WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอาคม เตมพทยาไพสฐคมนาคม เผยบอร์ดสภาพัฒน์นัดพิจารณาโครงการรถไฟไทย-จีน 29 มิ.ย.ก่อนเสนอ ครม.ต้นก.ค.

       นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม  เปิดเผยว่า ในวันที่ 29 มิ.ย.นี้คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) จะมีการพิจารณาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ- นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. กรอบวงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน และคาดว่าจะสามารถนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ราวต้นเดือน ก.ค. และนำเข้าสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา

      ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลงานโยธาตอนแรก ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ได้ในเดือน ก.ย.นี้

       อนึ่ง โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน มี 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ที่แบ่งงานออกเป็น 4 ตอน ตอนแรก กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร์ ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 แก่งคอย(สระบุรี) – นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม.ตอนที่ 4 แก่งคอย-กรุงเทพ ระยะทาง 119 กม. รวมระยะทาง 253 กม.

     ส่วนระยะที่ 2 เป็นเส้นทาง นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 350 กม. จะเริ่มหลังจากดำเนินการระยะที่1 ได้แล้ว โดยขณะนี้ทางจีนได้สำรวจเส้นทางตอนที่ 1-2 แล้ว

     นายอาคม กล่าวว่า โครงการถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา เป็นเส้นทางเชื่อมต่อไปยังคุนหมิงของจีนซึ่งผ่านสปป.ลาว ที่เป็นไปตามนโยบายของจีน One Belt One Road  โดยไทยจะได้รับประโยชน์ทางคมนาคมขนส่งทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว

     “ในช่วง 2 ปีครึ่ง ได้มีการหารือความร่วมือรถไฟไทย-จีนมา 18 ครั้ง ได้ทำงานอย่างรอบคอบและได้เรียนรู้โครงการรถไฟความเร็วสูง การที่มี ม.44 จะปลดล็อกให้เดินหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ได้เพิ่งทำหลังมีคำสั่ง ม.44" นายอาคม กล่าวชี้แจงกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน

    นอกจากนี้ ในช่วงต้น ก.ค. จะมีการประชุมร่วมโครงการรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 19 ที่จีนเพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการ

     นายอาคม กล่าวต่อว่า โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ได้ดำเนินในรูปแบบการแบ่งสัญญาออกเป็น 2 สัญญาหลัก โดยสัญญาที่ 1 เป็นงานด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา ซึ่งจะประกวดราคาโดยใช้ผู้รับเหมาไทยเป็นหลัก คิดเป็น 75% ของมูลค่าโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่วิศวกรและสถาปนิกไทยจะเป็นผู้ปฏิบัติงาน

      และในส่วนสัญญาที่ 2 เป็นงานด้านการออกแบบ ควบคุมงาน และระบบรถไฟ คิดเป็น 25% ของมูลค่างานโครงการ เนื่องจากโครงการนี้ใช้ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เป็นเทคโนโลยีและผลิตในประเทศจีน บุคคลการที่ใช้ในสัญญาดังกล่าวจึงเป็นบุคลากรจีน แต่เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี เนื้อหาสัญญาจะระบุให้ฝ่ายจีนต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ฝ่ายไทย โดยจะมีวิศวกรไทยประกบอยู่ด้วย

       “โครงการนี้เราจะ check and balanc โดยจีนเป็นผู้ควบคุมงานธา แต่เราก็จะจ้างที่ปรึกษา PMC (Project Management Consultant)"

