- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Friday, 18 March 2016 13:20
- Hits: 2617
รฟท.ดันโครงการรถไฟรางคู่เพิ่มอีก 2 เส้นทาง งบ 1.4 แสนลบ. พร้อมเร่งเปิดประมูล 4 เส้นทางเดิม
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศ ไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.ได้เพิ่มการวางแผนลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร เพิ่มอีก 2 เส้นทาง คือ เส้นทาง แยกเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. วงเงินลงทุน 7.7 หมื่นล้านบาท และเส้นทาง บางไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กม. วงเงินลงทุน 6.6 หมื่น ล้านบาท รวมวงเงินประมาณ 1.43 แสนล้านบาท หลังจากนายกรัฐมนตรีสนับสนุนเร่งดำเนิน โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโดย ใช้มาตรา 44 เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินการรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ 2 เส้นทางใหม่นี้อยู่ระหว่างการออกแบบและเตรียมทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และคาดว่าจะเปิดประมูลในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทางเดิมคาดว่าจะเปิดประมูลและได้ผู้รับเหมาก่อสร้างภายในปีนี้ โดยเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางจิระ และเส้นทางประจวบ-ชุมพร ทั้ง 2 โครงการ ได้ผ่านการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ และใช้เวลาดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวภายใน 3 เดือนจากนี้ หรือภายในไตรมาส 2/59
ด้านความคืบหน้าเส้นทางอื่นอย่าง ลพบุรี-ปากน้ำโพ และ นครปฐม-หัวหิน อยู่ระหว่างรอผลอนุมัติ EIA ของคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3/59
ขณะที่เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. ได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อย กำลังเข้าสู่ขั้น ตอนการทำ EIA ซึ่งคาดว่าอาจจะทันเปิดประมูลภายในปีนี้
นอกจากนี้ รฟท.จะนำเรื่องโครงการรถไฟทางคู่ 7 เส้นทางเสนอต่อกระทรวงคมนาคม ในเดือนมี.ค.นี้ เพื่อจะเสนอต่อครม.เพื่ออนุมัติโครงการ โดยการดำเนินงานคู่ขนานระหว่างรอผล EIA จะทำให้การดำเนินงานแต่ละโครงการรวดเร็วขึ้น แต่ในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาจะต้องรับความ เสี่ยงข้อนี้หากผลการศึกษา EIA ไม่ผ่านโครงการนั้นก็ต้องยกเลิก หรือประเด็น EIA จะไม่มีข้อ ผูกพัน ทั้งนี้แหล่งเงินทุนโครงการรถไฟทางคู่จะมาจากเงินกู้
"เราจะส่งเรื่องรถไฟทางคู่ทั้ง 7 เส้นทางเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมในเดือนมี.ค.นี้ ...เราคิด ว่าทั้ง 7 เส้นทางเราน่าจะดำเนินการเสร็จภายในปีนี้ เรื่อง ม. 44 ไม่ได้มาบีบเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่เราเชื่อว่าการใช้ ม. 44 จะทำให้การดำเนินโครงการใช้ระยะเวลาเร็วขึ้น จากเดิมถ้าขั้นตอน ที่ 1 ไม่เสร็จก็ไม่สามารถดำเนินการขั้นที่ 2 ต่อได้ ทำให้หลายโครงการล่าช้า รัฐบาลให้ความ สำคัญเรื่องนี้ จึงให้เราสามารถทำงานหลายเรื่องพร้อมกันในคราวเดียวกัน และจะสามารถสร้าง ความมั่นใจให้กับนักลงทุน" ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวในงานแถลงการจัดกิจกรรม 119 ปี การรถไฟฯ จากอดีตถึงปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต
นายวุฒิชาติ มองใน 10 ปีข้างหน้าหากรฟท.เปิดให้บริการรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตรได้ทั่ว ประเทศ คาดว่าจะสร้างการเติบโตให้กับรฟท. โดยจะมีรายได้จากการขนส่งสินค้าเพิ่มสัดส่วนเป็น 20-30% จากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 3% โดยการขนส่งทางรถไฟจะช่วยส่งตรงเวลาและไม่ต้องกังวล ปัญหาจราจร ส่วนรายได้จากการเดินรถคงให้กำไรน้อยเพราะจะขึ้นอัตราค่าโดยสารมากไม่ได้
นอกจากนี้ คาดว่าภายในปลายเดือน มี.ค.นี้ รฟท.จะสามารถลงนามโครงการรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญา 3 ที่เป็นงานวางราง และระบบรถไฟฟ้า ทั้งนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation)เป็นผู้ชนะการประกวดราคา และก่อนหน้า ครม.อนุมัติเพิ่มกรอบเงินลง ทุนรถไฟสีแดง สัญญา 3 จาก 2.56 หมื่นล้านบาท เป็น 3.23 หมื่นล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ - หัวหิน และ เส้นทาง กรุงเทพฯ -พัทยา- ระยอง จะนำเข้าคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ได้ไม่เกินเดือนเม.ย.นี้
นอกจากนี้ รฟท.ได้ปรับปรุงภาพลักษณ์การเดินรถโดยสาร โดยได้ลงทุนเปลี่ยนหัวรถจักร โดยได้จัด ซื้อแล้ว 50 คัน และเช่าอีก 120 คัน ซึ่งจะทยอยรับมอบได้ครบภายใน 2 ปีนี้ และเห็นว่าอีก 5 ปี ระบบการเดินรถไฟจะเป็นระบบไฟฟ้า จะไม่ใช้ดีเซล จึงใช้วิธีเช่าหัวรถจักร ซึ่งจะรวมค่าซ่อมบำรุง ด้วย รวมทั้งรฟท.ปรับรถโดยสารเป็นรถโดยสารแบบปรับอากาศ ซึงได้สั่งซื้อมา 115 ตู้ เงินลง ทุนกว่า 4 พันล้านบาท เริ่มทยอยรับมอบในเดือนพ.ค.นี้ และจะเริ่มใช้ในเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ก่อนที่จะกระจายไปเส้นทางทุกภูมิภาค
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
รฟท.ดันโครงการรถไฟรางคู่เพิ่มอีก 2 เส้นทาง ลงทุนราว 1.4 แสนลบ., เร่งเปิดประมูล 4 เส้นทางเดิม
นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.ได้เพิ่มการวางแผนลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร เพิ่มอีก 2 เส้นทาง คือ เส้นทาง แยกเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 326 กม. วงเงินลงทุน 7.7 หมื่นล้านบาท และเส้นทาง บางไผ่-นครพนม ระยะทาง 347 กม. วงเงินลงทุน 6.6 หมื่นล้านบาท รวมวงเงินประมาณ 1.43 แสนล้านบาท หลังจากนายกรัฐมนตรีสนับสนุนเร่งดำเนินโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยใช้มาตรา 44 เพื่อให้ขั้นตอนการดำเนินการรวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ 2 เส้นทางใหม่นี้อยู่ระหว่างการออกแบบและเตรียมทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) และคาดว่าจะเปิดประมูลในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่ 4 เส้นทางเดิมคาดว่าจะเปิดประมูลและได้ผู้รับเหมาก่อสร้างภายในปีนี้ โดยเส้นทางมาบกะเบา-ชุมทางจิระ และเส้นทางประจวบ-ชุมพร ทั้ง 2 โครงการ ได้ผ่านการพิจารณารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้วคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ และใช้เวลาดำเนินการในขั้นตอนดังกล่าวภายใน 3 เดือนจากนี้ หรือภายในไตรมาส 2/59
ส่วนเส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ และ นครปฐม-หัวหิน อยู่ระหว่างรอผลอนุมัติ EIA ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในไตรมาส 3/59
ขณะที่เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 90 กม. ได้ออกแบบเสร็จเรียบร้อย กำลังเข้าสู่ขั้นตอนการทำ EIA ซึ่งคาดว่าอาจจะทันเปิดประมูลภายในปีนี้
นายวฺฒิชาติ กล่าวว่า รฟท.จะนำเรื่องโครงการรถไฟทางคู่ 7 เส้นทางเสนอต่อกระทรวงคมนาคมในเดือนมี.ค.นี้ เพื่อจะเสนอต่อครม.เพื่ออนุมัติโครงการ โดยการดำเนินงานคู่ขนานระหว่างรอผล EIA จะทำให้การดำเนินงานแต่ละโครงการรวดเร็วขึ้น แต่ในสัญญาว่าจ้างผู้รับเหมาจะต้องรับความเสี่ยงข้อนี้หากผลการศึกษา EIA ไม่ผ่านโครงการนั้นก็ต้องยกเลิก หรือประเด็น EIA จะไม่มีข้อผูกพัน ทั้งนี้แหล่งเงินทุนโครงการรถไฟทางคู่จะมาจากเงินกู้
"เราจะส่งเรื่องรถไฟทางคู่ทั้ง 7 เส้นทางเสนอไปที่กระทรวงคมนาคมในเดือนมี.ค.นี้ เราคิดว่าทั้ง 7 เส้นทางเราน่าจะดำเนินการเสร็จภายในปีนี้ เรื่อง ม. 44 ไม่ได้มาบีบเรื่องสิ่งแวดล้อม แต่เราเชื่อว่าการใช้ ม. 44 จะทำให้การดำเนินโครงการใช้ระยะเวลาเร็วขึ้น จากเดิมถ้าขั้นตอนที่ 1 ไม่เสร็จก็ไม่สามารถดำเนินการขั้นที่ 2 ต่อได้ ทำให้หลายโครงการล่าช้า รัฐบาลให้ความสำคัญเรื่องนี้ จึงให้เราสามารถทำงานหลายเรื่องพร้อมกันในคราวเดียวกัน และจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน" ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวในงานแถลงการจัดกิจกรรม 119 ปี การรถไฟฯจากอดีตถึงปัจจุบัน ก้าวสู่อนาคต
นายวุฒิชาติ มองใน 10 ปีข้างหน้าหากรฟท.เปิดให้บริการรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตรได้ทั่วประเทศ คาดว่าจะสร้างการเติบโตให้กับรฟท. โดยจะมีรายได้จากการขนส่งสินค้าเพิ่มสัดส่วนเป็น 20-30% จากปัจจุบันมีสัดส่วนเพียง 3% โดยการขนส่งทางรถไฟจะช่วยส่งตรงเวลาและไม่ต้องกังวลปัญหาจราจร ส่วนรายได้จากการเดินรถคงให้กำไรน้อยเพราะจะขึ้นอัตราค่าโดยสารมากไม่ได้
นอกจากนี้ คาดว่าภายในปลายเดือน มี.ค.นี้ รฟท.จะสามารถลงนามโครงการรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต สัญญา 3 ที่เป็นงานวางราง และระบบรถไฟฟ้า ทั้งนี้ กลุ่มกิจการร่วมค้า MHSC Consortium (บริษัท MITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัท Sumitomo Corporation)เป็นผู้ชนะการประกวดราคา และก่อนหน้า ครม.อนุมัติเพิ่มกรอบเงินลงทุนรถไฟสีแดง สัญญา 3 จาก 2.56 หมื่นล้านบาท เป็น 3.23 หมื่นล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และ เส้นทาง กรุงเทพฯ -พัทยา- ระยอง จะนำเข้าคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ได้ไม่เกินเดือนเม.ย.นี้
นอกจากนี้ รฟท.ได้ปรับปรุงภาพลักษณ์การเดินรถโดยสาร โดยได้ลงทุนเปลี่ยนหัวรถจักร โดยได้จัดซื้อแล้ว 50 คัน และเช่าอีก 120 คัน ซึ่งจะทยอยรับมอบได้ครบภายใน 2 ปีนี้ และเห็นว่าอีก 5 ปี ระบบการเดินรถไฟจะเป็นระบบไฟฟ้า จะไม่ใช้ดีเซล จึงใช้วิธีเช่าหัวรถจักร ซึ่งจะรวมค่าซ่อมบำรุงด้วย รวมทั้งรฟท.ปรับรถโดยสารเป็นรถโดยสารแบบปรับอากาศ ซึงได้สั่งซื้อมา 115 ตู้ เงินลงทุนกว่า 4 พันล้านบาท เริ่มทยอยรับมอบในเดือนพ.ค.นี้ และจะเริ่มใช้ในเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ก่อนที่จะกระจายไปเส้นทางทุกภูมิภาค
อินโฟเควสท์