- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Sunday, 13 November 2016 13:51
- Hits: 16444
คมนาคมรุกคืบสร้างทางพิเศษศรีรัช-วงแหวน
ไทยโพสต์ : คมนาคม * นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็น ประธานเปิดการสัมมนารับฟัง ความคิดเห็น โครงการศึกษา ความเหมาะสมโครงการก่อสร้าง ทางพิเศษ ศรีรัช-วงแหวนรอบ นอกกรุงเทพมหานคร ว่า โครง การดังกล่าวเป็นการดำเนินตามแผนหลักการพัฒนาระบบขนส่งและจราจร พ.ศ.2554-2563 ซึ่งกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางและการขนส่ง
โดยงบประมาณในการลงทุนประมาณ 7,200 ล้านบาท ซึ่งจากการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ พบว่าจะให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง 30% โดยจากผลการศึกษา ประเมินว่าจะมีผู้มาใช้บริการ 64,000 คันต่อวัน และจะเติบโตเป็น 80,000 คันต่อวันในปีต่อไป
สำหรับ รูปแบบทางเลือกในการดำเนินโครงการ จะมี 2 แนวทาง คือ การเจรจากับผู้รับสัมปทานรายเดิม และการเปิดประมูลโครงการหาผู้ลงทุนรายใหม่ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ พ.ร.บ.ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะรวบรวมข้อมูล กรอบแนวคิด เสนอมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในต้นเดือน ธ.ค.นี้ โดยจะเร่งรัดสรรหาเอกชนเข้ามาลงทุน และให้เริ่มก่อสร้างในปี 2560 หรือต้นปี 2561 คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 2563.
คมนาคม ได้ข้อสรุปเปิดเอกชนดำเนินการสร้างทางเชื่อมอุตราภิมุข-ศรีรัช
แนวหน้า : นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความ คิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการก่อสร้างโครงข่ายทางเชื่อมระหว่างทางยกระดับ อุตราภิมุข และทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ว่า การสัมมนาครั้งนี้เป็นการสรุปภาพรวมของโครงการที่ผ่านมา ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนจะเป็นประโยชน์ต่อผลการประกอบการศึกษาโครงการ โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จะรวบรวมข้อมูล กรอบแนวคิด เสนอมายังกระทรวงคมนาคมพิจารณาให้ความเห็นชอบภายในต้นเดือนธันวาคม 2559 นี้ เพื่อหาผู้รับผิดชอบโครงการ
ทั้งนี้ ผลการศึกษามีข้อสรุปว่า ควรให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมดำเนินการ โดยรูปแบบทางเลือก 2 แนวทาง ได้แก่ การเปิด ประมูลโครงการหาผู้ลงทุนรายใหม่ ที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของพ.ร.บ.ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 และการเจรจากับผู้รับสัมปทานราย 2 รายเดิม คือ การทางพิเศษแห่ง ประเทศไทย (กทพ.) และกรมทางหลวง (ทล.) ที่หลังจากนั้น จะเสนอไปยังคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) และนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบาย การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP) พิจารณาในเดือนธันวาคม 2559
โดยจากการศึกษาและวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการ พบว่าจะให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงประมาณ 30% ในส่วนของผู้ใช้บริการคาดว่าจะมีประมาณ 64,000 คันต่อวัน และจะเติบโตเป็น 80,000 คันต่อวัน ในปีต่อไป ซึ่งงบประมาณในการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 7,200 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จะเร่งรัดสรรหาเอกชนเข้ามาลงทุน และเร่งรัดให้เริ่มดำเนินการก่อสร้างให้ได้ในปี 2560 หรือต้นปี 2561 เพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า และให้ทันต่อการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ซึ่งหากได้เอกชนเข้ามาดำเนินการ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ภายในปี 2563