       นอกจากนี้ การบริหารพื้นที่ 2 ข้างทางตลอดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมาเป็นสิทธิของไทย ไม่ได้ยกให้ฝ่ายจีนตามที่ปรากฎเป็นข่าว ซึ่งส่วนนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งอาจจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนในรูปแบบ PPP ก็ได้ ทั้งนี้จังหวัดที่โครงการผ่านได้แก่ อยุธยา สระบุรี นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย ปากช่อง สีคิ้วที่เป็นเมืองอุตสาหกรรม รวมถึงสิทธิในการพัฒนาสถานีรถไฟก็เป็นของไทย งานก่อสร้างเป็นของผู้รับเหมาไทย และใช้วัสดุก่อสร้างที่ผลิตในประเทศให้มากที่สุด หรือเกือบ 100% รวมทั้งจะไม่นำแรงงานจากจีนเข้ามา ยกเว้นวิศวกรและสถาปนิกจีน ที่คาดใช้ป ระมาณ 250 คนส่วนการเดินรถโครงการรถไฟความเร็วสูงจะต้องให้คนไทยเป็นผู้เดินรถ

     นายอาคม กล่าวว่าโครงการนี้ส่วนใหญ่ 80%ใช้พื้นที่ของ รฟท.ที่เป็นเส้นทางเดิมอยู่แล้ว แต่มีการเวนคืนที่ดินเพียง 10-20% เพราะบางช่วงเป็นทางโค้ง ต้องใช้พื้นที่มากสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง

       ด้านนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม คาดว่า ภายใน 120 วันจะสามารถลงนามสัญญากับรัฐบาลจีนในโครงการรถไฟความเร็วสูง มี 3 สัญญา คือ สัญญาการออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา สัญญางานที่ปรึกษาการควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา และสัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรวมทั้งจัดขบวนรถไฟและจัดฝึกบุคคลากร

     ขณะนี้แม้ว่าโครงการยังไม่ได้เริ่ม แต่กระทรวงได้ส่งบุคคลกรไทยไปร่วมฝึกอบรม จำนวน 5 รุ่น จำนวนไม่น้อยกว่า 300 คน โดยเมื่อวันที่ 17-26 มิ.ย.เป็นรุ่นแรกที่ส่งไปที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิทยาลัยเทคโนโลยีลาดกระบัง เป็นต้น จำนวน 25 คนไปฝึกอบรมที่จีนโดยทางจีนได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยการขนส่งปักกิ่งรับผิดชอบการเตรียมการการฝึกอบรม

สนข.แจงข้อสังเกตุรถไฟไทย-จีน ยันไทยไม่เอนเอียงไปจีนฝ่ายเดียว ยังมีความร่วมมือกับปท.อื่นๆด้วย

      รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ชี้แจงข้อสังเกตการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา จากภาคส่วนต่างๆ ประกอบด้วย

        ประเด็นที่ 1 โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาค เชื่อมโยงกับหลายประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นลักษณะของการร่วมทุน แต่รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการในลักษณะโครงการของไทย กระบวนการทั้งหมด จึงผิดวัตถุประสงค์เดิม เริ่มตั้งแต่เส้นทางที่ไม่เน้นการเชื่อมโยงกับประเทศจีน แต่กลับเปลี่ยนเป็นกรุงเทพฯ-โคราช ซึ่งระยะทั้งหมดมีเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น

     เรื่องนี้ สนข. ชี้แจงว่า เนื่องจากบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 (MOU) ได้แบ่ง การดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ โดยคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ได้กำหนดให้เริ่มดำเนินการในช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน และจะดำเนินโครงการ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ต่อไป เพื่อเชื่อมโยงโครงการรถไฟระหว่างจีน-ลาว ในระยะต่อไป

       ทั้งนี้ โครงการฯ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ประกอบด้วย 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กิโลเมตร ซึ่งการดำเนินการก่อสร้าง 3.5 กิโลเมตร เป็นเพียงการเริ่มต้นก่อสร้างในช่วงแรกจาก 4 ช่วง และจะดำเนินการก่อสร้างจนครบ 4 ช่วง รวมระยะทาง 253 กิโลเมตร ต่อไป

