WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอำนวย ปรมนวงศรฟท.ตั้งบริษัทลูกทำเงินบริหารจัดการที่ดิน 3.9 หมื่นไร่

      แนวหน้า : นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะทำงานกำกับติดตามการพัฒนาที่ดินไม่ได้ใช้เพื่อการเดินรถ (Non-Core)ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ร.ฟ.ท.มีแผนงานปรับโครงสร้างองค์กร โดยจะตั้งบริษัทลูก มาบริหารที่ดินที่ไม่ได้ใช้เดินรถและไม่เกิดประโยชน์ ทั้งหมด 3.9 หมื่นไร่ ซึ่งร.ฟ.ท.จะทำการถือหุ้นทั้ง 100%

     โดยในช่วงแรกร.ฟ.ท.จะต้องจ้างเอกชนที่มีความเชี่ยวชาญมาบริหารงานราว 5 ปี ซึ่งจะมีหน้าที่ทำงานแทนการรถไฟ และวางแผนทั้งการวางระบบราง รวมทั้งจัดทำร่างสัญญาทีโออาร์ คัดเลือกผู้เช่า และ เมื่อบริหารจนครบตามสัญญา 5 ปี จากนั้นจะให้บริษัทลูกที่จะจัดตั้งขึ้นมาบริหารงานต่อ เพื่อให้บริษัทลูกมีการเรียนรู้งานจาก ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้การบริหารงานไม่เกิดความผิดพลาด

      สำหรับ แผนการทำงานโรดแมป และแผนปฏิบัติการ หรือ Action Plan รวมถึงตัวชี้วัดการทำงาน (KPI) ทางการรถไฟได้เสนอให้คณะอนุกลั่นกรองของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาแล้ว โดยที่ดินทั้ง 3.9 หมื่นไร่ จะถูกแบ่งเป็น 3 แผนงาน คือ 1. ที่ดินไม่ได้จัดทำสัญญาทั้งแปลงใหญ่และแปลงเล็ก 2.ที่ดินมีสัญญาเช่า แต่มีปัญหาทั้งสัญญาเช่าหมดอายุ ระบบบัญชีไม่มีความสมบูรณ์ และ 3. การพัฒนาระบบใหม่โดยใช้ไอทีในการดำเนินงาน เช่น การจัดเก็บค่าเช่า ทดแทนเจ้าหน้าที่ในการเก็บ ลดทุจริตและข้อผิดพลาด

     นายอำนวยกล่าวว่ากรณีสัญญาเช่าที่หมดอายุมีอยู่ประมาณ 50% ของ 1.5 หมื่นสัญญา กว่า 2 หมื่นไร่ หรือราว 7,500 สัญญา ทั้งพื้นที่ที่เป็นเกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย จะต้องเร่งสรุปให้เสร็จภายในปีนี้ นอกจากนี้ยังเร่งให้การรถไฟ ทำแผนงานการบริหารที่ดินย่านมักกะสันให้เสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อเสนอที่ประชุม คนร.พิจารณาในเดือนมีนาคมนี้ โดยในแผนงานต้องมีทั้งแนวทางการหาผู้เช่า ทิศทางการเงิน โดยเฉพาะรายได้ที่ได้จากการบริหาร ต้องส่งให้กระทรวงการคลังทั้งหมดเพื่อชำระหนี้ และต้องศึกษาพื้นที่ทั้ง 497 ไร่ ว่าเหลือจำนวน แปลงเปล่าที่บริหารจริงเท่าไร เพราะบางส่วนจะต้องถูกทำเป็นพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ

     ขณะที่โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง รังสิต-บางซื่อ และ บางซื่อ- ตลิ่งชัน ที่ร.ฟ.ท.ต้องการนำไปบริหารและเดินรถเองทั้งหมดก็ต้องเสนอแผนมาให้ คนร.พิจารณาเช่นเดียวกัน เพราะที่ผ่านมาการรถไฟได้บริหารแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ ก็มีปัญหาขาดทุนซึ่งครั้งนี้ต้องมีเงื่อนไขระยะเวลาในการบริหาร และอาจต้องมีเงื่อนไขหากประสบปัญหาขาดทุนจะต้องยุติสัญญาในการบริหารเลยหรือไม่

      นายชาญวิทย์ นาคบุรี รองผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ต้องดูว่าแผนงานของ ร.ฟ.ท.จะมีแนวทางอย่างไรในการบริหารครั้งนี้ โดยเฉพาะที่ดินย่านมักกะสันว่ารายได้จากการบริหารจะมาใช้หนี้ทั้งหมด หรือใช้หนี้เฉพาะที่เกิดจากการบริหารงานของ ร.ฟ.ท. เพราะมีหนี้บางส่วนมีจากเงินกู้ ที่รัฐบาลต้องจัดสรรงบประมาณมาชดใช้ด้วย

     ส่วนที่ร.ฟ.ท.ขอตั้งบริษัทลูกเพื่อมา บริหารที่ดิน Non-Core นั้นต้องขอดูแผนงาน เพราะที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ เห็นชอบให้ร.ฟ.ท.จัดตั้ง 3 บริษัทขึ้นมาใหม่ เพื่อบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย 1 ในบริษัทที่ถูกจัดตั้งขึ้นใหม่จะมีบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย ซึ่งการที่จะจัดตั้ง บริษัทลูกเพื่อมาดู Non-Core อีก จะเป็นการจัดตั้งใหม่อีก 1 แห่ง หรือจะอยู่ในบริษัทบริหารสินทรัพย์ และแยกการบริหาร

