- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Wednesday, 03 January 2018 23:27
- Hits: 10536
กทท.ตั้งทีมศึกษาผุด'ท่าเรือไฮเทค Premium Port ฝันก่อสร้างปี'64
แนวหน้า : นายโกมล ศรีบางพลีน้อย ผู้อำนวยการ ท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่าขณะนี้ทาง กทท.กำลังอยู่ระหว่างศึกษาการก่อสร้างท่าเรือ Premium Port บริเวณฝั่งตะวันตก ของท่าเรือกรุงเทพ พร้อมระบบการขนถ่ายด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ (Port Automation) ทำหน้าที่ในการจัดการท่าเรือ โดยระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และหุ่นยนต์ในการขนย้ายตู้สินค้า คาดว่าจะก่อสร้างจำนวน 2-3 ท่า เพื่อลด ระยะเวลาการรอขนถ่ายสินค้าและบริหารการจราจรของสินค้าภายในท่าเรือกรุงเทพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และรองรับลูกค้าระดับสูงในแบบฉบับของความเป็นPremium Port คาดว่าจะใช้เวลาศึกษาความเหมาะสมถึงปี 2562 ก่อนเสนอของบประมาณเพื่อก่อสร้าง ในปี 2564
ส่วนของแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับท่าเรือกรุงเทพ นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลแผนแม่บทคาดว่าจะสามารถเสนอกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือน พฤษภาคม 2561 โดยตามแผนนี้จะมีการพัฒนาพื้นที่ท่าเรือคลองเตยเป็น 3 แปลง
ส่วนความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก พร้อมระบบบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก (CFS ขาออก) วงเงิน 1,350 ล้านบาทนั้น ขณะนี้ได้ข้อสรุปด้านการปรับแบบแล้ว คาดว่าจะเสนอเอกสารประกวดราคา(TOR)เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ ภายในเดือนมกราคมก่อนประกาศเชิญชวนเอกชนและเปิดประมูลโครงการในเดือน กุมภาพันธ์ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน เปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2562
กทท.ชงบอร์ดเคาะงบ 1.35 พันล.สร้างอาคารบรรจุสินค้าส่งออก
ไทยโพสต์ : คลองเตย * กทท.จ่อเปิดประมูลโครงการก่อสร้างอาคารบรรจุสิน ค้าเพื่อการส่งออก 1.35 พันล้านบาท ภายในเดือน ก.พ.61 เพิ่มประสิทธิภาพการตอบรับลูกค้า
นายโกมล ศรีบางพลีน้อย ผู้อำนวยการท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอาคารบรรจุสินค้าเพื่อการส่งออก มูลค่า 1.35 พันล้านบาท ว่า ภายในเดือน ม.ค.61 จะเสนอเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) โครงการดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) จากนั้นจะประกาศเชิญชวนเอกชนและเปิดประมูลโครงการในเดือน ก.พ. ใช้เวลาก่อสร้าง 18 เดือน เปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2562 อย่างไรก็ตาม พื้น ที่บริเวณดังกล่าวนั้นจะถูกพัฒนาเป็นศูนย์กระจายสินค้าทางเรือ
"กทท.อยู่ระหว่างศึกษาการก่อสร้างท่าเรือ Premium Port บริเวณฝั่งตะวันตกของท่าเรือกรุงเทพ พร้อมระบบการขนถ่าย ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบใหม่ หรือ Port Automation ทำหน้าที่ใน การจัดการท่าเรือ โดยใช้คอมพิว เตอร์และหุ่นยนต์ในการขนย้ายตู้สินค้า ตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คาดว่าจะก่อสร้างจำนวน 2-3 ท่า เพื่อลดระยะเวลาการรอขนถ่ายสินค้าและบริหารการจราจรของสินค้าภายในท่าเรือกรุงเทพให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตลอดจนรองรับลูกค้าระดับสูงในแบบฉบับของความเป็นพรีเมียมพอร์ท ทั้งนี้จะใช้เวลาศึกษาความเหมาะสมถึงปี 62 ก่อนเสนอของบประมาณเพื่อก่อสร้างในปี 64" นายโกศลกล่าว
ส่วนแผนการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับท่าเรือกรุงเทพนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลแผนแม่บท คาดว่าจะสามารถเสนอกระทรวงคมนาคมได้ภายในเดือน พ.ค.61 เบื้องต้นจะแบ่งการพัฒนา พื้นที่ท่าเรือคลองเตยเป็น 3 แปลง ประกอบด้วย พื้นที่แปลงเอ จะเน้นการพัฒนาเชิงพาณิชย์เพื่อสนับสนุนความเป็นย่านธุรกิจและการค้า, แปลงบีจำนวน 533 ไร่นั้น พัฒนาเพื่อรองรับการขน ส่งสินค้าในอนาคตจำนวน 1.5-2 ล้านตู้ TEU ต่อปี และพื้นที่แปลงซี จะเน้นพัฒนาในรูปแบบ Commercial Port.
