WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม นายกฯสั่งสมคิดประมูลภายใน 2 เดือน-เรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน ครม.เคาะรถไฟฟ้า 2 สายแสนล.

     แนวหน้า : รัฐบาลเร่งโครงการลงทุน ล่าสุดครม.อนุมัติ รถไฟฟ้า 2 เส้นทาง แคราย-มีนบุรี และลาดพร้าว-สำโรง มูลค่ารวมกว่าแสนล้านบาท รูปแบบโครงการ PPP Net Cost รัฐจ่ายเฉพาะเวนคืนที่ดิน ประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท ส่วนงานโยธา การเดินรถ และอื่นๆ บริษัทร่วมทุนเป็นผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาสัมปทาน 30 ปี

      นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี วงเงินไม่เกิน 53,490 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง วงเงินไม่เกิน 51,810 ล้านบาท และรูปแบบการลงทุน เป็นแบบ PPP Net Cost เอกชนเป็นผู้รับความเสี่ยงโครงการ เช่น ค่างานโยธา ค่างานระบบรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้า ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ รวมถึงการบริการ การเดินรถและซ่อมบำรุง ซึ่งระยะการลงทุน 33 ปี 3 เดือน โดยแบ่งเป็นระยะเวลาการก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน และสัมปทานเดินรถ 30 ปี ในส่วนภาครัฐจะเป็นผู้ดำเนินการในส่วนของการจัดกรมสิทธิที่ดิน

    ทั้งนี้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) จะต้องจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 เพื่อพิจาณา และกำหนดร่างเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง(TOR) ในส่วนของต้นทุนค่าก่อสร้าง การจัดหาตัวรถและขบวนรถ รวมถึงการประมาณการรายได้ โดยคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาภายใน 3 เดือน เบื้องต้นเอกชนที่จะเข้าร่วมประมูลจะต้องมีคุณสมบัติที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการออกแบบเป็นอย่างดี เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าทั้ง 2 เส้นทาง จะเป็นรถไฟฟ้ารางเดี่ยว (Monorail) ที่มีการก่อสร้างในประเทศ ส่วนการประมาณการรายได้จากการให้บริการคาดว่าจะมีผู้โดยสารของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู เฉลี่ยประมาณ 270,000 คนต่อวัน และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เฉลี่ยประมาณ 247,900 คนต่อวัน

       นอกจากนี้ ครม.ได้อนุมัติงบประมาณการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู วงเงิน 6,847 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง วงเงิน 6,013 ล้านบาท รวมถึงได้อนุมัติงบประมาณสนับสนุนสำหรับเอกชนไม่เกินค่างานโยธาที่เป็นมูลค่าปัจจุบันตามที่ตกลงในสัญญาสัมปทานโดยทยอยจ่ายให้เอกชนหลังจากเริ่มเปิดเดินรถแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปีกำหนดเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปี ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู วงเงิน 20,135 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง วงเงิน 22,354 ล้านบาท รวม 42,489 ล้านบาท

    สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วเส้นทางแรก ที่คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้โครงการรถไฟไทย-จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ความเร็ว 250 กิโลเมตร โดยโครงการที่จะดำเนินการต่อไป ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน, กรุงเทพฯระยอง และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และจะทำการเชื่อมต่อเส้นทางทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วยโครงการรถไฟทางคู่ โดยเชื่อว่า การลงทุนจะคุ้มค่าเนื่องจาก 4 เส้นทางดังกล่าว จะมีการโดยสารอย่างเพียงพอ และรายได้จากรถไฟความเร็วสูงส่วนใหญ่จะมาจากการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์และอสังหาริมทรัพย์ถึง 60% และรายได้จากผู้โดยสารมีสัดส่วนเพียง 40% เท่านั้น

      พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกคณะรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เร่งดำเนินการหาผู้ประกวดราคาในโครงการดังกล่าว ภายใน 2 เดือน เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นการลงทุนภาคเอกชน นอกจากนี้นี่เป็นโครงการแรกที่เป็นโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ แต่รัฐบาลจะออกค่าใช้จ่ายในส่วนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเท่านั้น ส่วน ด้านงานโยธา การเดินขบวนรถ ค่าจ้างที่ปรึกษา การบริหารการเดินรถ และค่าอื่นๆให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

    พล.ต.สรรเสริญกล่าวว่า ครม.ยังเห็นชอบเพิ่มเติม ที่จะให้เงินอุดหนุนสำหรับค่าโยธากับรถไฟฟ้าทั้งสายสีชมพู และสีเหลือง เพื่อจูงใจให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน โดยพบว่า รถไฟฟ้าสายสีชมพู มีค่าโครงการทั้งหมด 5.6 หมื่นล้านบาท สายสีเหลืองประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีชมพู มีค่างานโยธา 2.3 หมื่นล้านบาท เป็นส่วนที่เอกชนจะต้องลงทุน เมื่อวงเงินการลงทุนสูงอาจทำให้เอกชนไม่สนใจเข้ามาลงทุนได้ เพราะผลตอบแทนที่จะได้รับในอนาคตเพียง 5% เท่านั้น จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลต้องกำหนดกรอบไว้ส่วนหนึ่ง เป็นค่าเงินโยธา โดยมีมติกำหนดกรอบวงเงินสำหรับรถไฟฟ้าสายสีชมพูไว้ที่ 2 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้วงเงินที่จะอุดหนุนให้เอกชนนั้น ทางเอกชนจะต้องดำเนินการไปก่อน จนกว่าจะมีการเดินรถ โดยรัฐบาลจะผ่อนชำระให้ไม่เกิน 10 ปี

     "ในที่ประชุมทาง สศช. ได้ตั้งข้อสังเกตว่าบริษัทที่เอกชนร่วมลงทุน ค่างานโยธา 2.3 หมื่นล้านบาท แต่รัฐ มีกรอบอุดหนุน 2 หมื่นล้านบาท เอกชนควรลงทุนค่างานโยธามากกว่านี้ หรือไม่ต่ำกว่า 25% ขณะที่ รมว.คลัง ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าตั้งกรอบไว้ให้เอกชนลงทุน 25% ดูไม่มีความยืดหยุ่น คนที่จะมาประกวดราคาอาจขอรับเงิน จากรัฐบาลน้อยที่สุด และอาจไม่ถึง 25% จึงอาจ เกิดการตีตกการประมูล และทำให้โครงการไม่เกิด โดยคณะกรรมการเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พร้อมรับไปพิจารณาในขั้นตอนของการพิจารณาการประกวดราคาด้วย" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!