WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม เตมพทยาไพสฐ copy'หูกวาง' ขานรับนโยบายรัฐ เร่งทำคลอดโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม

       กระทรวงคมนาคมถือเป็นกระทรวงที่ต้องกำกับดูแลโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมทั้งหมด ที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลก็ได้มีการผลักดันโครงการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นแผนดำเนินการ การร่วมลงทุนต่างๆ เพื่อให้โครงการสำเร็จอย่างสมบูรณ์ ซึ่งขณะนี้รัฐบาลก็ได้มีการเร่งเครื่องเพื่อจัดทำแผน และคลอดโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนwfhอย่างมีประสิทธิภาพ

เร่งบรรลุแผนแม่บท

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยที่ประชุมให้มีการจัดทำแผนแม่บทการลงทุนโครงการสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ดำเนินการยกร่างแผนแม่บทการ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของกระทรวงคมนาคมในระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2564 เพื่อบรรจุเข้าเป็นแผนการทำงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ซึ่งขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำลังจัดทำอยู่ โดย สนข.จะเริ่มยกร่างแผนแม่บทในปี 2559 และจะแล้วเสร็จภายใน 1 ปีก่อนนำส่งให้กระทรวงคมนาคม เพื่อส่งต่อไปยัง สศช.

        โดยให้มีการยกร่างแผนงานตามยุทธศาสตร์ 4 ข้อ ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นฐานที่จะเชื่อมโยงการเดินทางกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ,โครงข่ายคมนาคมขนส่งที่จะเชื่อมต่อไปยัง เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน, การพัฒนาระบบรถไฟฟ้าใน เขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ระยะที่ 2 โดยต้องวางแนวเส้นทางเป็นวงกลม 4 ชั้น และโครงการการพัฒนาท่าเรือ เพื่อเป็นการส่งต่องานให้กับรัฐบาลชุดต่อไป

        "การที่เตรียมบรรจุรายละเอียดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นั้น จะเป็นการระบุถึงรายละเอียดแผนโครงการต่างๆ ว่าจะต้องทำอะไรยังไงบ้าง หรือแบบไหน และเพราะสาเหตุอะไร ซึ่งจะเกิดความชัดเจนในการทำงานมากขึ้น ซึ่งเหตุที่ต้องทำแบบนี้เนื่องจากตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 8 เมื่อปี 2540 ก็ยังไม่เคยจะระบุให้เกิดความชัดเจนในรายละเอียดของแผนเลย ว่าจะต้อง ทำอะไร โครงการไหนบ้าง พร้อมทั้งการก่อสร้างประโยชน์ของโครงการ ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาล หรือการเมืองไม่นิ่ง โครงการต่างๆ ก็ถูกปรับเปลี่ยนและชะลอออกไปไม่ต่อเนื่อง ดั้งนั้นในฉบับที่ 12 นี้ เราจะบรรจุให้ชัดเจน ไม่ว่ารัฐบาลชุดไหนมาก็ต้องเดินหน้าตามแผนต่อไป โครงการก็จะเกิดความต่อเนื่อง" นายอาคม กล่าว

    สำหรับ โครงการที่จะบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ส่วนใหญ่แล้ว เป็นโครงการตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 ประกอบด้วย โครงการที่จะเริ่มดำเนินการภายในปี 2559 คือ สายสีส้ม (ตะวันออก) ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยมีนบุรี ระยะทาง 21.2 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 110,116 ล้านบาท และสายสีม่วงใต้ เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. วงเงิน 91,716 ล้านบาท ส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้ คือ ช่วงคูคต-ลำลูกกา และสมุทรปราการ- บางปู ก็จะบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ ไปจนเสร็จสิ้น

โครงการในอนาคต

     นายอาคม กล่าวว่าสำหรับโครงการใหม่ ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล แคราย-บึงกุ่ม ระยะทางประมาณ 21 กม. สายสีเทา วัชรพลพระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ ระยะทางประมาณ 26 กม. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด และโครงการก่อสร้างทางพิเศษช่วงสะพานพระราม 9- ถนนพระราม 2 และยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟส 2 อีก 7 เส้นทางมูลค่ากว่าแสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณา EIA ประกอบด้วย 1.ปากน้ำโพ-เด่นชัย ระยะทาง 285 กม. 2.ชุมทางถนนจิระ-อุบลราชธานี ระยะทาง 309 กม.3.ขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 174 กม. 4.ชุมพร-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 167 กม.5.สุราษฎร์ธานี-สงขลา ระยะทาง 339 กม. 6.หาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ระยะทาง 45 กม. 7.เด่นชัย-เชียงราย ระยะทาง 217 กม.

