WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

BMCL4-8

รฟม.เผยโฉมรถไฟฟ้าต้นแบบสายสีม่วง ย้ำเปิดบริการก่อนกำหนด

   การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)และบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) ชี้แจงความคืบหน้างานระบบรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ  ช่วงบางใหญ่ -เตาปูน (สัญญา 4) ภายใต้ความร่วมมือที่สอดประสานเป็นหนึ่งเดียว พร้อมเผยแบบตู้รถไฟฟ้าต้นแบบสายสีม่วง โดยคาดจะเริ่มทยอยรับรถและร่วมทดสอบระบบและการเดินรถได้ภายในสิ้นปี 2558 และคาดว่าจะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้หลังกลางปี 2559

    Yongsitโรจนศรกลนายยงสิทธิ์ โรจน์ศรีกุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า “ขณะนี้ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ ช่วงบางใหญ่-เตาปูน ซึ่งประกอบด้วยสถานี 16 แห่ง ระยะทาง 23 กิโลเมตร มีความคืบหน้าตามแผนอย่างต่อเนื่อง ทั้งงานก่อสร้าง งานระบบราง งานระบบไฟฟ้าเครื่องกล งานบางส่วนสามารถดำเนินการเสร็จสิ้นได้เร็วกว่าแผนที่กำหนด และเมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการ  รฟม. ได้เดินทางไปตรวจความพร้อมและความคืบหน้าการผลิตขบวนรถไฟฟ้า การทำงานของบริษัท Marubeni-Toshiba Joint Venture บริษัท J-TREC รวมทั้งศูนย์ซ่อมบำรุงของบริษัท JR-East ที่ประเทศญี่ปุ่น โดยบริษัท J-TREC เป็นบริษัทหลักในการผลิตขบวนรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือนี้ จากความคืบหน้าดังกล่าว เราจึงมีความมั่นใจว่าจะสามารถเร่งรัดเปิดทดสอบเดินรถได้ปลายปี 2558 และเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้เร็วกว่าแผนหลังกลางปี 2559

     โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ เป็นอีกย่างก้าวที่สำคัญของ รฟม. เพราะเป็นรถไฟฟ้าสายแรกที่เปิดบริการไปสู่เขตปริมณฑล เพิ่มความสามารถในการขนส่งผู้โดยสาร เชื่อมโยงกรุงเทพมหานครและนนทบุรี ให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการเดินทางไป-กลับ ช่วยลดปัญหาจราจรติดขัด ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มความเชื่อมั่นในด้านการลงทุนในประเทศอีกด้วย

     ดร.สมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL เปิดเผยว่า “BMCL ได้รับสัมปทานสัญญา 4 จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2556 ให้เป็นผู้ลงทุน จัดหาระบบรถไฟฟ้า ให้บริการการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษารถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือ ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี แบ่งเป็นการดำเนินงานระยะที่ 1 คือ จัดหาและติดตั้ง ทดสอบระบบรถไฟฟ้ามีกำหนดแล้วเสร็จสิ้นปี 2559 และงานระยะที่ 2 เป็นการเดินรถและซ่อมบำรุงไปจนจบอายุสัญญาสัมปทาน ปี 2586”

    ในการดำเนินโครงการระยะที่ 1 BMCL ได้มอบหมายให้กลุ่มกิจการร่วมค้า มารุเบนิ-โตชิบา (Marubeni-Toshiba JV) ซึ่งเป็นบริษัทรายใหญ่ระดับต้นๆ ของโลก เป็นผู้ดำเนินการงานระบบรถไฟฟ้า ประกอบด้วยการจัดหาขบวนรถไฟฟ้า ระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบควบคุมและระบบติดต่อสื่อสาร และให้บริษัท เจแปน ทรานส์ปอร์ต เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (J-TREC) เป็นผู้ผลิตขบวนรถไฟฟ้า โดย J-TREC เป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าความเร็วสูงอันดับหนึ่งของญี่ปุ่นมีประสบการณ์ในการผลิตขบวนรถไฟ รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง มากว่า 66 ปี และเป็นสมาชิกของกลุ่มบริษัท อีสต์ เจแปน เรลเวย์ จำกัด (JR East) บริษัทผู้ให้บริการรถไฟ รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการออกแบบขั้นสุดท้ายเพื่อเตรียมเริ่มผลิต ขบวนรถไฟฟ้ารวมจำนวน 63 ตู้ ติดตั้งระบบจ่ายไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาน โรงเก็บขบวนรถไฟฟ้า และสถานี 16 แห่ง ในระยะทาง 23 กิโลเมตร โดยจะเร่งรัดให้การติดตั้งทดสอบรวมระบบ และทดลองเดินรถเสมือนจริงตั้งแต่ปลายปี 2558 ก่อนจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนให้เร็วกว่ากำหนดหลังกลางปี 2559  