      นอกจากนี้ สนข. ได้ชี้แจงในประเด็นเกี่ยวกับความใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศจีนควรอยู่ในความเหมาะสม ไม่เอนเอียง ไปทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากประเทศไทยต้องเป็นกลางทางการเมืองและต้องรักษาความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ด้วย ดังนั้น การแสดงออกของไทย เช่นการซื้อเรือดำน้ำ รถถัง รวมถึงรถไฟความเร็วสูงจากประเทศจีนทั้งหมด อาจทำให้เสียสมดุลทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ ระบุว่า นอกจากได้ลงนามความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ประเทศไทยยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (ความร่วมมือด้านรถไฟไทย-เกาหลี) และบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (ความร่วมมือด้านรถไฟไทย-ญี่ปุ่น) และความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ จึงมิได้เอนเอียงไปทางประเทศใดประเทศหนึ่ง

                              อินโฟเควสท์

สนข. ยันรถไฟความเร็วสูงไทย จีน ลงนามหลายด้านกับหลายประเทศ ไม่ได้เอนเอียงแต่ทางจีนอย่างที่เป็นข่าว

      สนข. ชี้แจงประเด็น 'โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย จีน' ของกระทรวงคมนาคม ชี้ได้ลงนามร่วมมือกันหลายด้าน กับหลายประเทศ ทั้งจีน - เกาหลี ญี่ปุ่น ยันไม่ได้เอนเอียงไปทางประเทศใดประเทศหนึ่งตามที่เป็นข่าว 

    สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม เปิดเผยผ่านเอกสารเผยแพร่ว่า ตามที่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้มีคำสั่งเรื่องมาตรการเร่งรัดและเพิ่มประสิทธิภาพ การดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา เพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานพัฒนารถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ให้สามารถดำเนินโครงการเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด จึงมีข้อสังเกตจากภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินโครงการดังกล่าว นั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กระทรวงคมนาคม ขอเรียนชี้แจงในประเด็นต่างๆ ดังนี้

    ประเด็นที่ 1 : โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือในระดับภูมิภาค เชื่อมโยงกับหลายประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาเป็นลักษณะของการร่วมทุน แต่รัฐบาลปัจจุบันดำเนินการในลักษณะโครงการของไทย กระบวนการทั้งหมด จึงผิดวัตถุประสงค์เดิม เริ่มตั้งแต่เส้นทางที่ไม่เน้นการเชื่อมโยงกับประเทศจีน แต่กลับเปลี่ยนเป็นกรุงเทพฯ-โคราช ซึ่งระยะทั้งหมดมีเพียง 3 กิโลเมตรเท่านั้น

   สนข. ขอชี้แจงว่า เนื่องจากบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย กับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 (MOU) ได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ระยะ โดยคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ได้กำหนดให้เริ่มดำเนินการในช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน และจะดำเนินโครงการ ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ต่อไป เพื่อเชื่อมโยงโครงการรถไฟระหว่างจีน-ลาว ในระยะต่อไป ทั้งนี้ โครงการฯ ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ประกอบด้วย 4 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กิโลเมตร ซึ่งการดำเนินการก่อสร้าง 3.5 กิโลเมตร เป็นเพียงการเริ่มต้นก่อสร้างในช่วงแรกจาก 4 ช่วง และจะดำเนินการก่อสร้างจนครบ 4 ช่วง รวมระยะทาง 253 กิโลเมตร ต่อไป

  ​ประเด็นที่ 2 : ความใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลไทยกับประเทศจีนควรอยู่ในความเหมาะสม ไม่เอนเอียง ไปทางใดทางหนึ่ง เนื่องจากประเทศไทยต้องเป็นกลางทางการเมืองและต้องรักษาความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ด้วย ดังนั้น การแสดงออกของไทย เช่นการซื้อเรือดำน้ำ รถถัง รวมถึงรถไฟความเร็วสูงจากประเทศจีนทั้งหมด อาจทำให้เสียสมดุลทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้

