WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DOHอานนท เหลองบรบรณกรมทางหลวง จ่อดึงเอกชนลงทุนพีพีพี ผุดมอเตอร์เวย์ 2 เส้นใหม่ มูลค่า 1.1 แสนล้าน

    กรมทางหลวง ดึงเอกชนร่วมทำพีพีพี ลงทุน มอเตอร์เวย์ 2 สาย'นครปฐม-ชะอำ และสงขลา-ด่านสะเดา' มูลค่า 1.1 แสนล้าน หวังบูมโครงการเร่งด่วน พร้อมปักหมุดโรดแม็ป 20 ปี งบกว่า 2.11 ล้านล้านบาท ผุดเพิ่มอีก 21 เส้น รับเขตศก.พิเศษ เชื่อมเออีซี...

       นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า เตรียมดึงภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนแบบภาครัฐและเอกชน (พีพีพี) ในโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) 2 เส้นทาง มูลค่ารวม 1.1 แสนล้านบาท ได้แก่ สายนครปฐม ชะอำ ระยะทาง 118 กม. วงเงิน 80,600ล้านบาท และมอเตอร์เวย์สายสงขลา ชายแดนไทย มาเลเซีย (ด่านสะเดา) ระยะทาง 83 กม. โดยโครงการนครปฐม-ชะอำ อยู่ระหว่างการศึกษา ส่วนมอเตอร์เวย์ด่านสะเดา จะมีการศึกษาจัดทำระยะแรกก่อน 55-60 กม.ในปี 60 วงเงิน 30,000ล้านบาท

      อย่างไรก็ตาม แนวทางที่ศึกษาเบื้องต้นการลงทุน ทั้งสายนครปฐม และสายสงขลา หากจะเกิดความคุ้มค่าที่สุดน่าจะลงทุนแบบพีพีพี กรอส คอส์ท คือเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนทั้งโครงการตั้งแต่ทุนการก่อสร้าง บำรุงรักษา และดำเนินการ โดยสายนครปฐมชะอำ จะนำผลการศึกษาส่งให้กับกระทรวงคมนาคมพิจารณาเดือน ก.ย. 59 ก่อนส่ง ครม.ซึ่งถือเป็นมอเตอร์เวย์เส้นต่อไปที่จะเห็นชัดเจน ต่อเนื่องมอเตอร์เวย์ 3 สายที่ผ่าน ครม.แล้ว คือ สายบางปะอิน นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาท ,สายบางใหญ่กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน ทุน 55,600 ล้านบาท และ สายพัทยา มาบตาพุด ระยะทาง 32 กม. วงเงิน 20,200 ล้านบาท

     นอกจากนี้ ยังได้จัดทำแผนแม่บทการพัฒนามอเตอร์เวย์เพิ่มเติมอีก 21 เส้นทาง โดยแบ่งเป็น 2 ระยะๆละ 10 ปี รวมทั้งสิ้น 6,612 กม. วงเงินลงทุน 2.11 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย ตาก-มุกดาหาร ระยะทาง 704 กม. สุรินทร์-บึงกาฬ ระยะทาง 465 กม. นครสวรรค์-อุบลราชธานี ระยะทาง 610 กม. ทางแยกระดับอุตราภิมุข-บางปะอิน-เชียงราย ระยะทาง 908กม. บางปะอิน-หนองคาย ระยะทาง 540 กม. , กรุงเทพ-บ้างฉาง ระยะทาง 153 กม. ,นครปฐม-นราธิวาส ระยะทาง 1,068 กม. ,วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ระยะทาง 165 กม.

     รวมถึงมอเตอร์เวย์เส้นทาง เชียงใหม่-ลำปาง ระยะทาง 53 กม. , สุพรรณบุรี-ชัยนาท ระยะทาง 42 กม. , วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันตก-บางปะหัน ระยะทาง 48 กม., ชลบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 288 กม. ,วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันออก-สระบุรี ระยะทาง 78 กม. ,วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันออก-สระแก้ว ระยะทาง 204 กม. ,ชลบุรี-ตราด ระยะทาง 216 กม. บางใหญ่-กาญจนบุรี (ด่านพุน้ำร้อน) ระยะทาง 165 กม. ,วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 2 ด้านตะวันตก-ปากท่อ ระยะทาง 74 กม., สุราษฎร์ธานี-ภูเก็ต ระยะทาง 191 กม. ,สงขลา-ชายแดนไทย/มาเลเซีย (ด่านสะเดา) ระยะทาง 83 กม. ,วงแหวนรอบนอกกรุงเทพ รอบที่ 3 ระยะทาง 245 กม. และ ชลบุรี-นครปฐม ระยะทาง 312 กม.

