WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม ตั้งกรรมการเร่งไฮสปีดไทย-จีน ลุยรถไฟสายใหม่ 'กรุงเทพ-พิษณุโลก' เข้าครม.ต้นปีหน้า

      แนวหน้า : นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย- ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 546,744 ล้านบาท ว่า ผลศึกษา ความเหมาะสมได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะแรกช่วงกรุงเทพพิษณุโลก และระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลกเชียงใหม่

       ในส่วนของช่วงกรุงเทพฯพิษณุโลก นั้นได้มีการสรุปรายงานเรียบร้อยแล้วจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยทำการศึกษาในเรื่องของรูปแบบการลงทุนเพิ่มเติม และในผลรายงานการศึกษาได้มีการเสนอว่า เป็นโครงการที่ทางรัฐบาลควรเป็นผู้ดำเนินการ แต่ก็ได้มีการขอให้ทางญี่ปุ่นช่วย ศึกษาว่าหากมีการให้เอกชนร่วมลงทุนจะเป็นลักษณะใด โดยได้มีการดูต้นแบบมาจากโมเดลของประเทศไต้หวันเป็นตัวอย่าง

      ทั้งนี้ ในขั้นตอนต่อไปทางกระทรวงคมนาคม จะมีการนำเสนอผลการศึกษาให้ทางคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาความเหมาะสมในการดำเนินโครงการว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ต่อไป โดยคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 3 เดือน ในการวิเคราะห์และสรุปผลการศึกษา รวมถึงการขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอให้ ครม.พิจารณา

     ส่วนในขั้นตอนการออกแบบได้มี แนวคิดในการแบ่งตอนของช่วงกรุงเทพฯพิษณุโลก ออกเป็นตอนย่อยซอยสัญญาก่อสร้างและดำเนินการทีละส่วนอาจจะมีการดำเนินที่ละ 1-2 สถานี เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการก่อสร้างโครงการ ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นแม้ว่าผลการศึกษาจะมีการเสนอให้ทางรัฐบาลเป็นผู้ลงทุนก็ตาม แต่ทางฝ่ายไทยก็อยากให้ทางญี่ปุ่นมีส่วนในการร่วมลงทุนด้วยซึ่งจะต้องมีการหารือร่วมกันต่อไป โดยในการลงทุนทางญี่ปุ่นก็มีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงิน อย่างไรก็ตาม สำหรบผลการศึกษาในช่วงของกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 418 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 276,225 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมในส่วนของการเดินรถระยะ 30 ปี

       "จากผลการศึกษาทางญี่ปุ่นมีความเห็นว่าเป็นการลงทุนของทางรัฐบาล แต่เราคิดว่าน่าจะเป็นความ ร่วมมือกับเอกชนเช่นลักษณะของ Joint Venture มากกว่า อาจจะเป็นการลงทุนร่วมกัน หรือรัฐบาลลงทุนด้านงานโยธา หรือบริษัทร่วมลงทุนกับรถไฟไทยในเรื่องการเดินรถ หรือจะมีการร่วมลงทุนตั้งแต่ต้น ซึ่งอยากให้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลมากกว่า เนื่องจากโครงการรถไฟความเร็วสูงใช้งบประมาณมากกว่าโครงการอื่นๆ และเป็นผลตอบแทน ในระยะยาว รวมถึงโครงการนี้ยังมี การใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่น"นายอาคม กล่าว

      ในส่วนของระยะต่อไป แต่จะเริ่มดำเนินการเมื่อไหร่จะต้องมีการหารือร่วมกันอีกครั้ง เพราะต้องการให้ในส่วนแรกเป็นรูปธรรมก่อน นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เกี่ยวกับการพัฒนาเมืองและบริเวณโดยรอบสถานีก็ได้มีการ ขอให้ทางญี่ปุ่นส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยแนะนำโดยทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ดำเนินการ

ตั้งกรรมการเร่งไฮสปีดจีน 'อาคม'ชงครม.อนุมัติแบบก่อสร้างภายในพ.ย.มั่นใจปี 65 เสร็จ