    ก่อนหน้านี้ ครม.เห็นชอบให้ กระทรวงคมนาคมจัดทำแผนการขนส่งทางราง โดยจะมีแผนการจัดตั้งบริษัทใหม่ 3 แห่ง ของ ร.ฟ.ท. ประกอบด้วย บริษัทเดินรถ บริษัทซ่อมบำรุงรางและล้อเลื่อน บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อฟื้นฟูกิจการในการบริการ ด้านขนส่งและโดยสาร ซึ่งจะเป็นการแก้ปัญหาที่ทำให้ร.ฟ.ท.ขาดทุน โดยคาดว่าบริษัทบริหารสินทรัพย์จะถูกจัดตั้งใหม่ภายในปี 2563 ส่วนอีก 2 บริษัท จะถูกจัดตั้งขึ้นภายในปี 2567 เพราะต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับสหภาพแรงงานรถไฟฯ และพนักงาน ร.ฟ.ท.เพื่อชี้แจงให้เห็นข้อดี ข้อเสีย และเห็นชอบร่วมกัน

รฟท.'ตั้งบริษัทดูแลที่ดิน 5 ปีแรกจ้างเอกชนบริหาร

     ไทยโพสต์ * รฟท. จ่อตั้งบริษัทลูกบริหารที่ดินไม่ได้ใช้ประโยชน์ 3.9 หมื่นไร่ แจงถือหุ้นเองเต็ม 100% เล็งจ้างเอกชนบริหารก่อน 5 ปี

       นายอำนวย ปรีมนวงศ์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะทำงานกำกับติดตามการพัฒนาที่ดินไม่ได้ใช้ เพื่อการเดินรถ (Non-Core) ของ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ทาง รฟท.มีแผนงานที่จะบริหารจัดการปรับโครงสร้าง องค์กร โดยจะตั้งบริษัทลูก มา บริหารที่ดินที่ไม่ได้ใช้เดินรถและ ไม่เกิดประโยชน์ ทั้งหมด 3.9 หมื่นไร่ ซึ่ง รฟท.จะถือหุ้นทั้ง หมด 100%

     ทั้งนี้ รฟท.จะต้องจ้างเอกชน ที่มีความเชี่ยวชาญมาบริหารงานไปก่อนในช่วงแรกราว 5 ปี ซึ่งจะมีหน้าที่ทำงานแทน รฟท. และวางแผนในระยะแรก ทั้งการวางระบบราง จัดทำร่างสัญญา TOR, คัดเลือกผู้เช่า และเมื่อบริหารจนจบตามสัญญา 5 ปี หลังจากนั้นจะให้บริษัทลูกที่จะจัดตั้งขึ้นมาบริหารงานต่อไป เพื่อให้บริษัทลูกมีการเรียนรู้งานจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งจะทำให้การบริหารงานไม่เกิดความผิดพลาด

     สำหรับ  แผนการทำงานโรดแมป และแผนปฏิบัติการ (Action Plan) รวมถึงตัวชี้วัดการทำงาน (KPI) ทาง รฟท. ได้เสนอให้คณะอนุกรรมการกลั่นกรองของคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) พิจารณาแล้ว โดยที่ดินทั้ง 3.9 หมื่นไร่ จะถูกแบ่งเป็น 3 แผนงาน คือ 1.ที่ดิน ไม่ได้จัดทำสัญญาทั้งแปลงใหญ่ และแปลงเล็ก 2.ที่ดินมีสัญญา เช่า แต่มีปัญหาทั้งสัญญาเช่าหมดอายุ ระบบบัญชีไม่มีความสม บูรณ์ และ 3.การพัฒนาระบบ ใหม่โดยใช้ไอทีในการดำเนินงาน เช่น การจัดเก็บค่าเช่า ทดแทนเจ้าหน้าที่ในการเก็บ ลดทุจริตและข้อผิดพลาด

    นอกจากนี้ ยังเร่งให้ รฟท. ทำแผนงานการบริหารที่ดินย่านมักกะสันให้เสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ เพื่อเสนอที่ประชุม คนร.พิจารณาในเดือน มี.ค.2560 โดยในแผนงานจะต้องมีทั้งแนวทางการหาผู้เช่า ทิศทางการเงินโดยเฉพาะรายได้ที่ได้จากการบริหาร ต้องส่งให้กระทรวงการคลังทั้งหมดเพื่อชำระหนี้ และต้องศึกษาพื้นที่ทั้ง 497 ไร่ ว่าเหลือจำนวนแปลงเปล่าที่บริหารจริงเท่าไร เพราะบางส่วนจะต้องถูกทำเป็นพื้นที่สีเขียว สวนสาธารณะ ขณะที่โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง รังสิต-บางซื่อ และบางซื่อ-ตลิ่งชัน ที่ รฟท.มีความต้องการจะนำไปบริหารและเดินรถเองทั้งหมด ก็ต้องเสนอแผนมาให้ คนร.พิจารณาเช่นเดียวกัน.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!