         “ผลที่เกิดจากการลงทุนแผนแม่บทที่กรมทางหลวงวางไว้ จะมีเงินหมุนเวียนในระบบการผลิตมูลค่ากว่า 5.76 ล้านล้านบาท สร้างการขยายตัวทางด้านการจ้างงาน 4.62 ล้านล้านบาท รวมทั้งจะก่อให้เกิดการขยายตัวทางด้านภาพรวมเศรษฐกิจ มูลค่ากว่า 1.57 ล้านล้านบาท

                ที่มา : www.thairath.co.th

ทล. ระดมความคิดมอเตอร์เวย์ตามแผน 20 ปี ชี้ 2 สาย นครปฐม-ชะอำ,หาดใหญ่-ชายแดนมาเลย์เหมาะลงทุนก่อน

    นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผยว่า จากการสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อแผนแม่บทการพัฒนาทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(มอเตอร์เวย์) ของประเทศไทย ระยะเวลาดำเนินงาน 20 ปี (2560-2579) รวม 21 สายทางระยะทางทั้งสิ้น 6,612 กม. ในเบื้องต้นพบว่ามี 2 เส้นทางที่เหมาะสมจะลงทุนเป็นลำดับแรก คือ สายนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 120 กม. วงเงินลงทุน 80,600 ล้านบาท และสายหาดใหญ่-ชายแดนมาเลเซีย ระยะทาง 83 กม. วงเงินลงทุนราว 30,000 ล้านบาท

    เนื่องจากปัจจุบันแนวเส้นทางดังกล่าวมีปริมาณการจราจรหนาแน่น โดยสายนครปฐม-ชะอำนั้น มีการศึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ รวมถึงได้รับความเห็นชอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว โดยคาดว่าสรุปข้อเสนอจะสรุปผลศึกษาการลงทุนในรูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) เสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาในเดือนก.ย.59

     สำหรับ แผนแม่บทมอเตอร์เวย์ 21 สายทางนี้ กรมทางหลวงได้นำแผนแม่บทเดิมที่มี 13 เส้นทาง ระยะทาง 4,150 กม. ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือนเม.ย.40 มาปรับปรุงใหม่ เป็นแผน 20 ปี มี 21 สายทาง ระยะทางเพิ่มเป็น  6,612 กม. โดยจะสรุปผลการศึกษาในปลายปีนี้ จากนั้นจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบต่อไป โดยจะมีการจัดลำดับความสำคัญของเส้นทางที่จะดำเนินงานก่อนหลังด้วย

     ส่วนการลงทุนนั้น คาดว่า จะเป็นไปได้ทั้งการร่วมทุน PPP และการใช้เงินจากกองทุนฯ หรือรัฐลงทุนเอง ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับนโยบาย เพราะในแต่ละเส้นทางจะมีปัจจัยในการพิจารณารูปแบบการลงทุนที่แตกต่างกัน

     รองอธิบดีกรมทางหลวง กล่าวถึงความคืบหน้าการประมูลก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายพัทยา-มาบตาพุด 32 กม. วงเงิน 20,200 ล้านบาทว่า ขณะนี้ได้ผู้จ้างแล้ว 3 ตอน คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ในเดือนม.ค.59 ส่วนอีก 9 ตอนที่เหลือ เนื่องจากอยู่ระหว่างปรับปรุง TOR หลังจากมีการทักท้วง ส่วนสายบางปะอิน-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กม. วงเงิน 84,600 ล้านบาท จะเริ่มทยอยประกาศ TOR ในบางตอนที่ไม่มีข้อติดขัดเรื่อง EIA ได้ในเดือนธ.ค.58- ม.ค.59 เช่น ช่วงทางต่างระดับ เป็นต้น ส่วนสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กม. วงเงิน 55, 620 ล้านบาทนั้น คาดว่าจะขายซองได้ประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย.59

        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!