- Details
- Category: ยานยนต์
- Published: Monday, 29 September 2014 22:31
- Hits: 3909
ทิปโก้แอสฟัลท์ โชว์ศักยภาพบริษัทไทย Chang International Circuit (CIC)
บ้านเมือง : เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มบริษัททิปโก้แอสฟัลท์ พาคณะสื่อมวลชน เดินทางไปเจาะลึกในความสำเร็จของสนามแข่งรถมาตรฐานสากลระดับโลก "ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต" แห่งแรกของประเทศไทย และต้องการเผยแพร่ความรู้ด้านงานทางยางมะตอย รวมถึงเทคโนโลยีการก่อสร้างสนามแข่งรถให้เป็นที่รู้จัก เพื่อถ่ายทอดความภูมิใจให้คนไทยได้รู้ว่า นี่คือสนามแข่งรถที่คนไทยเป็นเจ้าของ คนไทยก่อสร้าง และคนไทยจะมีโอกาสได้สัมผัสสนามมาตรฐานสากลระดับโลกเป็นครั้งแรก
นายชัยวัฒน์ ศรีวรรณวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ โดยมีบริษัท ทิปโก้แอสฟัลท์ จากัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้นำในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางมะตอยทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ใช้สำหรับการก่อสร้างและซ่อมบำรุงผิวการจราจร ร่วมกับบริษัท ไทยสเลอรี่ซีล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทฯ ที่มีความเชี่ยวชาญการก่อสร้างและบำรุงรักษางานทางยางมะตอย โดยมีทีมวิศวกรงานทางที่มีประสบการณ์และความชำนาญสูง มีเครื่องจักรที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล รวมถึงมีทีมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีงานทางยางมะตอยที่ได้รับการถ่ายทอดจากบริษัท Colas S.A. บริษัทชั้นนำของโลก ในการก่อสร้างและบำรุงรักษาถนนจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นพันธมิตรผู้ถือหุ้นรายใหญ่รายหนึ่งของกลุ่มบริษัทฯ จึงทำให้กลุ่มบริษัทฯ สามารถนำเสนอนวัตกรรมงานทางยางมะตอย ที่มีคุณภาพสูงให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่องเสมอมา
กลุ่มบริษัทฯ จึงได้รับโอกาสและเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของโครงการก่อสร้างสนาม "ช้าง อินเตอร์เนชั่นแนล เซอร์กิต, Chang International Circuit (CIC)" มูลค่า 4,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นสนามที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์ยานยนต์นานาชาติ หรือ FIA Grade 1 ที่สามารถจัดงานแข่งรถยนต์ระดับ Formula 1และ สหพันธ์กีฬาแข่งรถจักรยานยนต์โลก ระดับ FIM Grade A ที่สามารถจัดงานแข่งรถจักรยานยนต์ระดับโลกอย่าง Moto GP, GT1, GT2, GT3 แห่งแรกของประเทศไทย โดยมีผิวทางยางมะตอยรวม 2.15 แสน ตร.ม. ซึ่งก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ และจะเปิดการแข่งขัน บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ซูเปอร์จีที เรซ ถือเป็นการแข่งขันสุดยอดรถยนต์ทางเรียบระดับท็อปของญี่ปุ่นวันที่ 4-5 ต.ค.นี้