เซ็นสัญญา 2 เส้นทางคู่

     นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคมที่ผ่านมา การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดพิธีลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 2 เส้นทาง กับผู้รับงาน ประกอบด้วย 1.สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 10,524 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 สัญญา โดยแบ่งเป็นสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-วิหารแดง และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย พร้อมทางคู่เลี่ยงเมือง (Chord Lines) 3 แห่ง ลงนามกับบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนิยริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ผู้รับงาน วงเงิน 9,825,810,000 บาท และ สัญญาที่ 2 งานก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ ช่วงวิหารแดง-บุใหญ่ พร้อมอุโมงค์รถไฟ ลงนามกับบริษัท ไร้ท์ทันเน็ลลิ่ง จำกัด เป็นผู้รับงาน วงเงิน 407,049,596 บาท 2 โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 187 กม. วงเงิน 23,622 ล้านบาท ซึ่งมีเพียง 1 สัญญา โดยลงนามกับกลุ่มกิจการร่วมค้า ซีเคซีเอช ที่มีบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมกับบริษัท ช.ทวีก่อสร้าง จำกัด ผู้รับงาน วงเงิน 23,444,021,000.00 บาท

      โดยบรรยายในพิธีลงนามในสัญญานั้น ได้ให้บริษัทเอกชนแถลงความเชื่อมั่น ในการก่อสร้างโครงการด้วย โดยระบุว่า หลังจากนี้ รฟท.จะเร่งส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ผู้รับงานทั้ง 3 ราย โดยประเมินว่าจะส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดได้ภายในเดือนมกราคม 2559 และผู้รับงานจะเริ่มการก่อสร้างได้ทันทีในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ซึ่งงานก่อสร้างทั้ง 2 สายทาง จะใช้พื้นที่ของ รฟท.ทั้งหมด ไม่ต้องเวนคืน เพิ่มและไม่มีปัญหาการบุกรุกที่ดิน และการก่อสร้างแต่ละสายทางจะใช้เวลา 3 ปี โดยผู้รับงานทั้ง 3 ราย ถือเป็นผู้มีประสบการณ์สูง และต่างให้การยืนยันว่าจะสามารถส่งมอบงานได้ตามที่กำหนดในสัญญา

ดัน 4 เส้นทางคู่

      นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ยังได้ระบุต่อถึงโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟสแรกที่เหลืออีก 4 เส้นทางว่า ล่าสุดสายประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,290.63 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อเตรียมนำส่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยคาดว่าจะเปิดประกวดราคาได้ช่วงปลายเดือนมกราคม 2559 ขณะวันที่ 23 ธันวาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบผลศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. วงเงิน 29,853.18 ล้านบาทแล้ว และคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 ส่วนอีก 2 สายทางคือ สายลพบุรี-ปากน้ำโพระยะทาง 148 กม. วงเงิน 24,842 ล้านบาท และสายนครปฐม-หัวหินระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,038 ล้านบาท อยู่ระหว่างการนำ ส่งข้อมูล EIA เพิ่มเติม ให้คณะผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (คชก.) ซึ่งนายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ รฟท. ยืนยันว่าจะสามารถประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ที่เหลืออีก 4 เส้นทาง พร้อมลงนามในสัญญาได้ครบทุกสายทางภายในเดือนพฤษภาคม 2559

      นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่กระทรวงคมนาคมมีแผนที่จะเร่งผลักดันโครงการโครงสร้างพื้นฐานให้เกิดเป็นรูปแบบอีก ซึ่งจะสอดคล้องกับนโยบายของนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ที่ได้เดินทางมอบนโยบายการทำงานให้กับกระทรวงคมนาคม ว่าภารกิจเร่งด่วนที่ต้องการให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดมีอยู่ 3 แผนงาน คือ การดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ กับหัวลำโพง-บางแค และการก่อสร้างรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ดอนเมือง-บางซื่อ-พญาไทระยะทาง 21.8 กิโลเมตร วงเงิน 31,103.55 ล้านบาท รวมทั้งอยากให้กระทรวงคมนาคมเร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ช่วงแม่สอด-มุกดาหาร เพื่อรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ซึ่งเส้นทางนี้จะทำให้ไทยกลายเป็นจุดผ่านของประเทศจีน เวียดนาม พม่า และอินเดีย

     ส่วนโครงการพัฒนาระบบรางตามความร่วมมือแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) คือความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ในเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุดระยะทาง 873 กิโลเมตร และความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นในเส้นทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กิโลเมตร และรถไฟขนาดรางกว้าง 1 เมตร เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบังระยะทาง 574 กิโลเมตรนั้น ยืนยันว่ารัฐบาลยังคงผลักดันโครงการต่อไป แต่ได้มอบนโยบายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเรื่องเงื่อนไขการกู้เงินจากต่างประเทศให้รอบคอบ เพราะหากได้เงื่อนไขที่ไม่เกิดประโยชน์กับฝ่ายไทยก็ควรกลับมาพิจารณาเงินกู้ในประเทศ หรือระดมทุนด้วยการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานจะเหมาะสมกว่า

      ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมยังมีแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก และถือเป็นหน่วยงานหลักในการสร้างความสามารถด้านการแข่งขันให้กับประเทศ ดังนั้นจึงอยากให้เรียงลำดับความสำคัญของโครงการให้ชัดเจน ว่าควรลงทุนโครงการใดก่อนหลัง รวมทั้งควรใช้รูปแบบรัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public private Partnership : PPP) ให้มากที่สุด เพื่อผ่อนภาระด้านงบประมาณของรัฐบาล โดยไม่ต้องจำกัดรูปแบบ PPP แบบเดิมที่ให้เอกชนร่วมลงทุนเฉพาะงานระบบ ตัวรถและเดินรถ แต่อาจให้ร่วมทุนตั้งแต่ขั้นตอนการก่อสร้างเลยก็ได้

      อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการรูปแบบ PPP นั้น ปัจจุบันกระทรวงคมนาคมกระทำอยู่แล้ว โดยร่วมทุนในส่วนของระบบ ตัวรถ และเดินรถ แต่คงไม่มีการทบทวนโครงการให้กระทำ PPP ตั้งแต่งานก่อสร้าง เพราะโครงการทั้งหมด 17 โครงการที่มีแผนดำเนินงานในช่วง 2 ปีนี้ (2558-2559) ได้วาง รูปแบบไว้ชัดเจนหมดแล้ว หากปรับใหม่ก็จะทำให้งานล่าช้า ส่วนการจัดตั้งกองทุนโครงสร้างพื้นฐานนั้น ยอมรับว่าการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานยังมีจุดอ่อนคือให้ผลตอบแทนทางการเงินต่ำ จึงไม่จูงใจให้เอกชนเข้าซื้อกองทุน ขณะนี้กระทรวงคมนาคมจึงยังไม่มีแผนจัดตั้งกองทุนฯ เพื่อโครงการใด

ครม.ไฟเขียวโครงการก่อสร้าง

       นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้รับการอนุมัติแผนดำเนินโครงการจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกอบด้วยโครงการก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) โครงการก่อสร้างของกรมทางหลวง (ทล.) ทั้ง 3 เส้นทางประกอบด้วย 1.โครงการบางปะอิน-นครราชสีมา (โคราช) ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างประมาณ 84,000 ล้านบาท โดยมีแผนดำเนินการระหว่างปี 2559-2562 ซึ่งจะใช้งบประมาณแผ่นดินดำเนินการเรื่องเวนคืนที่ดิน ส่วนวงเงินก่อสร้างนั้นเป็นการกู้เงินโดยกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการ 2.โครงการบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรีระยะทาง 96 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างประมาณ 54,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายเส้นทางแรก 3.โครงการพัทยามาบตาพุดระยะทาง 32 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างประมาณ 20,200 ล้านบาท โดยจะใช้วงเงินจากกองทุนมอเตอร์เวย์มาใช้ในการก่อสร้างประมาณ 14,000 ล้านบาท และอีกกว่า 6,000 ล้านบาท ใช้งบประมาณแผ่นดินในการเวนคืนที่ดิน ระยะดำเนินการ  2558-2561

      และเมื่อวันที่ 8 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี วงเงินรวม 1.1 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนงานก่อสร้าง 9.5 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ครม.เห็นชอบให้กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาเงินกู้ที่เหมาะสมในกรอบวงเงิน ค่าก่อสร้าง รวมค่าจ้างที่ปรึกษาเป็นเงิน 8.54 หมื่นล้านบาท โดยมีค่ากรรมสิทธิ์ที่ดินและค่าสำรวจอสังหาริมทรัพย์ 9,600 ล้านบาท และให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณที่มาจากรายได้ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นค่าใช้จ่ายเพียงพอต่อการบริหารงานและการลงทุน ส่วนที่เหลือเป็นงานระบบเดินรถและตัวรถไฟฟ้า ซึ่งจะเข้ากระบวนการให้เอกชนเข้าร่วมทุน (PPP) โดยให้ รฟม.และกระทรวงคมนาคมนำเสนอเรื่องการเดินรถเข้าที่ประชุม PPP โดยเร็วที่สุด

      สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มฝั่งตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรีมีระยะทาง 21.2 กม. เป็นทางวิ่งยกระดับ 9 กม. ทางวิ่งใต้ดิน 12.2 กม. ทั้งหมดมี 17 สถานี บนดิน 7 สถานี และสถานีใต้ดิน 10 สถานี จุดเริ่มต้น อยู่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ออกถนนพระราม 9 วิ่งเข้าสู่ถนนรามคำแหง เข้าแยกถนนกาญจนาภิเษกไปสิ้นสุด ที่ใกล้จุดตัดถนนรามคำแหงกับถนนสุวินทวงศ์ คาดการณ์จะมีจำนวนผู้โดยสาร 4.8 แสนคน/วัน

บ้านเมือง : ทีมข่าวเศรษฐกิจ/รายงาน

'คมนาคม'ยกระดับคุณภาพชีวิตดันเมกะโปรเจ็กต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

        ไทยโพสต์ : แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือโครงการเมกะโปรเจ็กต์ ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงคมนาคม ถือว่าเป็นส่วนหนึ่ง ที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการของไทย เพราะโครงสร้างพื้นฐานที่ดี ช่วยลดต้นทุนการผลิต และการคมนาคมที่ดียังเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้ รวมถึงเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต

       ดังนั้น การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม จึงกลายเป็นสิ่งที่ประชาชน และเอกชนต่างก็ฝากความหวังไว้กับรัฐบาลชุดปัจจุบันอย่างมาก จึงถือเป็นภาระที่สำคัญของกระทรวงคมนาคม ที่จะต้องขับเคลื่อน ผลักดัน และเร่งรัด โครงการที่ทั้งภาคประชาชน และเอกชนต่างก็เฝ้ารอกันมานาน ให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หรือเริ่มลงมือก่อสร้าง

     สำหรับ ยุทธการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของไทยนั้น แบ่งการดำเนินงานไว้ 5 แผนงาน ประกอบด้วย 1.) การพัฒนาเครือข่ายรถไฟระหว่างเมือง อาทิการปรับปรุงระบบอุปกรณ์ และโครงสร้างพื้นฐาน, การพัฒนาระบบรถไฟทางคู่, 2.) การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรใน กทม.และปริมณฑล อาทิรถไฟ้า 10 สายทาง, การจัดซื้อรถประจำทางหรือรถเมล์ และการก่อสร้างโครงข่ายถนนและสะพานใน กทม. และปริมณฑล 3.) การเพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเชื่อมฐานการผลิตของประเทศ และประเทศเพื่อนบ้าน, 4.) การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ 5.) การเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการขนส่งทางอากาศ

เร่งเดินหน้า 5 แผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน

      นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่ารัฐบาลจะสามารถขับเคลื่อนผลักดันและเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 ด้านจำนวน 19 โครงการ ใช้เม็ดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.77 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการวางฐานทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ โดยทุกโครงการจะสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ราวไตรมาส 3 ของปี 59

    สำหรับ โครงการลงทุนทั้ง 5 ด้าน อาทิ โครงข่ายขนส่งระบบรางระหว่างเมือง, โครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล, โครงข่ายถนน, การขนส่งทางน้ำ และการขนส่งทางอากาศ ซึ่งประกอบด้วย 19 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สาย คือ พัทยา-มาบตาพุด, บางปะอิน-นครราชสีมา, บางใหญ่-กาญจนบุรี, โครงการรถไฟทางคู่ 5 ช่วง คือ คลอง 19-แก่งคอย, จิระ-ขอนแก่น, มาบกะเบา-จิระ, นครปฐม-หัวหิน และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, โครงการไฟความเร็วสูง 2 สาย คือ กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีน และกรุงเทพฯพิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น, โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล 5 สาย คือ สายสีม่วงใต้ (เตาปูนราษฎร์บูรณะ), สายสีชมพู (แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี), สายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง), สีแดงเข้ม (บางซื่อ-หัวหมาก)/แดงอ่อน (พญาไทดอนเมือง), สีส้ม (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี), โครงการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2, การขยายท่าเรือแหลมฉบัง

      อย่างไรก็ตาม นายอาคม ย้ำว่าโครงข่ายเส้นทางคมนาคมที่จะลงทุนดังกล่าวมุ่งไปยังแนวชายแดน เพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าที่มีอัตราเฉลี่ยปีละ 10-15% รองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ตลอดจนรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งชุมชนที่เป็นแหล่งผลิตและแหล่งท่องเที่ยว

ดันไทยฮับขนส่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

       ด้าน นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยคมนาคม กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ประกอบกับที่ตั้งของประเทศเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีความได้เปรียบในการเป็นศูนย์กลางการเดินทางและขนส่งของภูมิภาคด้วยการคมนาคมขนส่งหลากหลายรูปแบบ

       รวมทั้ง สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะระบบราง ซึ่งเป็นรูปแบบการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถขนส่งผู้โดยสารและสินค้าได้ในปริมาณมาก ด้วยราคาต่อหน่วยที่ถูกกว่าการขนส่งทางถนน โดยกระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558-2565 เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาระบบรางของประเทศให้เดินหน้า

ลุยพัฒนาโครงข่ายระบบรางทุกระบบ

                ซึ่งในส่วนของกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดพัฒนาโครงข่ายระบบรางทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทั้ง 10 สายทาง รถไฟทางคู่ในระยะเร่งด่วน 7 เส้นทางภาย ในปี 2564  ระยะที่ 2 อีก 7 เส้นทาง การพัฒนาทางรถไฟสายใหม่ 3 เส้นทาง รวมทั้งการพัฒนารถไฟขนาดรางมาตรฐาน เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

ครม.จี้ผุดแผนแม่ฯ รับเมกะโปรเจ็กต์

      อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้กระทรวงคมนาคมเร่งยกร่างแผนแม่บทโครงการก่อสร้างที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานระยะที่ 2 ทั้งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า ทางด่วนพิเศษระหว่างเมือง ทางด่วนยกระดับ รถไฟทางคู่ การพัฒนาท่าเรือ เข้าไปบรรจุในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่จะเริ่มใช้ในปี 2560-2564 เพื่อให้โครงการลงทุนมีความต่อเนื่อง และเชื่อมโยงไปต่างจังหวัด และประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน พร้อมทั้งรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลที่เข้ามาบริหารประเทศก็ตาม

     อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ไปศึกษายกร่างแผนแม่บทระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการสร้างรถไฟฟ้าเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจตอนใน การลงทุนเพื่อเชื่อมโยงจากเศรษฐกิจชั้นในสู่ชั้นนอก โดยเชื่อมจากเมืองไปสู่ถนนวงแหวนรัชดาภิเษก การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมจาก กทม.ไปยังจังหวัดที่มีรัศมีห่างกรุงเทพฯ 60-100 กม. เช่น จาก กทม.ไปนครปฐม กทม.-แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา กทม.-บ้านภาชี เพื่อไปเชื่อมต่อกับรถไฟชานเมือง ตลอดจนการเชื่อมพื้นที่จากเมืองชั้นนอกไปยังเมืองต่างๆ ของประเทศไทย

รถไฟ้า 10 สายทาง อนุมัติครบภายในปี 2559

     สำหรับ แผนแม่บทโครงสร้างพื้นฐานะระยะที่ 1 การก่อสร้างรถไฟฟ้า 10 สาย ทุกโครงการจะอนุมัติได้ครบภายในปี 2559 โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี รูปแบบก่อสร้าง จะเป็นรูปแบบรถไฟฟ้ารางเดี่ยวยกระดับตลอดสาย ระยะทาง 34.5 กม. จำนวน 30 สถานี งบประมาณ 56,725.00 ล้านบาท, สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าวสำโรง รูปแบบก่อสร้าง Monorail  ยกระดับตลอดสาย, สายสีเขียว ช่วงสมุทรปราการ-บางปู และคูคต-ลำลูกกาคลอง 4, สายสีม่วง ช่วง

        เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ รูปแบบก่อสร้างจะเป็นแบบ รถไฟฟ้ามวลหนัก หรือ Heavy  Rail โครงสร้างใต้ดินและยกระดับ ระยะทาง 23.6 กม. ใต้ดิน 10 สถานี ยกระดับ 7 สถานี วงเงินลงทุน 131,171.97 ล้านบาท

       อย่างไรก็ตาม โครงการเหล่านี้จึงต้องมีการศึกษาโครงการระยะต่อไปเพิ่มเติม เช่น โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ ตลิ่งชัน, สายสีเทา ช่วงวัชรพลพระโขนง-สะพานพระราม 9-ท่าพระ และสายสีน้ำตาล แคราย-บึงกุ่ม จะถูกบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ซึ่งโครงการส่วนหนึ่งอยู่ในแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประเทศประเทศ ระยะ 8 ปี 2558-2565

                นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 จำนวน 7 เส้นทาง โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) ส่วนที่เหลือจากแผนงานที่ดำเนินการในปัจจุบัน โดยทาง สนข. จะต้องรวบรวมข้อมูลโครงการ ที่จะบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 12 โดยจะใช้เวลาศึกษากรอบการดำเนินการต่างๆ ประมาณ 1 ปี และนำไปบรรจุไว้

ผลักดันการก่อสร้างรถไฟทางคู่ก่อสร้าง

      สำหรับ ความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างเร่งผลักดันโครงการรถไฟทางคู่ขนาด 1 เมตร ทั้งระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 รวม 14 เส้นทาง ให้มีการก่อสร้างและประกวดราคาได้ในปี 2559 ทั้งหมด โดยรถไฟทางคู่ขนาดทาง 1 เมตร ระยะแรก 7 เส้นทาง ขณะนี้ ได้

       เปิดประมูลเสร็จแล้ว 2 เส้นทาง คือ ฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้าแก่งคอย 106 กม. วงเงิน 1.1 หมื่นล้านบาท และจิระ-ขอนแก่น 185 กม. วงเงิน 23,444 ล้านบาท ซึ่งจะทำสัญญาและเริ่มสร้างปีหน้า

     ส่วนอีก 5 เส้นทางที่เหลือ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 167 กม.วงเงิน 17,290 ล้านบาท จะเสนอ ครม.และเปิดประมูลได้เดือน ม.ค. 59 ขณะที่มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 132 กม.วงเงิน 29,853 ล้านบาท นครปฐม-หัวหิน 165 กม.วงเงิน 20,036 ล้านบาท ลพบุรี-ปากน้ำโพ 148 กม.วงเงิน 24,842 ล้านบาท และหัวหินประจวบคีรีขันธ์ 90 กม.วงเงิน 9,437 ล้านบาท อยู่ระหว่างรอผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวด ล้อมคาดจะเสร็จและทยอยเปิดประมูลได้ทั้ง หมดไตรมาสแรกปี 59 จากนั้นเริ่มลงมือก่อสร้างได้ทั้งหมดในเดือน พ.ค.ของปีเดียวกัน