      ไทยโพสต์ : คมนาคม สั่งตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุดเร่งรัดโครงการรถไฟไทย-จีน คาดเสนอ ครม.อนุมัติแบบก่อสร้างสิ้นเดือน พ.ย.นี้ พร้อมเดินหน้าเปิดประมูลช่วง 2-4 ไตรมาส 1 ปีหน้า มั่นใจทั้งโครงการยันหนองคายแล้วเสร็จแน่ปี 65 เชื่อมต่อประเทศลาว

         นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ได้มีมติแต่งตั้งคณะอนุกรรม การขึ้นมา 4 ชุดเพื่อเร่งรัดการดำเนินการในโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ซึ่งขณะนี้ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รอผลการศึกษาจากคณะกรรมการศึกษา ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอ เอ) สรุป ช่วงบ้านภาชี-โค ราช ก่อนที่จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแบบ ก่อสร้างภายในสิ้นเดือน พ.ย.60 นี้ และคาดภายในเดือน ธ.ค.จะสามารถก่อสร้างเส้น ทางกลางดง-ปางอโศก ระยะ ทาง 3.5 กม.ได้

          ส่วนการออกแบบโครง การอีก 3 ช่วงที่เหลือได้แก่ ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร, ช่วงที่ 3 แก่งคอยโคราช ระยะทาง 119.5 กิโล เมตร และช่วงที่ 4 แก่ง คอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กิโลเมตรนั้น ได้เร่งรัดให้ทางฝ่ายจีนเร่งออกแบบโครง การให้เร็ว และส่งให้ไทยภายใน 6 เดือน หากช่วงใดออกแบบแล้วเสร็จและไทยถอดแบบแล้วเสร็จ ก็สามารถเปิดประมูลได้ทันที คาดว่าในไตรมาสแรกของปี 61 จะเริ่มเปิดประมูลได้

        "มั่นใจว่า โครงการรถ ไฟไทย-จีน เส้นทาง กทม.หนองคายจะต้องแล้วเสร็จในปี 65 แน่นอน ซึ่งจะทำ ให้เชื่อมต่อรถไฟไทย-จีนของประเทศลาว ที่จะเปิดให้บริการในปี 65 ส่วนงบ ประมาณที่จะมาใช้ในโครง การรถไฟไทย-จีน นั้น จะเป็น แหล่งเงินกู้ในประเทศทั้งหมด ส่วนระบบรถ ตัวรถ ระบบรางนั้น จะมาหารือกับฝ่ายไทยอีกครั้งหนึ่ง" นายอาคมกล่าว

         นายอาคมกล่าวว่า การจัดตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อเร่งรัดผลักดันโครงการรถไฟไทย-จีนนั้นประกอบด้วย 4 คณะคือ 1.อนุกรรมการจัดตั้ง องค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงโดย, 2.อนุกรรม การจัดตั้งสถาบันวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและจัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง, 3.อนุกรรมการปรับปรุง ระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับ สนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทั้ง 3 คณะจะมี รมช.คมนาคมเป็นประธาน

      สำหรับ ชุดที่ 4 คือ อนุกรรมการพัฒนาพื้นที่และเมือง ซึ่งมี รมว.คมนา คม เป็นประธาน โดยมีหน้าที่ดูความพร้อมการพัฒนาพื้นที่รอบรถไฟความเร็ว สูงเชื่อมต่อกับเมืองที่ล้อมรอบ

      "ก่อนหน้านี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้พบปะกับนายกรัฐมนตรีของจีน ซึ่งทางจีนได้ขอให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 24 พ.ย.นี้ จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 22" นายอาคมกล่าว.

