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะไม่หวือหวานักเพราะกำลังซื้อยังค่อนข้างจำกัดจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่แม้จะเริ่มคลี่คลายลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ถือว่าสูง

     อย่างไรก็ตาม กมล ภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ประจำประเทศไทย ของดีดีพร็อพเพอร์ตี้ ได้ระบุว่า การดูดซับอุป ทานในตลาดจะเป็นไปแบบช้าๆ ในขณะที่ผู้ประกอบการเองก็มีแผนที่จะเปิดโครงการใหม่ๆ ออกมาอย่างคึกคักในปี 2561 แต่ก็จะไม่เกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลาย หรือสินค้าล้นตลาดเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการยังคงติดตามตลาดอย่างใกล้ชิด และผู้ขายจะได้รับอานิสงส์ที่ดีจากราคาที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ

      โดยดัชนีราคามีการเติบโตมากกว่า 100% ในช่วงเวลาไม่ถึง 3 ปี อย่างไรก็ดี ส่วนทางด้านผู้ซื้อก็ยังคงได้รับประโยชน์จากอัตราดอกเบี้ยที่ยังคงต่ำ และจากโปรโมชั่นและข้อเสนอพิเศษต่างๆ จากผู้ประกอบการที่ต้องการเร่งระบายสินค้าในสต็อกและเปิดโครงการใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง

     ทางด้าน ซีบีอาร์อี ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำระดับโลก เผยปี 2561 แนวโน้มคอนโดฯ หรูยังดีต่อเนื่อง เริ่มต้นด้วยยอดขายคอนโดมิเนียมเปิดตัวใหม่ในย่านใจกลางเมืองกรุงเทพฯ ที่พุ่งสูงทะลุเป้า ผู้พัฒนาโครงการต่างกำลังมองหาที่ดินในทำเลชั้นดี และวางแผนพัฒนาโครงการใหม่ ขณะที่ผู้ซื้อก็มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น

      ทั้งนี้ ผู้ซื้อชาวไทยและชาวต่างชาติต่างเลือกซื้อคอนโดมิเนียมหรูในทำเลชั้นนำของกรุงเทพฯ ในฐานะที่เป็นอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน เพราะจากสถิติที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า ราคาปรับเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด ซึ่งราคาที่ดินและราคาคอนโดมิเนียมที่เปิดตัวใหม่ก็ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน เพราะที่ดินในทำเลชั้นดีที่มีศักยภาพที่จะสามารถนำมาพัฒนาโครงการนั้นหาได้ยากมากขึ้นทุกที ผู้ซื้อจึงตัดสินใจซื้อตอนนี้ดีกว่ารอซื้อในอนาคตที่มีแนวโน้มว่าราคาจะขยับขึ้นไปอีก

     ในส่วนของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ อย่าง บมจ.เอพี (ไทยแลนด์) (AP) โดยนายอนุพงษ์ อัศวโภคิน ได้กล่าวแสดงความคิดเห็นถึงภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในไตรมาสแรก ปี 2561 โดย

     มองว่า เป็นการเริ่มต้นปีที่ดี คาดว่าทั้งปีนี้จะมีอัตราการเติบโตได้มากกว่า 10% เป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3 และไตรมาส 4 ปี 2560 ที่ผ่านมา โดยเฉพาะในตลาดคอนโดมิเนียมที่ผู้ประ กอบการมีการเปิดตัว กันเพิ่มมากขึ้น และคาดการณ์ว่าตั้งแต่ไตร มาสแรกถึงไตรมาส 3 ปีนี้ ตลาดคอนโดมิเนียมจะเป็นตลาดที่ดีและได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

     ขณะที่ นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บมจ.แสนสิริ (SIRI) กล่าวว่า ในปี 2561 ภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะยังคงมีแนวโน้มเติบโตได้ดี โดยมีปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจาก เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มเติบโตได้ดี คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ประมาณ 3.5% ส่งผลให้เศรฐกิจในเอเชียดีขึ้น และเป็นผลให้ประเทศไทยได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัว ในส่วนของบริษัทคาดว่าทั้งปีจะมีการขยายตัวได้ที่ประมาณ 4% ส่วนการส่งออกโตประมาณ 5% และภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องด้วยเช่น กัน

    อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 นี้ ในทุกภาคส่วนธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความหวังว่าการลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ จะเป็นตัวเร่งการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการลงทุนมากยิ่งขึ้น เพื่อจะเป็นการผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศในปีนี้เติบโตได้อย่างที่คาดหวังไว้.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!