- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Tuesday, 22 July 2014 17:23
- Hits: 3626
บขส.-ขสมก.ย้ายพ้นจตุจักรปี’60 คืนพื้นที่สร้างรถไฟสายสีแดง
แนวหน้า : คมนาคมเรียกการรถไฟ บขส. และขสมก. หารือกำหนดกรอบเวลาย้ายออกจากพื้นที่รถไฟ สรุปเบื้องต้นต้องจบภายในปี’60 พร้อมมอบหมายให้ สนข. ทำแผนรับมือในช่วงย้ายป้องกันปัญหารถติด
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะรมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดสรรพื้นที่บริเวณย่านพหลโยธินว่าได้มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.)และบริษัทขนส่ง จำกัด(บขส.) เร่งจัดทำกรอบระยะเวลาของการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร) และสรุปแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินของการรถไฟฯ ในพื้นที่บริเวณย่านพหลโยธิน เพื่อรายงานในการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการการใช้พื้นที่ย่านพหลโยธินของร.ฟ.ท.ต่อไป
ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการจราจรเมื่อมีการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ด้วยเพื่อป้องกันปัญหาการจราจรที่จะเกิดขึ้นช่วงคืนพื้นที่ให้การรถไฟฯ พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก แก้ปัญหาที่เกิดในช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก
“ข้อสรุปเบื้องต้นบขส. และ ขสมก. จะทยอยย้ายออกจากพื้นที่เดิม โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ของ ร.ฟ.ท. ซึ่งคาดว่าจะย้ายออกทั้งหมดไม่เกินปี 2560”นางสร้อยทิพย์กล่าว
สำหรับ พื้นที่ดังกล่าวเป็นของการรถไฟฯ ที่ใช้ก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งขณะนี้บขส.และขสมก.เป็นผู้เช่าจำนวน 100 ไร่ แบ่งเป็นขสมก. 25 ไร่ และ บขส. 75 ไร่ ส่วนความคืบหน้าของการดำเนินงานสถานีกลางบางซื่อ ขณะนี้เรื่องอยู่ที่กระทรวงคมนาคมและเตรียมนำเสนอคณะรักษาความสงบ แห่งชาติ(คสช.) เพื่อพิจารณาต่อไป
นายภากร ตั้งเจตสกาว รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่าการกำหนดกรอบเวลาการย้ายออกจากพื้นที่ดังกล่าว เป็นไปตามกรอบระยะเวลาของแผนการ ก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงที่จะแล้วเสร็จในปี 2560 เบื้องต้นการรถไฟฯได้มอบพื้นที่ให้ ขสมก. 9 ไร่ บริเวณพื้นที่ใต้ทางด่วนเพื่อสร้างสถานีรับส่งผู้โดยสาร และอีก 3.5 ไร่ เพื่อใช้เป็นสถานีเติมแก๊ส
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)กล่าวว่าบขส. อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะย้ายไปที่ใด โดยได้ศึกษาทำเลพื้นที่ไว้แล้วตั้งแต่ปี 2555 มี ทั้งหมด 4 แห่งได้แก่ พื้นที่เมืองทองธานี, รังสิต, และบริเวณดอนเมืองทั้ง 2 ฝั่งซ้าย-ขวา ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคสช.ว่าจะอนุมัติให้ใช้พื้นที่ใด
คมนาคมย้ายหมอชิตพ้นพื้นที่รถไฟ
ไทยโพสต์ : ราชดำเนิน * สร้อยทิพย์สั่งย้าย บขส.และ ขสมก.ออกจากพื้นที่ก่อ สร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดงให้แล้วเสร็จก่อนปี 2560 เล็งใช้ 4 พื้นที่ เมืองทองธานี, รังสิต และบริเวณดอนเมืองทั้ง 2 ฝั่ง มั่น ใจไม่กระทบแผนก่อสร้าง
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดสรรพื้นที่บริเวณย่านพหลโยธิน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ว่า ได้มอบหมายให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และ ร.ฟ.ท. เร่งจัดทำกรอบเวลาในการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ จตุจักร (หมอชิต) รวมทั้งสรุปแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินของ ร.ฟ.ท. ในพื้นที่บริเวณย่านถนนพหลโยธิน พร้อมทั้งแผนการย้ายออกให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งปัจจุบัน บขส. เช่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ 75 ไร่ และ ขสมก. 25 ไร่
