WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เล็งชงคสช.ตั้งกรมขนส่งทางราง

    บ้านเมือง : นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ รองผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังการบรรยาย 'แผนการพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศไทย' ในการเสวนาเรื่อง พัฒนาระบบขนส่งรางของประเทศไทย ทำอย่างไร? ว่าการพัฒนาระบบรถไฟไทยต้องทำ 2 เรื่องควบคู่กันไป คือการฟื้นฟูกิจการรถไฟ และการจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ซึ่งกรมรางทำหน้าที่ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) รวมถึงกำกับดูแลมาตรฐานความปอดภัยและกำหนดอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม โดยจะต้องมีการออกพระราชบัญญัติจัดตั้งกรมขนส่งทางราง ซึ่งหากมีสภาปกติจะใช้เวลา 3-4 ปี แต่ปัจจุบันคาดว่าทางกระทรวงคมนาคมจะเร่งรัดนำเสนอแผนการจัดตั้งในปี 2558 และประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) และนำเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อเร่งรัดจะสามารถจัดตั้งได้ภายใน 2 ปี

   "กรมรางจะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟู รฟท. เนื่องจากจะแยกส่วนงานการลงทุนก่อสร้างออกมาให้กรมรางรับผิดชอบโดยใช้งบประมาณเหมือนกรมทางหลวงลงทุนก่อสร้างถนน ส่วนการกำกำกับดูแลความปลอดภัยและกำหนดค่าโดยสารจะเป็นบทบาทเช่นเดียวกับกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) โดย รฟท.ยังคงทำหน้าที่ในการเดินรถ รวมถึงเปิดให้เอกชนเข้ามาเช่ารางเพื่อเดินรถ" นายชัยวัฒน์ กล่าว

   สำหรับ การดำเนินโครงการรถไฟทางคู่นั้น สนข.จะรับผิดชอบการพัฒนาในระดับนโยบาย และการนำไปสู่การปฏิบัติ เพื่อนำเสนอขออนุมัติ คสช. โดยในระหว่างที่กรมรางยังจัดตั้งไม่แล้วเสร็จ จะให้ รฟท.ทำหน้าที่ก่อสร้างไปก่อนและในอนาคต จะมีการพัฒนาระบบรางในจังหวัดใหญ่ เช่น เชียงใหม่ ภูเก็ต โคราช สงขลา ซึ่งกรมรางจะเข้ามาทำหน้าที่ในการทำแผนและนำเสนอการลงทุน ส่วนการเดินรถจะให้องค์กรท้องถิ่นรับผิดชอบ ดังนั้นเมื่อจัดตั้งกรมรางแล้วเสร็จจะทำให้การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางเป็นรูปธรรมได้มากขึ้น ปัจจุบันปัญหาอุปสรรคของการขนส่งทางราง คือ ปัญหาการบริหารจัดการภายในของ รฟท.การขนส่งสินค้าไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากความไม่แน่นอนในการจัดส่งสินค้า ปัญหาความไม่สมบูรณ์ของโครงข่าย เป็นต้น

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!