- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Sunday, 08 January 2017 11:56
- Hits: 13633
ทุ่ม 3.6 หมื่นล.พัฒนาสนามบินดันไทยเป็นฮับ'เอเชียแปซิฟิก'
ไทยโพสต์ : ลุมพินี * คมนาคมทุ่มงบกว่า 3.6 หมื่นล้านบาท พัฒนาสนามบินภูมิภาค รองรับผู้โดยสารและอากาศยานขนาดใหญ่ในอนาคต พร้อมดันไทยเป็นฮับเอ เชียแปซิฟิก
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า แผนพัฒนาท่าอากาศยานใน สังกัด กรมท่าอากาศยาน หรือ ทย. ช่วง 10 ปี (ปี 60-69) จะใช้งบลงทุนมูลค่า 36,349.24 ล้านบาท เพื่อพัฒนาท่าอากาศ ยานในภูมิภาคให้สามารถรอง รับผู้โดยสารได้ 58 ล้านคนใน ปี 2568 และพัฒนาท่าอากาศ ยาน 5 แห่งให้รองรับอากาศ ยานขนาดใหญ่ได้ ประกอบด้วย ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช, ตรัง, ลำปาง, แม่สอด และหัวหิน
นอกจากยังจะเพิ่มปริมาณหลุมจอดรถ เพื่อรองรับอากาศยานเที่ยวบินประจำและไม่ประจำการ ให้บริการจอดค้างคืน ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสในการเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัย และความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
นายอาคมกล่าวว่า ทย.ร่วมมือกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT ในการเตรียมรับการตรวจสอบ ตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลด้านการรักษาความปลอดภัย (Universal Security Audit Programme:USAP)
โดยจะทำการตรวจสอบท่าอากาศยานในสังกัด 3 แห่ง คือท่าอากาศยานกระบี่, สุราษฎร์ธานี และอุดรธานี เพื่อให้มั่นใจว่าท่าอากาศยานทั้ง 3 แห่ง ได้มีการนำมาตรการรักษาความปลอดภัยไปปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ (NCASP) กำหนด และในปี 69 CAATจะได้ทำการตรวจสอบ สนามบินเพิ่มเติมอีก 4 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานขอนแก่น, นครศรี ธรรมราช, ตรัง และอุบลราชธานี.
คมนาคมทุ่มงบกว่า 3.6 หมื่น ลบ.พัฒนาสนามบินภูมิภาคหนุนไทยเป็นฮับเอเชียแปซิฟิค
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า แผนพัฒนาท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน ช่วง 10 ปี (ปี 60-69) จะใช้งบลงทุนมูลค่า 36,349.24 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้กรมท่าอากาศยานมีขีดความสามารถในการรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ประมาณ 58 ล้านคนในปี 68 และเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ได้เพิ่มขึ้น 5 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช, ท่าอากาศยานตรัง, ท่าอากาศยานลำปาง, ท่าอากาศยานแม่สอด และท่าอากาศยานหัวหิน
รวมทั้งเพิ่มปริมาณหลุมจอดรถเพื่อรองรับอากาศยานเที่ยวบินประจำและไม่ประจำ การให้บริการจอดค้างคืน ทั้งนี้ เพื่อสร้างโอกาสในการเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานด้านการรักษาความปลอดภัย และความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานองค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO)
สำหรับ แผน 10 ปีดังกล่าว จะแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเป็นแผนพัฒนาท่าอากาศยาน 5 ปี ระยะที่ 1 ปี 60-64 วงเงิน 23,956.29 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานกระบี่, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ระยะที่ 1, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานขอนแก่น, โครงการแก้ไขข้อบกพร่องด้านรักษาความปลอดภัย, โครงการจัดหารถดับเพลิง, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง ระยะที่ 1 และโครงการพัฒนาท่าอากาศยานนราธิวาส
ส่วนการพัฒนาระยะที่ 2 ปี 65-69 วงเงิน 12,392.95 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานตรัง ระยะที่ 2, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอุบลราชธานี, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานอุดรธานี ระยะที่ 3, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานร้อยเอ็ด, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานลำปาง (ส่วนทางวิ่ง), โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสกลนคร, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเลย และโครงการปรับปรุงความก้าวทางวิ่งและลานจอดเครื่องบินท่าอากาศยานหัวหิน
รมว.คมนาคม กล่าวว่า กรมท่าอากาศยาน ร่วมมือกับสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) หรือ CAAT ในการเตรียมรับการตรวจสอบตามโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลด้านการรักษาความปลอดภัย (Universal Security Audit Programme:USAP) โดยกรมท่าอากาศยานได้รับการตรวจสอบมาตรฐานการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัยจาก CAAT ซึ่งได้ตรวจสอบสนามบินในสังกัดกรมท่าอากาศยาน 3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานกระบี่, ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี และท่าอากาศยานอุดรธานี เพื่อให้มั่นใจว่าสนามบินทั้ง 3 แห่ง ได้มีการนำมาตรการรักษาความปลอดภัยไปปฏิบัติตามแผนรักษาความปลอดภัยการบินพลเรือนแห่งชาติ (NCASP) กำหนด และในปี 69 CAATจะได้ทำการตรวจสอบสนามบินเพิ่มเติมอีก 4 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานขอนแก่น, ท่าอากาศยานนครศรีธรรมราช, ท่าอากาศยานตรัง และท่าอากาศยานอุบลราชธานี
อินโฟเควสท์