ในฐานะที่กลุ่มบริษัทฯ เป็นบริษัทของคนไทย ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดำเนินการแบบครบวงจร ตั้งแต่จัดหาวัสดุยางมะตอยคุณภาพสูง การก่อสร้าง และการควบคุมที่ได้ระดับมาตรฐานสากล นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจที่กลุ่มบริษัทฯ ได้เป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จที่ทำให้คนไทยมีสนามแข่งรถมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นการตอกย้ำความเป็นผู้นำนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยางมะตอย และการให้บริการแบบครบวงจรในระดับมาตรฐานสากลอีกครั้งหนึ่ง เพื่อยกระดับมาตรฐานงานทางยางมะตอยและโครงข่ายคมนาคมของประเทศไทยสู่ระดับสากลต่อไป
ปัจจุบัน ทิปโก้แอสฟัลท์ มีโรงงานผลิต คลังเก็บยางมะตอย และคลังน้ำมันใน 8 ประเทศ ส่วนในไทยมีโรงงานและคลังเก็บยางมะตอยตั้งอยู่ที่ศูนย์กลางในแต่ละภูมิภาค ได้แก่ จ.นครราชสีมา ระยอง พิษณุโลก และสุราษฎร์ธานี รวมทั้งมีโรงกลั่นยางมะตอยในประเทศมาเลเซีย ตั้งอยู่บนพื้นที่ 250 ไร่ ในเขตอุตสาหกรรม Telok Kalong มีกำลังกลั่นน้ำมันดิบ 3 หมื่นบาร์เรล/วัน หรือประมาณ 10.8 ล้านบาร์เรล/ปี เทียบเท่ากับปริมาณน้ำมับดิบ 1.7 ล้านตัน/ปี ผลิตยางมะตอยได้ถึงปีละ 1.25 ล้านตัน สร้างรายได้ 3.4 หมื่นล้านบาท และในปีนี้จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 1.8 ล้านตัน/ปี หรือมีรายได้ 4.6 หมื่นล้านบาท
"ที่ผ่านมา ราคายางมะตอยจะสัมพันธ์กับราคาน้ำมันดิบ แต่ปีนี้ต่างออกไป เพราะความต้องการใช้ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ราคายางมะตอยขยับขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบ โดยที่ผ่านมาความต้องการใช้ยางมะตอยในไทย ปี 2556 อยู่ที่ 7.04 แสนตัน ส่วนใหญ่เป็นการใช้กับงานก่อสร้างของภาครัฐถึง 99% ภาคเอกชนมีปริมาณใช้งานเพียง 1% กลุ่มบริษัทฯ ยังคงมุ่งเน้นกลยุทธ์ทางธุรกิจระยะยาวเพื่อให้กลุ่มบริษัทฯ
สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ในการจัดจำหน่ายยางมะตอยให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ในการจัดจำหน่ายยางมะตอยให้ได้ถึง 2 ล้านตันในปี 2558"ชัยวัฒน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ความต้องการใช้งานจะขยับเพิ่มสูงขึ้นจากงานก่อสร้างของภาครัฐที่เพิ่มขึ้นตามงบประมาณก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐ 2 ล้านล้านบาท ที่จะทยอยและจะมีส่วนหนึ่งมาใช้กับงานก่อสร้างถนน เช่น งานก่อสร้างมอเตอร์เวย์ส่วนต่อขยาย รวมไปถึงการก่อสร้างทางด่วน การเพิ่มประสิทธิภาพผิวการจราจร
การราดผิวจราจรในสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เป็นต้น
จึงคาดว่าความต้องการใช้ยางมะตอยในไทยจะขยับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในปีนี้ความต้องการใช้ในประเทศน่าจะสูงถึง 8 แสนตัน/ปี
ขณะเดียวกันจะเริ่มให้ความสำคัญกับงานภาคเอกชนมากขึ้น โดยวางเป้าว่า ภายในปี 2563 สัดส่วนการขายยางมะตอยให้กับภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 5%
เน้นเจาะตลาดโครงการประเภทรีสอร์ท โรงแรมในต่างจังหวัดนอกจากนี้ยังได้พัฒนาสินค้าประเภท (High Value Added) HVA หรือสินค้านวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของสินค้าให้มากขึ้น เช่น ยางมะตอยชนิดโพลิเมอร์โมดิฟายด์อาฟัลต์อิมัลชั่น เป็นยางมะตอยผสมน้ำยางพารา ยางมะตอยชนิดผสมเสร็จ (Premix) เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปผสมเสร็จบรรจุถุงขายและสามารถนำไปใช้งานได้ทันที เป็นต้น
