- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Friday, 20 May 2016 18:12
- Hits: 4415
รฟม.คาดได้ข้อสรุปผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายปลายพ.ค.-ต้นมิ.ย.นี้ หลังบอร์ด PPP จะพิจาณาแนวทางการคัดเลือกวันพรุ่งนี้
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะเร่งจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระโดยคาดว่า จะได้ข้อสรุปภายในปลายเดือน พ.ค.-ต้นเดือน มิ.ย.นี้ ที่คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐ (PPP) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติแนวทางการคัดเลือกใน วันพรุ่งนี้
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการ PPP อนุมัติว่าจะเลือกแนวทางระหว่างการเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งเป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินสายหลัก เส้นทางหัวลำโพง-บางซื่อ หรือจะจัดประมูลหาผู้เดินรถรายใหม่ ก็จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ ต่อจากนั้น รฟม.จะแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการและเสนอให้ครม.รับทราบ ต่อไป
"โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย นี้ก็เป็นโครงการ Fast track ของบอร์ด PPP ก็ต้องดำเนินการเร็ว คาดว่าภายในเดือนพ.ค.นี้จะได้ข้อยุติ หรือไม่เกินต้นเดือน มิ.ย." พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว
ส่วนการจัดหาการเดินรถช่วงรอยต่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงช่วง ระหว่างสถานีเตาปูนไปยังสถานีบางซื่อเป็นการชั่วคราวนั้น รฟม.จะจัดหารถเมล์ไว้บริการ รวมทั้งใช้รถไฟให้บริการจากสถานีบางซ่อนไปสถานีบางซื่อ โดยไม่เก็บค่าโดยสารด้วย
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
รฟม.คาดสรุปหาผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายปลายพ.ค.-ต้นมิ.ย.หลังบอร์ด PPP ตัดสินพรุ่งนี้
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะเร่งจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปลายเดือน พ.ค.-ต้นเดือน มิ.ย.นี้ที่กคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐ (PPP) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติแนวทางการคัดเลือกในวันพรุ่งนี้
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการ PPP อนุมัติว่าจะเลือกแนวทางระหว่างการเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งเป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินสายหลัก เส้นทางหัวลำโพง-บางซื่อ หรือจะจัดประมูลหาผู้เดินรถรายใหม่ ก็จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ ต่อจากนั้น รฟม.จะแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการและเสนอให้ครม.รับทราบต่อไป
"โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย นี้ก็เป็นโครงการ Fast track ของบอร์ด PPP ก็ต้องดำเนินการเร็ว คาดว่าภายในเดือนพ.ค.นี้จะได้ข้อยุติ หรือไม่เกินต้นเดือน มิ.ย."ประธานกรรมการ รฟม.กล่าว
ส่วนการจัดหาการเดินรถช่วงรอยต่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงช่วงระหว่างสถานีเตาปูนไปยังสถานีบางซื่อเป็นการชั่วคราวนั้น รฟม.จะจัดหารถเมล์ไว้บริการ รวมทั้งใช้รถไฟให้บริการจากสถานีบางซ่อนไปสถานีบางซื่อ โดยไม่เก็บค่าโดยสารด้วย
สำหรับ ความคืบหน้างานก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง ขณะนี้คณะกรรมการมาตรา 35 ตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ กำลังร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (ทีโออาร์) คาดว่าในเดือน มิ.ย.นี้จะสามารถเปิดขายซองประกวดราคาได้ จากนั้นอีก 3 เดือนให้ยื่นซองประกวดราคา และจะพิจารณาคุณสมบัติ ใช้เวลา 1-2 เดือน หลังจากนั้นจะเปิดประมูลราคา คาดว่าในปลายปีนี้น่าจะได้ผู้รับเหมาก่อสร้างทั้ง 2 โครงการ
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนกุล ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า เอกชนที่จะเข้ามารับเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะใช้รูปแบบ PPP Net cost โดยหากเลือกเจรจากับรายเดิมคือ BEM ก็คาดว่าจะสามารถเร่งให้เดินรถ 1 สถานี คือสถานีเตาปูน-บางซื่อได้ภายในไม่เกิน 12 เดือน เพราะ BEM มีความพร้อมอยู่แล้ว แต่หากเลือกหาผู้เดินรถรายใหม่ ก็คาดว่าจะใช้เวลา 3 ปีในการเดินรถ 1 สถานีดังกล่าว
ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ช.การช่าง (CK) และประธานกรรมการบริหาร BEM กล่าวว่า บริษัทมั่นใจมากว่าจะได้เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เพราะ BEM มีความพร้อมมากกว่ารายอื่น ๆ เพราะบริษัทก็เป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินเส้นทางหลักอยู่แล้ว
นอกจากนั้น BEM ยังเป็นผู้เดินรถสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กม.16 สถานี ใช้รถไฟฟ้า 21 ขบวน 3 ตู้ ซึ่งรฟม.จ้างเดินรถ โดยวิธี PPP Gross Cost ที่รัฐเป็นผู้ลงทุน คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 2 หมื่นเที่ยว/วัน
นายปลิว กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรงบริษัทได้เจรจาพันธมิตรต่างประเทศทั้งญี่ปุ่นและยุโรปหลายราย เพื่อดึงเข้ามาเป็นผู้ร่วมประมูล ขณะเดียวกัน CK และบมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ(BEM) ก็มีความพร้อมเข้าร่วมประมูลอยู่แล้ว
ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (สนช.) กล่าวหลังร่วมทดลองโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงพร้อมคณะกรรมาธิการคมนาคมว่า การทดสอบเดินรถในวันนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น สมบูรณ์แบบ เชื่อว่าเมื่อเปิดให้บริการเดินรถอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.นี้จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรที่คับคั่ง โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 30-35 นาทีจากสถานีบางใหญ่ถึงสถานีเตาปูน
อินโฟเควสท์
บอร์ด PPP ให้ตั้งกก.หาเอกชนเดินรถไฟฟ้าสีน้ำเงินส่วนต่อขยายเปิดทางเจรจารายเดิม-หารายใหม่
คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) มีมติเห็นชอบในหลักการให้เอกชนร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง-บางแค และ ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ ที่กำหนดให้มีการเดินรถแบบต่อเนื่อง (Through Operation) สำหรับการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน โดยให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง แบบ PPP net cost
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ที่ประชุมให้ตั้งคณะกรรมการตามมาตรา 35 ของ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ขึ้นมากำหนดร่างทีโออาร์ รวมถึงคัดเลือกบริษัทเอกชนที่จะมาเดินรถ ซึ่งสามารถเจรจากับเอกชนรายเดิมที่เดินรถ MRT อยู่แล้ว หรือเปิดเจรจากับรายใหม่ หลังจากพิจารณาแล้วเสร็จให้กลับมานำเสนอคณะกรรมการ PPP อีกครั้ง
"รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายหากเกิดขึ้นได้จะส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจจะทำให้ผู้ลงทุนเกิดความมั่นใจ"นายเอกนิติ กล่าว
ทั้งนี้ เอกชนจะเป็นผู้รับผลประโยชน์และความเสี่ยงจากค่าโดยสารในการเดินรถและซ่อมบำรุงโครงการ เป็นระยะเวลา 30 ปี และภาครัฐไม่มีภาระทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการสนับสนุนภาระทางการเงินและการลงทุนของภาคเอกชน ทั้งนี้ให้เอกชนดำเนินการติดตั้งระบบรถไฟฟ้าช่วงเตาปูน-บางซื่อให้แล้วเสร็จภายใน 15 เดือน และสามารถเริ่มเดินรถเป็นลำดับแรกก่อน ซึ่งวงเงินลงทุนรวมของโครงการทั้งหมดจะอยู่ที่ประมาณ 84,000 ล้านบาท
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่า รฟม.จะตั้งคณะกรรมการ คัดเลือกเอกชนเข้าร่วมดำเนินการในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการตามมาตรา 35)ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยเอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56) ได้ภายใน 1-2 สัปดาห์
คณะกรรมการชุดดังกล่าวจะพิจารณาวิธีการคัดเลือกเอกชน โดยจะต้องนำประเด็นการเดินรถต่อเนื่องด้วย ซึ่งหากเลือกวิธีการเปิดประมูลหาเอกชนรายใหม่ รฟม.จะดำเนินการตามวิธีมาตรฐานการประมูล โดยต้องกำหนดร่างเงื่อนไขการเชิญชวนเอกชน (TOR) ให้การเดินรถต่อเนื่อง ตามมติคณะกรรมการ PPP แต่หากเลือกวิธีการเจรจากับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานเดินรถสายเฉลิมรัชมงคลอยู่แล้ว จะต้องเสนอคณะกรรมการ PPP เห็นชอบก่อนจึงจะเริ่มการเจรจาได้ และหากไม่เห็นด้วย ถือว่าจะต้องกลับไปใช้วิธีการประมูลอย่างเดียว
พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวว่า ไม่ว่าจะเป็นรายเดิมหรือรายใหม่ มีความจำเป็นจะต้องเร่งรัดการเปิดเดินรถช่วง 1 สถานี จากเตาปูน-บางซื่อ ให้เร็วที่สุดเพื่อแก้ปัญหารอยต่อระหว่างสายสีม่วงกับสายสีน้ำเงิน ซึ่งสายสีม่วงจะเปิดให้บริการในเดือน ส.ค.59 แล้ว โดยหากเป็นการเจรจากับ BEM รายเดิมจะสามารถเร่งรัดให้ติดตั้งระบบช่วง 1 สถานีให้เสร็จภายใน 10 เดือนและสามารถเดินรถสถานีบางซื่อไปยังสถานีเตาปูนได้เร็วสุดเดือนธ.ค.59 หรืออย่างช้าไม่เกินเดือนมี.ค.60 แต่หากเป็นเอกชนรายอื่นจะต้องใช้เวลาในการจัดหารถไฟฟ้าล่วงหน้าประมาณ 36 เดือน และหากสั่งรถจำนวนน้อย ไม่กี่ขบวน จะมีผู้ผลิตรถจะยอมผลิตให้หรือไม่
อินโฟเควสท์
รฟม.คาดสรุปหาผู้เดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายปลายพ.ค.-ต้นมิ.ย.หลังบอร์ด PPP
พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานกรรมการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า รฟม.จะเร่งจัดหาผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง-บางแคและบางซื่อ-ท่าพระ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในปลายเดือน พ.ค.-ต้นเดือน มิ.ย.นี้ที่กคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการภาครัฐ (PPP) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติแนวทางการคัดเลือกในวันพรุ่งนี้
ทั้งนี้ หากคณะกรรมการ PPP อนุมัติว่าจะเลือกแนวทางระหว่างการเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ซึ่งเป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินสายหลัก เส้นทางหัวลำโพง-บางซื่อ หรือจะจัดประมูลหาผู้เดินรถรายใหม่ ก็จะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบ ต่อจากนั้น รฟม.จะแต่งตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามาดำเนินการและเสนอให้ครม.รับทราบต่อไป
"โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย นี้ก็เป็นโครงการ Fast track ของบอร์ด PPP ก็ต้องดำเนินการเร็ว คาดว่าภายในเดือนพ.ค.นี้จะได้ข้อยุติ หรือไม่เกินต้นเดือน มิ.ย."ประธานกรรมการ รฟม.กล่าว
ส่วนการจัดหาการเดินรถช่วงรอยต่อของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีม่วงช่วงระหว่างสถานีเตาปูนไปยังสถานีบางซื่อเป็นการชั่วคราวนั้น รฟม.จะจัดหารถเมล์ไว้บริการ รวมทั้งใช้รถไฟให้บริการจากสถานีบางซ่อนไปสถานีบางซื่อ โดยไม่เก็บค่าโดยสารด้วย
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนกุล ผู้ว่าการ รฟม.กล่าวว่า เอกชนที่จะเข้ามารับเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายจะใช้รูปแบบ PPP Net cost โดยหากเลือกเจรจากับรายเดิมคือ BEM ก็คาดว่าจะสามารถเร่งให้เดินรถ 1 สถานี คือสถานีเตาปูน-บางซื่อได้ภายในไม่เกิน 12 เดือน เพราะ BEM มีความพร้อมอยู่แล้ว แต่หากเลือกหาผู้เดินรถรายใหม่ ก็คาดว่าจะใช้เวลา 3 ปีในการเดินรถ 1 สถานีดังกล่าว
ด้านนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ช.การช่าง (CK) และประธานกรรมการบริหาร BEM กล่าวว่า บริษัทมั่นใจมากว่าจะได้เป็นผู้เดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย เพราะ BEM มีความพร้อมมากกว่ารายอื่น ๆ เพราะบริษัทก็เป็นผู้เดินรถสายสีน้ำเงินเส้นทางหลักอยู่แล้ว
นอกจากนั้น BEM ยังเป็นผู้เดินรถสายสีม่วงช่วงบางใหญ่-เตาปูน ระยะทาง 23 กม.16 สถานี ใช้รถไฟฟ้า 21. ขบวน. 3 ตู้ ซึ่งรฟม.จ้างเดินรถ โดยวิธี PPP Gross Cost ที่รัฐเป็นผู้ลงทุน คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 2 หมื่นเที่ยว/วัน
ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวหลังร่วมทดลองโดยสารรถไฟฟ้าสายสีม่วงพร้อมคณะกรรมาธิการคมนาคมว่า การทดสอบเดินรถในวันนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น สมบูรณ์แบบ เชื่อว่าเมื่อเปิดให้บริการเดินรถอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 6 ส.ค.นี้จะช่วยบรรเทาปัญหาจราจรที่คับคั่ง โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 30-35 นาทีจากสถานีบางใหญ่ถึงสถานีเตาปูน
อินโฟเควสท์