 ​ สนข. ขอชี้แจงว่า นอกจากได้ลงนามความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ประเทศไทยยังได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน และการขนส่งแห่งสาธารณรัฐเกาหลี (ความร่วมมือด้านรถไฟไทย-เกาหลี) และบันทึกความร่วมมือด้านระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (ความร่วมมือด้านรถไฟไทย-ญี่ปุ่น) และความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ  จึงมิได้เอนเอียงไปทางประเทศใดประเทศหนึ่ง

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

สคร.ปัดข่าวนำโครงการรถไฟความเร็วสูงมาระดมทุนในกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์

     นายสุธารักษ์ ธีร์จันทึก ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนรัฐวิสาหกิจ ในฐานะรองโฆษกสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ตามที่นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานเครือข่ายประชาชนปฏิรูป อดีต ส.ว. และอดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เรียกร้องนายกรัฐมนตรีถึงการใช้วิธีเล่นแร่แปรธาตุกับกองทุนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ (กองทุน TFF) ที่มีผลตอบแทนสูงประมาณ 6%ต่อปี เพื่อนำเงินกองทุนไปใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นต้น แต่กลับถูกกรมส่งเสริมสหกรณ์กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงการคลังนำไปดำเนินการผิดวัตถุประสงค์นั้น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ขอชี้แจงดังนี้

      1.ประเด็นการใช้วิธีเล่นแร่แปรธาตุกับกองทุน TFF นำมาดำเนินการผิดวัตถุประสงค์ เป็นวิธีที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อนไม่โปร่งใส ขอชี้แจงว่า การนำกองทุน TFF มาดำเนินการผิดวัตถุประสงค์การจัดตั้ง ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากกองทุน TFF ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทน. 8/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการจัดตั้งและจัดการกองทุน TFF ลงวันที่ 27 เมษายน 2559 ซึ่งกองทุน TFF จะถูกกำกับให้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น การเปิดเผยข้อมูลและสามารถตรวจสอบได้ภายใต้หลักการการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด

      2. ประเด็นการนำโครงการรถไฟความเร็วสูงมาระดมทุนผ่านกองทุน TFF ขอชี้แจงว่า การจัดตั้งกองทุน TFF ไม่ได้นำโครงการรถไฟความเร็วสูงมาระดมทุนผ่านกองทุน TFF เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2560 เห็นชอบให้นำโครงการโครงสร้างพื้นฐานของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  2 โครงการมาระดมทุนผ่านกองทุน TFF ได้แก่ โครงการทางพิเศษฉลองรัช (รามอินทรา-อาจณรงค์) และโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี (บางนา-ชลบุรี) ซึ่ง กทพ.จะนำเงินที่ได้รับจากการระดมทุนไปลงทุนในโครงการทางพิเศษพระราม 3 – ดาวคะนอง – วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครด้านตะวันตก และโครงการทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือตอน N2 E-W Corridor ด้านตะวันออกเท่านั้น

     3.ประเด็นการให้ธนาคารรัฐ 3 แห่ง ปล่อยกู้ให้กับสหกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเจ้าหนี้สหกรณ์คลองจั่น 30,000 ล้านบาท ขอชี้แจงว่า กระทรวงการคลังไม่ได้มีนโยบายให้ธนาคารรัฐทั้ง 3 แห่ง ปล่อยกู้ให้แก่สหกรณ์ต่างๆ เพื่อนำเงินมาซื้อหน่วยลงทุนของกองทุน TFF ตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี หากสหกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนักลงทุนสถาบันจะพิจารณาลงทุนในกองทุน TFF จะต้องเป็นไปตามนโยบายการลงทุนของแต่ละแห่ง รวมทั้งจะต้องพิจารณาผลตอบแทนและความเสี่ยงของการลงทุนควบคู่กันไป ซึ่งเป็นอำนาจของสหกรณ์โดยแท้ในการส่งเสริมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมของบรรดาสมาชิกสหกรณ์

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!