ปี 59 การพัฒนาระบบรางครั้งใหญ่ของประเทศ"

      ในปี 2559 จะเป็นปีที่มีการพัฒนาระบบรางครั้งใหญ่ของประเทศ ซึ่งนอกจากโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทางแล้ว ทางคู่ระยะสองอีก 7 เส้นทางก็จะเริ่มประมูลได้ปลายปีเหมือนกัน โดยตามแผนทุกเส้นทางต้องเปิดใช้ได้ภายในปี 64 ซึ่งมั่นใจจะช่วยเพิ่มความเร็วขบวนรถขนส่งสินค้าจาก 40 กม.ต่อชั่วโมง เป็น 60 กม. และรถไฟสำหรับขนส่งผู้โดยสารเพิ่มจาก 60 กม.ต่อชั่วโมง เป็น 100 กม.ได้ ช่วยลดต้นทุนระบบโลจิสติกส์ของประเทศได้"

     ทั้งนี้ เมื่อนำมูลค่าโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ทั้งระยะที่ และระยะที่ 2 มารวมกัน จะทำให้มีเม็ดเงินทยอยลงทุนพัฒนารถไฟทางคู่ในปี 2559 มากกว่า 3 แสนล้านบาท แบ่งเป็นโครงการทางคู่ระยะแรก 7 เส้นทาง วงเงินกว่า 1.3-1.4 แสนล้านบาท และโครงการรถไฟทางคู่ระยะ 2 ซึ่งประเมินราคาไว้ปี 2556 จำนวน 7 เส้นทาง อีก 1.61 แสนล้านบาท

        มาที่อีก 1 โครงการเมกะโปรเจ็กต์ ที่เป็นการร่วมมือกัน ระหว่าง 2 ประเทศ คือโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน ปัจจุบันอยู่ระหว่างบริษัทที่ปรึกษาอยู่ระหว่างตรวจสอบรายละเอียดในส่วนของรูปแบบการก่อสร้างโครงการ และสัดส่วนการลงทุน เพื่อพิจารณาวงเงินการลงทุน โดยตั้งเป้าให้แล้วเสร็จในเดือน ม.ค.-ก.พ.2559

        อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ไทยยังอยู่ระหว่างศึกษาปรับปรุงรูปแบบการลงทุน ที่จะเปิดให้ฝ่ายจีนเข้ามาร่วมในรูปแบบการร่วมทุน เหตุเพราะฝ่ายไทยมีความต้องการให้จีนเพิ่มสัดส่วนในการลงทุนมากขึ้น ทั้งในส่วนของการเดินรถ และระบบอาณัติสัญญาณ รวมทั้งเพิ่มสัดส่วนการลงทุนงานก่อสร้าง และงานโยธา เนื่องจากปัจจุบันวงเงินโครงการสูง โดยเรื่องนี้กระทรวงการคลังจะเป็นประธานไปหารือในรายละเอียดเช่นเดียวกัน ทั้งนี้สำหรับกรณีที่มีการมอบหมายให้กระทรวงคลังมาดูแลเรื่องวงเงินการลงทุน และเงินกู้ เนื่องจากเห็นว่ากระทรวงคลังมีความเชี่ยวชาญมากกว่ากระทรวงคมนาคม และจะสามารถสรุปรายละเอียดเพื่อเร่งขับเคลื่อนโครงการได้.

         "ในปี 2559 จะเป็นปีที่มีการพัฒนาระบบรางครั้งใหญ่ของประเทศ ซึ่งนอกจากโครงการรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน 7 เส้นทางแล้ว ทางคู่ระยะสองอีก 7 เส้นทาง ก็จะเริ่มประมูลได้ปลายปีเหมือนกัน โดยตามแผนทุกเส้นทางต้องเปิดใช้ได้ภายในปี 64"

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!