WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม เตมพทยาไพสฐรมว.คมนาคมเผย จะชงรถไฟความเร็วสูง กทม.-พิษณุโลก เข้าครม.ไม่เกิน มี.ค.61 - รถไฟทางคู่ 3 เส้นภาคเหนือจะเข้าช่วงต้นปี

       รมว.คมนาคมเผยจะชงรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-พิษณุโลก เข้าครม.ไม่เกิน มี.ค.61 พร้อมส่ง รถไฟทางคู่ 3 เส้นภาคเหนือให้ครม.พิจารณาตอนต้นปี พร้อมรับทราบแผนขยายสนามบินเชียงใหม่ รันเวย์น่าน ลำปาง และแพร่ ส่วนสนามบินแม่สอดคาดเปิดใช้ พ.ค.61 

        นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)สัญจร ว่า ครม. รับทราบแนวทางพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ภาคเหนือ ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 61 โดยโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทางญี่ปุ่นเสนอแผนการก่อสร้างช่วงแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มาให้ไทยแล้ว มูลค่า 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีขอให้ไปศึกษาความคุ้มค่าของโครงการนี้ คาดว่าจะเสนอหลักการให้ครม.พิจารณาได้ไม่เกิน มี.ค.61

      "นายกรัฐมนตรีให้ไปศึกษาเรื่องความคุ้มค่า อย่างเส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย เชื่อมไปลาวไปจีนได้ แต่เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะเชื่อมต่อไปไหน....คาดว่าน่าจะเสนอหลักการให้ ครม.พิจารณาได้ไม่เกินมีนาคมหน้า" นายอาคม กล่าวกับผู้สื่อข่าวภายหลังประชุมครม.สัญจร

      นอกจากนี้ ในวันที่ 28 ธ.ค.นี้จะมีการลงนามในสัญญารถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ ส่วนต้นปี 61 จะเสนอครม.ให้พิจารณารถไฟทางคู่ 3 สาย ได้แก่ สายเด่นชัย-ปากน้ำโพ, เด่นชัย-เชียงใหม่ และเด่นชัย-เชียงราย    

       นอกจากนี้ จะมีการขยายสนามบินเชียงใหม่ เพื่อรองรับผู้โดยสารให้ได้มากกว่า 10 ล้านคน, แก้ปัญหาจราจรหน้าสนามบิน, สร้างอาคารผู้โดยสารเพิ่มและย้ายคาร์โก้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีให้นโยบายว่า โครงการไหนสามารถทำได้ ก็ให้เริ่มดำเนินการได้ทันที  รวมถึงจะมีการขยายเส้นทางวิ่งขึ้นลงของเครื่องบิน(รันเวย์) ในจังหวัดน่าน ลำปาง และแพร่ ขณะที่อ.แม่สอด จ.ตาก มีความคืบหน้าในการสร้างสนามบินแล้ว 90% คาดว่าจะเปิดบริการได้ในพ.ค.61 ส่วนถนนในปี 61 จะมีการลงทุนคิดเป็นมูลค่า 24% ของการลงทุนทำถนนทั้งประเทศ ซึ่งจะเป็นเส้นทางเชื่อมไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ก.คมนาคม ตั้งเป้าเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กทม.-โคราช 13 สัญญา มูลค่า 1.79 แสนลบ.ภายในปี 61

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ตั้งเป้าภายในปี 61 จะเปิดประมูลก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาง กทม.-นครราชสีมา ที่เหลืออีก 3 ช่วง รวม 13 สัญญา มูลค่าประมาณ 1.79 แสนล้านบาท เพื่อให้สามารถเปิดบริการได้ในปี 64 โดยงานโยธาตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร์ ระยะทาง 11 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลได้ไตรมาสที่ 1/61

 การบริหารโครงการนี้ ต้องทำรายได้เชิงพาณิชย์ ต้องสามารถทำกำไรได้ เบื้องต้นมอบหมายให้ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม รับผิดชอบดูแลเรื่องการตั้งบริษัทลูก หรือตั้งเป็นหน่วยธุรกิจแยกออกมาบริหารงานต่างหาก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและแข่งขันด้านการตลาดกับสายการบินต้นทุนต่ำได้ เบื้องต้นคาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 30 ปี

 สำหรับ อัตราค่าโดยสารเบื้องต้นเส้นทาง กทม.- นครราชสีมา แบ่งเป็น 4 ช่วงดังนี้ 1. สถานีกลางบางซื่อ- อยุธยา ค่าโดยสาร 195 บาท 2.บางซื่อ-สระบุรี ค่าโดยสาร 278 บาท 3.บางซื่อ-ปากช่อง ค่าโดยสาร 393 บาท และ 4.บางซื่อ-นครราชสีมา ค่าโดยสาร 535 บาท

อาคม`ลั่น ตอกเสาเข็มไฮสปีดเทรนไทย-จีน เล็งซอยงานโยธา 3 ตอนที่เหลือ เป็น 14 สัญญา

      นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึง ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 22 ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะเริ่มต้นการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูง กทม.-โคราช ตอนที่ 1 บริเวณสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 425 ล้านบาท ในวันที่ 21 ธ.ค. 2560 โดยจะนำวันไปเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พิจารณาต่อไป

       นอกจากนี้ ยังมีมติร่วมกัน ให้แบ่งสัญญางานโยธาออกเป็น 14 สัญญา สำหรับงานก่อสร้างอีก 3 ตอนที่เหลือ คือ ตอนที่ 2 ระยะทาง 11 กิโลเมตร,ตอนที่ 3 119.5 กิโลเมตร และตอนที่ 4 ระยะทาง 110 กิโลเมตร โดยให้เร่งออกแบบช่วง กทม.-อยุธยา ก่อนเพื่อให้ทยอยเปิดให้บริการทีละสถานี ส่วนสัญญา 2.3 ระบบรถไฟความเร็วสูง อาณัตสัญญาณ ตัวรถ เดินรถและบำรุงรักษา คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน มี.ค.

