- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Friday, 22 April 2016 11:02
- Hits: 4608
'บิ๊กตู่'หนุนซื้อเมล์ NGV /พัฒนาที่ดินมักกะสัน
แนวหน้า : ที่ทำเนียบรัฐบาลเมื่อวันที่ 20 เม.ย.2559 คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ประชุมครั้งที่ 2/2559 โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)กล่าวว่า ที่ประชุมมีการพิจารณาการดำเนินการ ตามแผนการแก้ไขปัญหาของรัฐวิสาหกิจ ในส่วนของ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท นั้นได้เห็นชอบตามแนวทางที่กระทรวงไอซีทีเสนอ ที่มี เป้าหมายให้ บมจ. ทีโอที และ บมจ. กสท ใช้งานโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกัน โดยให้ บมจ. ทีโอที เป็นผู้นำในการลงทุนโครงข่ายภายใน ประเทศ และให้ บมจ. กสท เป็นผู้นำในการลงทุนโครงข่ายระหว่างประเทศ
ในส่วน ขสมก. ได้รับทราบการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาของ ขสมก. ซึ่งได้มีการปรับ แผนการจัดหารถโดยสาร จำนวน 3,183 คัน โดยจะแบ่งเป็น การจัดหารถ NGV 489 คัน และรถไฟฟ้า 500 คัน และการปรับปรุงสภาพรถเดิม 672 คัน และใช้รถเดิม 1,522 คัน โดยในเรื่องของการจัดหารถไฟฟ้า 500 คัน ขสมก. จะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม กล่าวว่า ในส่วน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการรับภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท. 60,000 ล้านบาท เพื่อแลกกับโครงการเช่าที่ดินย่านมักกะสันของ ร.ฟ.ท.ที่จะมีการส่งมอบ 105 ไร่ เพื่อนำไปพัฒนาระยะเวลา 99 ปี ส่วนการรื้อถอนพื้นที่ก่อนส่งมอบ คาดว่าจะใช้เงิน 16,000 ล้านบาท หลังจากกระทรวงการคลังเข้ามารับภาระหนี้แล้ว ร.ฟ.ท.จะจัดหาวงเงิน 16,000 ล้านบาท เพื่อรื้อถอนเอง
นอกจากนี้ ที่ประชุม คนร.ยังอนุมัติแนวทางให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้บริหารการเดินรถโครงการรถไฟชานเมือง สายสีแดง โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทลูก ยืนยันความพร้อมในการดำเนินการ ขณะที่โครงการแอร์พอร์ตลิ้งค์จะเป็นไปตามแนวทางที่จะนำเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน
ร.ฟ.ท.แลกที่มักกะสันล้างหนี้คนร.จี้ TG เร่งปฏิรูปองค์กรบริหารทรัพย์สิน-ลดค่าใช้จ่าย
ไทยโพสต์ : ราชดำเนิน * คนร.เห็นชอบคลังเช่าที่มักกะสัน 105 ไร่นาน 99 ปี แลกล้างหนี้ ร.ฟ.ท. 6 หมื่นล้าน คาด 1 ก.ค.ลงนามในสัญญา พร้อมจี้การบินไทยเร่งเดินหน้าปฏิรูปองค์กรบริหารทรัพย์สินและลดค่าใช้จ่ายลงอีก 5 พันล้าน ตั้งเป้าต้องมีกำไร 12,000 ล้าน
นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ที่มี พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้อนุมัติเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้และลงทุนในรัฐวิสาหกิจในองค์กรสำคัญ ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการรับภาระหนี้สินของ ร.ฟ.ท. 60,000 ล้านบาท เพื่อแลกกับโครงการเช่า ที่ดินย่านมักกะสันของ ร.ฟ.ท. จำนวน 105 ไร่ เพื่อนำไปพัฒนาระยะเวลา 99 ปี
"หลังจากนี้ วันที่ 1 ก.ค.59 นี้จะมีการลงนามร่วมกัน เพื่อเดินหน้าโครงการเช่าพื้นที่ย่านมักกะสันแลกกับภาระหนี้ดังกล่าว ส่วนการรื้อถอนพื้นที่ก่อนส่งมอบ คาดว่าจะใช้เงิน 16,000 ล้านบาท หลังจากกระทรวงการคลังเข้ามารับภาระหนี้แล้ว ร.ฟ.ท.จะจัดหาวงเงินดังกล่าวเพื่อรื้อถอนเอง" นายออมสินกล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุม คนร. ยังอนุมัติแนวทางให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้บริหารการเดินรถโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทลูก ยืนยันความพร้อมในการดำเนินการ ขณะที่โครงการแอร์พอร์ตลิงก์จะเป็นไปตามแนวทางที่จะนำเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งจะมีการนำเสนอให้คณะกรรมการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) อนุมัติรายละเอียดต่อไป
นายออมสินกล่าวว่า บมจ.การบินไทยได้รายงานผลการดำเนินงานในปีนี้ และเชื่อว่าจะมีกำไรสุทธิ 2,000 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงการคลังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ที่ประชุม คนร.รับทราบผลการดำเนินงานของ บมจ.การบินไทย ซึ่งฝ่ายบริหารรายงานว่าเริ่มกลับมามีกำไรและเชื่อว่าปีนี้จะมีกำไรสุทธิ 2,000 ล้านบาท แต่กระทรวงการคลังตั้งข้อสังเกตว่าราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ดังนั้นจึงกำหนดกรอบให้การบินไทยเดินหน้าปฏิรูปองค์กร และขอให้มีกำไรจากการดำเนินงาน 12,000 ล้านบาทด้วย และยังคาดการณ์ว่าผลการดำเนินงานในปีนี้จะมีรายได้อยู่ที่ 1.9 แสนล้านบาท เพิ่มจากปี 58 ที่มี 1.8 แสน
"นายกฯ ได้สั่งการให้การบินไทยลดค่าใช้จ่ายให้ต่อเนื่อง ดังนั้นในที่ประชุม คนร.จึงตั้งเป้าให้ลดค่าใช้จ่ายลงอีก 5 พันล้านบาท และให้เร่งเดินหน้าบริหารทรัพย์สินในมือให้ดีขึ้นด้วย" นายออมสินกล่าว
นายออมสิน กล่าวว่า ที่ ประชุม คนร.ได้เห็นชอบแผนงานตามที่องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เสนอ โดยกระทรวงคมนาคมจะเร่งสรุปข้อมูลการจัดซื้อ-ปรับปรุงรถเมล์ โดยข้อเสนอปรับลดกรอบวงเงินเดิมจากที่จะต้องจัดซื้อรถเมล์จำนวน 3,183 คัน วงเงินประมาณ 13,162 ล้านบาท เหลือเพียง 4,293 ล้านบาท โดย ขสมก.จะปรับแผนงานและ ปฏิบัติงานตามแผนที่ คนร.เห็นชอบ ซึ่งหลังจากนี้กระทรวงคมนาคมจะจัดทำรายงานเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติอีก ครั้ง.