ขณะที่ ฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์ ของ บมจ.หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) ระบุว่า บมจ. ทิปโก้แอสฟัลท์ (TASCO) แนวโน้มผลประกอบ 3Q57 จะฟื้นตัวมีกำไรที่ดีขึ้น 250-300 ล้านบาท ได้แรงหนุนจากการเติบโตของตลาดส่งออกไปจีน บวกราคาขึ้น TASCO มีศักยภาพที่จะเติบโตในอนาคต ทั้งตลาดในประเทศ จากภาครัฐบาลให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานด้านถนน กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทได้งบปี 2558 เพิ่มเป็น 12%YoY และตลาดส่งออกได้พันธมิตรอันดับหนึ่ง SK Energy จากเกาหลีใต้จะหนุนการส่งออก โรงกลั่นยางมะตอยมีสัญญาวัตถุดิบระยะยาวและเพิ่มประสิทธิภาพ
แนวโน้มผลประกอบ 3Q57 จะฟื้นตัวมีกำไร 250-300 ล้านบาท หลังจากที่ 2Q57 มีกำไรเพียง จากเกาหลีใต้จะหนุนการส่งออก โรงกลั่นยางมะตอยมีสัญญาวัตถุดิบระยะยาวและเพิ่มประสิทธิภาพ
แนวโน้มผลประกอบ 3Q57 จะฟื้นตัวมีกำไร 250-300 ล้านบาท หลังจากที่ 2Q57 มีกำไรเพียง 2 ล้านบาท ใน 3Q57 จะได้แรงหนุนจากตลาดส่งออกโดยเฉพาะจีนปรับตัวดีขึ้นมาก บวกราคาขายยางมะตอยปรับเพิ่มขึ้น โรงกลั่นยางมะตอยหลังจากที่ปิดซ่อมบำรุงในไตรมาสก่อน 4 สัปดาห์ กลับมาเดินเครื่อง 100% ช่วยประหยัดต้นทุน 20 เซ็นต์/บาร์เรล ตลาดอินโดนีเซีย มีแนวโน้มจะกลับมาเติบโตหลังจากเลือกตั้ง คาด 3Q57 จะมีกำไรฟื้นตัวดีขึ้น 250-300 ล้านบาท
โดยมอง TASCO มีศักยภาพที่จะเติบโตในอนาคตโดยจะได้แรงหนุนจาก 1.) ในปีงบประมาณ 2558 กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทได้รับจัดสรรงบประมาณรวมกันเพิ่มขึ้นเป็น 1.02 แสนล้านบาท 2.) ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย ระยะ 8 ปี (พ.ศ.2558-2565) วงเงินรวม 2.4 ล้านล้านบาท และมียุทธศาสตร์ถนน เช่น โครงการถนนเชื่อมภูมิภาค ถนน 4 ช่องจราจร มอเตอร์เวย์ วงเงินลงทุนสูงถึง 6.4 แสนล้านบาท 3.) ร่วมทุนกับบริษัท SK Energy อันดับหนึ่งจากเกาหลีใต้ เพื่อดำเนินธุรกิจค้าขายยางมะตอยในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเสริมศักยภาพการเติบโตในปี 2558 ในตลาดส่งออกของ TASCO 4.) ทางการกำลังมีนโยบายการนำยางพารามาผสมยางมะตอยเพื่อช่วยพยุงราคายางพารา โดย TASCO เป็นเจ้าของเทคโนโลยีนี้
ในขณะที่คำสั่งซื้อซ้ำจากลูกค้าในประเทศก็น่าจะช่วยให้ปริมาณยอดขายของ TASCO ปีนี้เป็นไปตามาคาดไว้ที่ 1.8 ล้านตัน และทำให้ยอดขายปีนี้เพิ่มขึ้น 46.8% เป็น 4.98 หมื่นล้านบาท รวมทั้งฝ่ายวิจัยยังคาดว่า TASCO จะสามารถรักษาอัตรากำไรขั้นต้นเอาไว้ได้ที่ระดับ 4.4% จากการที่สามารถประหยัดต้นทุนจากการเพิ่มกำลังการผลิตได้ 0.2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และอีก 0.8 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากการที่โรงผลิตในมาเลเซียเปลี่ยนประเภทเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิต