WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม เตมพทยาไพสฐ copyรมว.คมนาคม เผยชง ครม.อนุมัติหลักการโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นราว มิ.ย.นี้

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวปาฐกถาในหัวข้อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศว่า โครงการรถไฟเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ที่ร่วมมือกับทางญี่ปุ่น คาดว่าจะมีการเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติในหลักการในเดือน มิ.ย.นี้ ส่วนการเจรจาโครงการรถไฟไทย-จีน ครั้งล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพูดคุย ซึ่งไทยต้องการให้จีนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนมากขึ้น และจะหารือการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน

      ส่วนรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กทม.-ระยอง และ กทม.-หัวหิน เตรียมเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ภายในเดือนเม.ย.-พ.ค.นี้ หลังจากนั้นจะมีการจัดทำทีโออาร์ก่อนคัดเลือกผู้ประมูลต่อไป

     ขณะที่การการขยายสนามบินสุวรรณภูมิเฟส 2 เพื่อรองรับผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นได้ถึง 60 ล้านคนต่อปี จะมีการดำเนินการทั้งการสร้างรันเวย์ทางวิ่งที่ 3 ที่อยู่ระหว่างการขออนุมัติอีไอเอ, อาคารผู้โดยสารอยู่ระหว่างการประกวดราคาคาดว่าจะดำเนินการในเดือน เม.ย. ส่วนสนามบินอู่ตะเภามีการปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร และสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน คาดว่าจะเสนอ ครม.ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า

     นายอาคม กล่าวย้ำว่า  รัฐบาลมีนโยบายการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 5 ด้าน คือ ด้านคมนาคม ด้านโทรคมนาคม ด้านพลังงาน ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านทรัพยากรมนุษย์ ในส่วนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมได้กำหนดแผนการลงทุน 8 ปี (2558-2565) ใน 5 เรื่อง คือ ระบบขนส่งทางรางระหว่างเมือง, ระบบขนส่งสาธารณะในกรุงเทพมหานคร, โครงข่ายถนนระหว่างเมืองเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน, ระบบขนส่งทางน้ำ และระบบขนส่งทางอากาศ

                อินโฟเควสท์

หูกวาง'วาดฝันขนส่งทางราง หวังเพิ่มขีดความสามารถด้านการให้บริการ

    บ้านเมือง : โครงสร้างพื้นฐานด้านระบบขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งทางรางนั้น ถือเป็นอีกทางเลือกที่สำคัญต่อการเดินทาง ทั้งด้านการขนส่งแบบโดยสาร และการขนส่งสินค้า การจัดนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทยในครั้งนี้นั้น ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่ประเทศไทยจะได้มีการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงคมนาคมถือเป็นหน่วยงานหลักที่เกี่ยวกับการจัดนิทรรศการครั้งนี้อย่างไรนั้น วันนี้มีคำตอบ

  นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายในงานการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทยครั้งที่ 2 ถึงการผลิตชิ้นส่วนระบบรางอย่างไรให้ได้มาตรฐาน ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรี เป็นประธาน ว่ากระทรวงคมนาคมพร้อมให้การสนับสนุนการผลิตรถไฟฟ้าและใช้อุปกรณ์ชิ้นส่วนในประเทศ โดยตามแผนของกระทรวงคมนาคมได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งมั่นเร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเพื่อเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะของประชาชน ซึ่งกระทรวงคมนาคมมีแผนการขับเคลื่อนการลงทุนภาคขนส่งคมนาคมไทย ระหว่างปี 2558-2565 และแผนพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยฉบับที่ 2 ปี 2556-2560 โดยมีการกำหนดบทบาทประเทศให้มีการเชื่อมโยงการขนส่งทุกรูปแบบภายในกลุ่ม

   ประเทศลุ่มน้ำโขง-อาเซียนและเชื่อมต่อประเทศแปซิฟิกถึงเอเชียใต้รวมไปถึงยุโรป ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มีการผลักดันระบบขนส่งทางรางถือเป็นรูปแบบการขนส่งต้นทุนต่ำรองจากระบบการขนส่งทางน้ำโดยมีเป้าหมายเพิ่มการขนส่งทางรางจากปัจจุบัน 2% เป็น 5% ภายในปี 2565 โดยจะช่วยลดต้นทุนโลจิสติกส์ภาคการขนส่งที่ปัจจุบันมียอดการขนส่งถึง 14% ให้เหลือ 10-12% ในระยะเวลา 8 ปี โดยเป็นตามมาตรฐานของประเทศที่พัฒนาแล้ว

