WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ท่าเรือแหลมฉบังตอกย้ำความเป็นผู้นำจัดงาน ASEAN Port Symposium 2014 เตรียมความพร้อมสู่ AEC

     ท่าเรือแหลมฉบังรวมพลระดับผู้นำท่าเรืออาเซียนร่วมงาน ASEAN Port Symposium 2014 เตรียมความพร้อมสู่ AEC พร้อมพัฒนาศักยภาพการแข่งขันสู่ระดับสากล

    เรือเอกสุทธินันท์ หัตถวงษ์ ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง เปิดเผยว่า เนื่องด้วยท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือน้ำลึกเพื่อการพาณิชย์ในระดับสากลมีบทบาทในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศภายใต้การกำกับดูแลของการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยท่าเรือแหลมฉบังเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการลงทุนพัฒนาบริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ ตลอดระยะเวลา 23 ปีที่ผ่านมา ท่าเรือแหลมฉบังได้ดำเนินกิจการที่ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้แก่ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ในโอกาสที่ประเทศไทย และประเทศสมาชิกอื่นๆรวม 10 ประเทศ กำลังจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Asean Economics Commmunity – AEC ) นั้น ท่าเรือแหลมฉบังมีแนวคิดที่จะสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาสัมพันธภาพ เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจของท่าเรือต่าง ๆ ในกลุ่มประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ท่าเรือแหลมฉบัง จึงได้จัดให้มีงานสัมมนาท่าเรืออาเซียนขึ้น ภายใต้ชื่องาน “ASEAN PORT SYMPOSIUM 2014” โดยมีผู้บริหารท่าเทียบเรือในกลุ่มประเทศซึ่งมีประเทศสมาชิกรวมทั้งสิ้น 10 ประเทศ ประกอบด้วย ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า

    นอกจากนี้ ยังมี ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือเอกชน ผู้บริหารการท่าเรือแห่งประเทศไทย และท่าเรือแหลมฉบังรวมถึงหน่วยงานภาครัฐในประเทศไทย เป้าหมายการจัดงาน “ASEAN PORT SYMPOSIUM 2014” ในครั้งนี้จึงเป็นการรวมตัวกันครั้งสำคัญของระดับผู้นำของท่าเรือในภูมิภาคเพื่อร่วมหาแนวทางในการบูรณาการการขนส่งทางทะเลของอาเซียนเพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขันทางการค้าระดับโลก และเป็นนิมิตหมายอันดีในการร่วมกำหนดทิศทางและนโยบายในการพัฒนาระบบการขนส่งทางทะเลในระดับภูมิภาค เพื่อการพัฒนาระบบการขนส่งทางทะเลในประเทศรองรับการเข้าสู่ AEC และสร้างศักยภาพการแข่งขันในระดับสากล"

คมนาคม มีมติแก้สัญญาสัมปทานบริหารแหลมฉบัง หลังเอกชนขอปรับแผน

     นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในการประชุมเพื่อหามาตรการให้ความช่วยเหลือบริษัท ฮัทชิสัน แหลมฉบัง เทอร์มินอล จำกัด ในการให้บริการที่ท่าเรือแหลมฉบังว่า ที่ประชุมฯ ได้หารือถึงการดำเนินงานตามสัญญาลงทุนก่อสร้าง บริหาร และประกอบการท่าเทียบเรือ A3, C1, C2, D1,D2 และ D3 ของบริษัทฮัทชิสันฯ กับการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.)

    โดย กทท.ได้เสนอแผนการก่อสร้างและจัดหาเครื่องมือยกขนตู้สินค้าที่ปรับปรุงใหม่ ซึ่งจะต้องพิจารณาแก้ไขสัญญาสัมปทานเดิม โดยปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 (พ.ร.บ.ฉบับใหม่) ซึ่งที่ประชุมเห็นชอบให้ยกเลิกการดำเนินการตามขั้นตอนใน พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2535 เดิม และให้ใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 แทน ซึ่งจะมีการพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลตามมาตรา 43 เพื่อดำเนินการแก้ไขสัญญาตามาตรา 47 โดยให้กทท.ไปดำเนินการตามขั้นตอนในพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ใหม่

    ทั้งนี้ ตามสัญญาให้บริษัทฮัทชิสันฯเป็นผู้ประกอบการท่าเทียบเรือ A3, C1, C2, D1,D2 และ D3 ระยะเวลา 30 ปี ตั้งแต่ 1 พย.47-31 ต.ค.77 โดยมีเงื่อนไขให้บริษัทฯ ดำเนินการก่อสร้างท่าเรือชุด D (D1,D2, D3) ความยาวรวม 1,700 เมตร เมื่อปริมาณตู้สินค้าผ่านท่า A3, C1, C2 มากกว่า 75% ของขีดความสามารถในการขนถ่ายตู้สินค้า (4 แสนทีอียู,1.4 ล้านทีอียูและ1 ล้านทีอียูต่อปี) แต่ไม่เกิน 7 ปี นับจากสัญญามีผล หรือแล้วเสร็จในปี 2554 ซึ่งบริษัทฯได้เสนอขอปรับแผนการก่อสร้างท่าเทียบเรือชุด D โดยทยอยก่อสร้างใน 5 ปี (ปี 59 สร้าง 300 เมตร ปี 61 และ 62 สร้างปีละ 400 เมตร ปี 63 และ 64 สร้างอีกปีละ 300 เมตร) และปรับแผนจัดหาเครื่องมือยกขนตู้สินค้า(เครน) เป็นทยอยการติดตั้งให้สอดคล้องกับการก่อสร้างท่าเรือชุด D โดยยังคงชำระผลประโยชน์ตอบแทนให้กทท.ตามสัญญาเดิมทุกประการ

            อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!