"ได้สั่งการให้ สนข.จัดทำแผนเตรียมความพร้อม สำหรับการจราจร เมื่อมีการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ (จตุจักร) ด้วย เพื่อป้องกันปัญหาการจราจร ที่จะเกิดขึ้นในช่วงคืนพื้นที่ให้กับการรถไฟ พร้อมทั้งได้มอบหมายให้กรมการขนส่งทางบก แก้วิกฤติและปัญหาที่จะเกิดในช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นจำนวนมาก เบื้องต้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.และเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล จัดระเบียบพื้นที่การจราจรโดยรอบใหม่
นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้ข้อสรุป ให้ บขส. และ ขสมก. จะทยอยออกจากพื้นที่เดิม โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับแผน การก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชาน เมือง (สายสีแดง) ของ ร.ฟ.ท. ซึ่งคาดว่าจะย้ายออกทั้งหมดไม่เกินปี 2560 ทั้งนี้เชื่อว่า แม้การย้ายจะล่าช้ากว่ากำหนด แต่จะไม่กระทบกับสัญญาการก่อสร้างอย่างแน่นอน เพื่อไม่ให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการก่อสร้างที่ล่าช้ากว่ากำหนด
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส. กล่าวว่า ในส่วนของ บขส.ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าจะย้ายไปที่ใด เบื้องต้น ได้มีการศึกษาพื้นที่ไว้ทั้งหมด ได้แก่ พื้นที่เมืองทองธานี, รังสิต และบริเวณดอนเมืองทั้ง 2 ฝั่ง แต่ต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช.ว่าจะอนุมัติให้ใช้พื้นที่ใด.
คมนาคม เลื่อนย้ายหมอชิต-อู่ขสมก.เป็นปี 60 ควบคู่การก่อสร้างรถไฟสายสีแดง
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดสรรพื้นที่บริเวณย่านพหลโยธินว่า ได้หารือร่วมกับ 3 หน่วยงาน คือ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยได้มอบให้ทั้ง 3 หน่วยงานเร่งจัดทำกรอบเวลาการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร) หรือหมอชิตพื้นที่ 75 ไร่ และอู่จอดรถของ ขสมก.พื้นที่ 25 ไร่ เพื่อก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตของ ร.ฟ.ท.และรายงานในการประชุมคณะกรรมการพิจารณาพื้นที่อีกครั้งเพื่อสรุปรายละเอียด
พร้อมกันนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) จัดทำแผนเตรียมความพร้อมสำหรับการจราจรเมื่อมีการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ ออกไป
ทั้งนี้ ตามแผนเดิม บขส.และขสมก.จะทยอยออกจากพื้นที่แล้วเสร็จในปี 58 เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการก่อสร้างระบบรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตของ ร.ฟ.ท. แต่ล่าสุดคาดว่าทั้ง บขส.และ ขสมก.จะทยอยออกจากพื้นที่ทั้งหมดได้ภายในปี 60 คาดว่า ขสมก.จะย้ายไปอยู่ใต้ทางด่วนโดยจะก่อสร้างทั้งอู่จอดรถพื้นที่ 9 ไร่ และอู่สำหรับเติมก๊าซ NGV พื้นที่ 3.5 ไร่ ส่วน บขส.นั้นอยู่ระหว่างสรุปแผนที่จะย้ายสถานีขนส่งไปอยู่ที่ใหม่
“ได้มอบหมายให้ 3 หน่วยงาน เร่งสรุปกรอบระยะเวลาการย้ายออกจากพื้นที่ ซึ่งจะเป็นลักษณะการทยอยย้ายออกควบคู่กับการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ซึ่งสัญญาก่อสร้างสายสีแดงจะแล้วเสร็จในปี 60 โดยคาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการก่อสร้าง ส่วนแผนการปรับแบบสถานีกลางบางซื่อนั้นขณะนี้ได้จัดทำแผนเสร็จแล้ว พร้อมจะเสนอต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) พิจารณา"นางสร้อยทิพย์ กล่าว
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บขส.กล่าวถึงแผนการย้ายสถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ(จตุจักร) ว่า ที่ผ่านมา บขส.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาทำการศึกษาความเหมาะสมของพื้นที่จะทำการย้ายสถานีขนส่งโดยมี 4 จุด ประกอบด้วย บริเวณเมืองทองธานี ,บริเวณรังสิต และบริเวณดอนเมืองฝั่งซ้าย และฝั่งขวา โดยแผนดังกล่าวได้จัดทำแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 55 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเสนอ คสช.พิจารณา หากอนุมัติบขส.ก็พร้อมที่จะดำเนินการทันที
อินโฟเควสท์