     อย่างไรก็ตาม มีการพัฒนาระบบขนส่งทางรางให้มากขึ้นจากปัจจุบันระยะทางรวมทั้งสิ้น 4,070 กิโลเมตร จะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 3,000 กิโลเมตร รวมเป็น 7,070 กิโลเมตร หรือเพิ่มขึ้น 1.7 เท่าของทางที่มีในปัจจุบัน โดยแยกเป็นรถไฟใน 4 ระบบ ประกอบด้วย 1.ระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2.ระบบรถไฟฟ้าชานเมืองกรุงเทพ 3.ระบบรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตรทั่วประเทศ และระบบรถไฟฟ้ารางมาตรฐานเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ในอาเซียนและกลุ่มนอกอาเซียน จากแผนดังกล่าวรัฐบาลได้สร้างโอกาสพัฒนาเทคโนโลยีทางรางและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซึ่งจะพิจารณาความต้องการของกลุ่มประเทศอาเซียนแล้วจะเห็นได้ว่าขนาดความต้องการเพิ่มสูงขึ้นในอนาคตซึ่งเป็นไปได้สูงที่จะมีการตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วน โรงงานประกอบอุปกรณ์

      รวมถึงระบบอาณัติสัญณาณ รวมถึงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีระบบรางอุตสาหกรรมต่อเนื่อง จึงต้องเร่งรัดการลงทุนและการวิจัยพัฒนาเพื่อนำไปสู่มาตรฐานการพัฒนาชิ้นส่วนและอุปกรณ์ภายในประเทศเป็นไปตามมาตรฐานสากลรวมถึงการพัฒนาบุคลากร ทั้งนี้ กระทรวงการมีการร่วมมือกับจากประเทศที่มีเทคโนโลยี ในการพัฒนาบุคลากรของไทยให้มีขีดความสามารถในการเดินรถไฟฟ้าที่ทันสมัย

      สำหรับ การจัดการประชุมวิชาการและแสดงนิทรรศการอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางไทยนั้น จากการที่รัฐบาล มีนโยบายผลักดันโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ และการบริหารจัดการและการบริหารด้านคมนาคมขนส่ง ดำเนินการโดยกระทรวงคมนาคม และยังมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ของประเทศไทย ให้มีบทบาทเป็นศูนย์กลางธุรกรรมการค้า และการบริการของกลุ่มประเทศกลุ่มแม่น้ำโขง และเป็นประตูการค้าสู่ตลาดเอเชีย รวมถึงการเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ และกำหนดภารกิจหลักเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทยในโซ่อุปทาน

     ซึ่งการยกระดับประสิทธิภาพระบบอำนวยความสะดวกทางการค้า การพัฒนาปัจจัยสนับสนุน ซึ่งมีองค์ประกอบหลายๆ ภาคส่วน ประกอบด้วยภาครัฐซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบาย ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นผู้ผลิต ภาคการเดินรถซึ่งเป็นผู้ให้บริการ ภาคการศึกษาและวิจัยซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยี เพื่อรองรับโครงการด้านคมนาคมขนส่งทางรางไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โครงการรถไฟสายสีแดง โครงการรถไฟทางคู่ โครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ซึ่งต้องการใช้ชิ้นส่วนอุปกรณ์ระบบรางเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ อุตสาหกรรมระบบรางของไทยควรที่จะเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าไปมีส่วนในการพัฒนาโครงการต่างๆ ของประเทศ

    สำหรับ การวิจัยระบบขนส่งทางราง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยบริหารจัดการคลัสเตอร์ และโปรแกรมวิจัย และโครงการจัดตั้งสถาบันพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางแห่งชาติ โยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเครือข่ายองค์กรบริหารงานวิจัยแห่งชาติ (คอบช.) มอบหมายให้บริหารงานแผนงานวิจัยมุ่งเป้าตอบสนองต่อความต้องการในการพัฒนาประเทศด้านการคมนาคมระบบราง เพื่อนำผลงานวิจัยส่งมอบสู่หน่วยงานผู้รับประโยชน์

      อย่างไรก็ตาม วัตถุประสงค์ที่คาดว่าจะได้รับประกอบด้วย เพื่อเป็นการขยายองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานจากหน่วยงานระบบขนส่งทางรางจากต่างประเทศไปสู่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ได้รับรู้แนวทางการใช้มาตรฐาน และการใช้ประโยชน์จากมาตรฐานต่อการผลิตและการพัฒนาโครงการ/เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยระบบขนส่งทางรางไทย และต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ จากการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้เกิดงานวิจัยและพัฒนาสามารถนำมาประยุกต์เพื่อการเพิ่มความสามารถในการผลิตชิ้นส่วน

     และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งทางรางภายในประเทศ/เพื่อส่งมอบงานวิจัยที่ดำเนินการแล้วเสร็จให้หน่วยงานที่สามารถนำไปใช้จริงให้เกิดประโยชน์ทั้งในด้านการยกระดับการให้บริการเดินรถ และซ่อมบำรุง การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาอุตสาหกรรมชิ้นส่วนและอุปกรณ์ระบบรางในประเทศ และเพื่อนำเสนอนิทรรศการขีดความสามารถของอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางของไทย และเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางของไทย และเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมระบบขนส่งทางรางต่างประเทศ เพื่อการขยายผลในการพัฒนาต่อยอดของอุตสาหกรรมระบบของส่งทางไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!