กทท.คลอดงบปี 61 วงเงิน 1.1 หมื่นลบ.เดินหน้าลงทุนตามแผน, โครงการท่าเทียบเรือแหลมฉบังยังไม่เสร็จ
เรือตรี ทรงธรรม จันทประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการการท่าเรือฯ สายวิศวกรรม รักษาการแทน ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2561 กทท. ได้รับอนุมัติงบลงทุนจำนวนทั้งสิ้น 11,075.918 ล้านบาท ซึ่ง กทท. มีกรอบการเบิกจ่ายเท่ากับ 2,848.943 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา เห็นชอบกรอบและงบประมาณของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2561 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) เสนอ พร้อมทั้งกำหนดกรอบการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของวงเงินอนุมัติเบิกจ่ายลงทุนคิดเป็น 2,706.496 ล้านบาท
สำหรับ รายละเอียดของงบลงทุนตามแผนปฏิบัติการ ปีงบประมาณ 2561 ของ กทท. มีรายการลงทุนที่สำคัญ กล่าวคือ ในส่วนของท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) ประเภทเครื่องจักรอุปกรณ์ ได้แก่ การจ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนราง (Rail Mounted Shoreside Gantry Crane) ขนาดยกน้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 เมตริกตัน จำนวน 2 คัน ณ ท่าเทียบเรือ 20 G การจ้างเหมาต่อเรือขุดพร้อมอุปกรณ์การขุดและอุปกรณ์ประกอบ ความสามารถในการขุดได้ที่ความลึกไม่น้อยกว่า 15 เมตร จำนวน 1 ลำ (ทดแทนเรือขุด 2) พร้อมเรือลากจูงขนาดกำลังฉุดไม่น้อยกว่า 10 เมตริกตัน จำนวน 1 ลำ (ทดแทนเรือลากจูง
3) เรือบรรทุกดินประเภทขับเคลื่อนระบบใบจักร ขนาดความจุยุ้งดินไม่น้อยกว่า 300 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ลำ (ทดแทนเรือดิน 4,5,6) การจ้างเหมาต่อเรือลากจูงขนาดกำลังฉุดไม่น้อยกว่า 30 เมตริกตัน จำนวน 1 ลำ (ทดแทนเรือท่าเรือ 107) การจ้างเหมาสร้างปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าชนิดเดินบนราง (Rail Mounted Shoreside Gantry Crane) ขนาดยกน้ำหนักไม่น้อยกว่า 40 เมตริกตัน จำนวน 2 คัน (ทดแทน ปตส. 15,16) ฯลฯ และประเภทสิ่งก่อสร้าง ได้แก่ งานพัฒนาพื้นที่เพิ่มประสิทธิภาพใน การให้บริการบรรจุตู้สินค้าเพื่อการส่งออก (Exported Container Freight Station) (CFS EXPORT) งานสร้าง ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยของท่าเรือกรุงเทพ (Bangkok Port Incident Command Center) งานสร้างอาคารสำนักงานกองบริการ (ปากน้ำ) และอาคารหมวดพัสดุคลังสินค้าที่ 1 งานปรับปรุงพื้นท่า 20 G พร้อมติดตั้งระบบไฟฟ้าแรงสูง ฯลฯ
และที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ทลฉ.) ได้แก่ งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้า 115 เควี ของท่าเรือแหลมฉบัง (ทดแทน) งานสร้างศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมระบบสัญญาณควบคุมและแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ งานสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และสะพานข้ามรางระบายน้ำคอนกรีตเสริมเหล็กเชื่อมต่อถนนทางหลวงชนบทบริเวณบางละมุง จ้างเหมาต่อเรือลากจูงขนาดกำลังฉุดไม่น้อยกว่า 50 เมตริกตัน จำนวน 1 ลำ (เพิ่มเติม) งานจ้างเหมาต่อเรือลากจูงขนาดกำลังฉุดไม่น้อยกว่า 50 เมตริกตัน จำนวน 2 ลำ (เพิ่มเติม) (ทดแทนเรือท่าเรือ 204,205) ซื้อพร้อมติดตั้งโคมไฟถนนแบบ LED และปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างโครงการท่าเทียบเรือขั้นที่ 2 ทลฉ. (ทดแทน)
ส่วนโครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) ที่ ทลฉ. โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง ฯลฯ ซึ่งปัจจุบันแผนการลงทุนดังกล่าวอยู่ระหว่างการดำเนินการ
ทั้งนี้ กทท. ได้ดำเนินการจัดซื้อก่อสร้างตามแผนงานให้เป็นไปตามแผนการลงทุนที่กำหนดไว้ เพื่อให้สามารถผูกพันสัญญาและเบิกจ่ายเงินได้ทันภายในปี 2561 และเพื่อให้มีการเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามกรอบการเบิกจ่ายที่รัฐบาลกำหนด ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการของ กทท. เนื่องจากเป็นการลงทุนโครงการพัฒนาต่างๆ ทั้งการพัฒนาในโครงสร้างพื้นฐานและการให้บริการ
อินโฟเควสท์