รมว.คมนาคม คาดตอกเสาเข็มไฮสปีดเทรนตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก กลาง ธ.ค.60

      นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการบริหารพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ว่า เป็นการประชุมครั้งแรกหลังจากมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 243/2560 ลงวันที่ 27 ก.ย.60 แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการ ด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เพื่อยกระดับจากคณะกรรมการบริหารชุดเดิม ปรับปรุงโครงสร้างบริหารงาน โดยให้กระทรวงคมนาคมจัดตั้งสำนักงานบริหารการพัฒนาโครงการขึ้นเป็นหน่วยงานในสังกัดเพื่อเป็นหน่วยงานด้านงบประมาณและจัดบุคลากรของโครงการในระยะยาว

       ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด เพื่อดำเนินการตามคำสั่งดังกล่าว ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง โดยให้กระทรวงคมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หารือในการจัดตั้งองค์กรสำหรับบริหารการเดินรถ 2.คณะอนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและจัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง โดยมี รมช.คมนาคม เป็นประธาน

      3.คณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง หรือเป็นการพัฒนาระบบเชื่อมต่อ ซึ่งช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา มี 6 สถานีใหญ่ เพื่อให้ผู้โดยสารจากต่างอำเภอสามารถเดินทางเข้าถึงได้ โดยพิจารณาเรื่องระบบรถไฟท้องถิ่น ตารางเวลาการเดินรถที่เชื่อมต่อกับรถไฟความเร็ว และระบบขนส่งสาธารณะอื่นๆ เช่น รถเมล์เข้าเมือง รถระหว่างเมือง และ 4.คณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่และเมือง ต่อยอดจากโครงการรถไฟความเร็วสูงให้เมืองมีการเติบโต นอกเหนือจากการพัฒนาพื้นที่ในสถานีและรอบสถานี

      รมว.คมนาคม กล่าวว่า แผนการดำเนินงานรถไฟความเร็ว ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงิน 179,412.21 ล้านบาท ขณะนี้เตรียมก่อสร้าง ตอนที่ 1 สถานีกลางดง-สถานีปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ในช่วงกลางเดือน ธ.ค.60 โดยจะมีการกำหนดวันที่ชัดเจนร่วมกับจีนในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 23 ในวันที่ 24 พ.ย.นี้

       ทั้งนี้ จะเร่งรัดกระบวนการรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ยื่นรายงาน EIA ครั้งที่ 7 แล้ว และจะขอให้ทางกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาโดยเร็ว เพื่อให้สามารถเริ่มต้นก่อสร้างให้ได้กลางเดือน ธ.ค.นี้

     สำหรับ การก่อสร้างนั้น ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. ได้รับมอบแบบรายละเอียดก่อสร้างจากจีนอย่างเป็นทางการแล้ว และจะมอบให้กรมทางหลวง (ทล.) ก่อสร้าง โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นผู้เบิกจ่ายงบก่อสร้างต่อไป ส่วนตอนที่ 2,3,4 นั้น ในสัญญากำหนดให้จีนทยอยส่งแบบให้ภายใน 6 เดือน เพื่อดำเนินการประมูลผู้รับเหมาต่อไป ซึ่งจะจัดทำแผนการก่อสร้างทั้งหมดเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เร็วๆ นี้ คาดว่า น่าจะสามารถทยอยเปิดประมูลได้ในช่วงไตรมาส 1/61 เพื่อให้การก่อสร้างเกิดความต่อเนื่อง

      อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 23 จะหารือในแผนการก่อสร้าง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย และแผนการทำงานเชื่อมต่อกับสปป.ลาว

      สำหรับ แหล่งเงินในการก่อสร้างน่าจะเป็นเงินกู้ภายในประเทศทั้งหมด ส่วนระบบตัวรถยังต้องรอการเจรจากับจีนให้เรียบร้อยก่อน โดยระยะเวลาก่อสร้าง ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย ให้ต่อเชื่อมพอดีกับที่เส้นทางใน สปป.ลาว จะเสร็จในปี 65 ซึ่งทางฝั่งไทยจะก้าวหน้ากว่า และเป็นระบบทางคู่ ขณะที่ทาง สปป.ลาวเป็นระบบทางเดี่ยว

                        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!