     สำหรับ โครงการเฟสที่ 2 โคราช-หนองคายนั้น เบื้องต้นจะใช้แบบก่อสร้างเดิม ที่สำนักงานนโยบายและแผนขนส่งจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เคยศึกษาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยเชิญจีนมาเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น คาดว่าจะเริ่มต้นลงรายละเอียดการออกแบบในปีหน้า ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี หลังจากนี้ ทางจีนจะส่งผู้ช่วยชาญจากสถาบันรถไฟความเร็วสูงมาทำงานร่วมกับกระทรวงเพื่อจัดทำแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี

    ส่วนการเชื่อมต่อระหว่างสถานีหนองคายและเวียงจันทน์นั้น ฝ่ายจีนรับไปศึกษาออกแบบ โดยไทย จีน ลาว จะหารือร่วม 3 ประเทศต่อไป เพราะมีเป้าหมายร่วมกันให้รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน-ลาวสามารถเชื่อมต่อกันได้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

อาคม เล็งชงครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น กทม.-เชียงใหม่ วงเงิน 2.76 แสนลบ.ใน 3 เดือน เริ่มเฟสแรก กทม.-พิษณุโลก

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับ รองอธิบดีกรมการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นได้นำเสนอรายงานความเหมาะสมโครงการความร่วมมือการก่อสร้างรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กม. ฉบับสมบูรณ์ ให้ฝ่ายไทยแล้ว โดยจะใช้เงินลงทุนรวม 2.76 แสนล้านบาท ไม่รวมงานระบบเดินรถและตัวรถ

      ส่วนรูปแบบลงทุนญี่ปุ่นเห็นว่ารัฐบาลควรลงทุนเองทั้งหมด หากต้องการให้โครงการสำเร็จ เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ขณะที่ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นศึกษารูปแบบการลงทุนเพิ่มเติม โดยไทยได้เสนอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในงานระบบเดินรถ ซ่อมบำรุง ระยะเวลา 30 ปี เนื่องจากต้องใช้เทคโนโลยีชินคังเซน โดยไทยจะซื้อขบวนรถจากญี่ปุ่น

      “ภายใน 3 เดือน กระทรวงจะนำผลการศึกษาเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการได้ หากครม. เห็นชอบ จะเข้าสู่ขั้นตอนของการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างเส้นทางเฟสที่ 1 ก่อน ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กิโลเมตร  "

       และเพื่อให้โครงการเดินหน้าได้เร็ว จะมีการแบ่งระยะการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คือ เฟสที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กม. แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 สัญญาคือ  จากสถานีบางซื่อ –ดอนเมือง-อยุธยา ระยะทางประมาณ 100 กม. และ  ลพบุรี นครสวรรค์ -พิษณุโลก อีกกว่า 300 กม.  และเฟส 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 573 กม. เพื่อให้สามารถเปิดให้บริการได้ก่อนในระยะแรก กทม.-อยุธยา  โดยที่ไม่ต้องรอให้การก่อสร้างแล้วเสร็จทั้งเส้นทาง นอกจากนื้ ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำเรื่องแนวคิดพัฒนาพื้นที่รอบสถานีด้วย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ก.คมนาคมเร่งโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กทม.-นครราชสีมา คาดเฟสแรก เริ่มก่อสร้างได้ ธ.ค.นี้

       นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารร่วมความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย – จีน ได้มีการหารือถึงความคืบหน้าโครงการร เส้นทาง กทม.-นครราชสีมา วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยเห็นชอบแบบก่อสร้างเฟสแรก สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท และเตรียมเสนอให้ครม.รับทราบเร็วๆนี้ คาดว่าจะเริ่มงานก่อสร้างเฟสแรกได้กลางเดือนธ.ค.นี้

       โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ซึ่งได้ประสานขอให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม พื่อสรุปผลประชุมเสนอให้ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอนุมัติอีไอเอพิจารณาอนุมัติ เพื่อให้เริ่มงานก่อสร้างได้ทันตามเป้าหมาย

     สำหรับ การก่อสร้างเฟสแรก กรมทางหลวง จะดำเนินการก่อสร้าง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะเป็นหน่วยเบิกจ่ายงบ ซึ่งเป็นงบเงินกู้ที่กระทรวงการคลังจัดหา

     ส่วนงานก่อสร้างอีก 3 เฟสที่เหลือ คือช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119.5 กม. ฝ่ายจีนอยู่ระหว่างออกแบบก่อสร้าง ซึ่งไทยเร่งรัดให้ทยอยส่งแบบให้เร็วขึ้นภายใน 6 เดือน เพื่อให้รฟท.สามารถเปิดประมูลจ้างผู้รับเหมาไทยให้ดำเนินการก่อสร้างได้ต่อเนื่อง คาดว่าไตรมาส 1/61 จะเริ่มทยอยเปิดประมูลได้อีก 2 เฟส ตั้งเป้าให้ก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการในปี 565 เพื่อให้เชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาวที่จะเปิดให้บริการในปีเดียวกัน

    นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผอ. สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดให้เริ่มงานก่อสร้างเฟสแรกให้ได้ภายในเดือนธ.ค. นี้ ซึ่งขณะนี้ สนข.ได้เสนอผลการจัดทำอีไอเอรอบที่ 7 ให้ คชก. พิจารณาแล้วคาดว่าการประชุมครั้งหน้าจะเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!