    ในขณะเดียวกัน BMCL เตรียมทีมงานด้านการเดินรถและซ่อมบำรุง และจะทดลองเดินรถเสมือนจริงจนผ่านการทดสอบว่าได้มาตรฐานก่อนเปิดให้บริการแก่ประชาชน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของงานระยะที่ 2 ของสัญญาสัมปทาน ภายใต้การบริหารงานเดินรถอย่างมืออาชีพจากประสบการณ์สายสีน้ำเงินตะวันออก (สายเฉลิมรัชมงคล) กว่าสิบปีที่ผ่านมา

    ดร.สมบัติกล่าวเพิมเติมว่า “โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของบริษัทฯ ที่จะสร้างการเติบโตและความแข็งแกร่งอย่างมาก เพราะจะทำให้บริษัทฯ มีรายได้มากขึ้นเมื่อเปิดให้บริการ ทั้งรายได้จากการเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือและรายได้ค่าโดยสารจากจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นจากรถไฟฟ้าสายสีม่วงเหนือมายังสายสีน้ำเงินตะวันออก (สายเฉลิมรัชมงคล)”

ข้อมูลทั่วไป

Japan Transport Engineering Company (J-TREC)

ชื่อ                    :Japan Transport Engineering Company (J-TREC)

สถานที่ตั้ง         : โยโกฮามา (สำนักงานใหญ่และโรงงาน)

                           นัตซึ & วากายามา (โรงงาน)

                                       โตเกียว & โอซากา (สำนักงาน)

วันก่อตั้ง           : 2 เมษายน 2555

ทุนจดทะเบียน : 3.1 พันล้านเย็น

ประธานบริษัท   : นาโอโตะ มิยาชิตะ (Naoto Miyashita)

จำนวนพนักงาน: ประมาณ 1,200 คน

ผลิตภัณฑ์หลัก   :Rolling Stock, Track Turnouts และตู้บรรจุรางรถไฟ และการออกแบบและผลิตรถไฟ

    หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของลูกค้า ได้แก่ รถไฟฟ้ารถไฟชินคันเซ็น ฯลฯ

เหตุการณ์สำคัญ:

  • ก่อตั้งในปี 2491 ภายใต้ชื่อบริษัท TOKYO Car Corporation (TCC)
  • เป็นผู้ผลิตรถไฟทำจากสแตนเลสสตีล (Stainless Steel) เป็นรายแรกในปี 2505
  • เป็นผู้ผลิตรถไฟมากว่า 21,000 ตู้
  • เป็นผู้ผลิตรถไฟที่ทำจากสแตนเลสสตีลมากว่า 12,000 ตู้
  • เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น J-TREC ในปี 2555
  • Yokohama ขนาดพื้นที่ 285,000 ตารางเมตร จำนวนพนักงาน 900 คน กำลังการผลิตรถ 720 คันต่อปี รวมมีจำนวนรถไฟที่ผลิตมาทั้งหมด 17,000 คัน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557
  • Niitsu ขนาดพื้นที่ 150,000 ตารางเมตร จำนวนพนักงาน 230 คน ผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ พาหนะสำหรับรางรถไฟ กำลังการผลิต 250 คันต่อไป รวมมีจำนวนรถไฟที่ผลิตมาทั้งหมด 4,293 คัน นับตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2557
  • Wakayama ขนาดพื้นที่ 99,000 ตารางเมตร จำนวนพนักงาน 100 คน ผลิตภัณฑ์หลักได้แก่รางรถไฟและตู้บรรจุรางรถไฟ กำลังการผลิตตู้ 7,200 ตู้ต่อปี และกำลังการผลิตชิ้นส่วนรางรถไฟ 240 ต่อปี

โรงงาน

ผลงานที่ผ่านมา

  • ผลิตรถไฟฟ้าแก่รถไฟฟ้าสายสีม่วง ประเทศไทย ประกอบด้วยรถ 21 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการออกแบบ โดยบริษัทจะรับผิดชอบบำรุงรักษาเป็นเวลา 10 ปี
  • ตกแต่งและปรับโฉมรถไฟฟ้าในเมืองเคียฟ ประเทศยูเครน ออกแบบอุปกรณ์ให้ดูทันสมัยและฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติงาน
  • ตกแต่งและปรับโฉมรถไฟฟ้าให้แก่ประเทศสิงคโปร์ ออกแบบอุปกรณ์ให้ดูทันสมัยและฝึกอบรมพนักงานปฏิบัติงาน
  • ผลิตรถไฟให้แก่ไอริช การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟแห่งฟิลิปปินส์ การรถไฟขนส่งมวลชนสิงคโปร์ การรถไฟแห่งอินโอนีเซีย การรถไฟแห่งไนจีเรีย การรถไฟแห่งไต้หวัน รถไฟกรุงปักกิ่ง รถไฟกรุงเทียนจิน ประเทศจีน รถไฟเมืองลองไอส์แลนด์ ไนแองการ่า ซานฟานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาและการรถไฟอาเจนตินา

ส่วนประชาสัมพันธ์ Public Relations Department

บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้า MRT

189 ถนนพระราม 9 แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 Tel. 0-2354-2000 ext.3265 Fax. 0-2354-2000 ext.3264 www.bangkokmetro.co.th

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!