WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม รมว.คมนาคม เชื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเรียกความเชื่อมั่น-หนุนการฟื้นตัวของศก.

       นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการเมกะโปรเจคต์ถือเป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจสำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป นอกเหนือจากภาคการท่องเที่ยว โดยปัจจุบันภาครัฐได้วางแผนโครงการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมในช่วง 8 ปี (2558-2565) ไว้ 20 โครงการ วงเงินรวม 1.796 ล้านล้านบาท เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยจะเร่งให้มีการอนุมัติโครงการและมีการประกวดราคาให้แล้วเสร็จช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2559 และเริ่มทยอยก่อสร้างในบางโครงการได้เริ่มตั้งแต่ไตรมาส 1-3 ของปีหน้า เพื่อให้เกิดการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถของการแข่งขันในระยะต่อไป

      "มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นเป็นเพียงมาตรการระยะสั้นที่ออกมาพยุงไม่ให้เศรษฐกิจชะลอ ขณะที่ด้านของการลงทุนในโครงการต่างๆนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งเราจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้น และเชื่อมั่นว่าหากโครงสร้างพื้นฐานเราดี นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศจะเข้ามา" นายอาคม  กล่าว

     ในส่วนของกระทรวงคมนาคมนั้นได้มีแผนการทำงานระยะ 8 ปี คือตั้งแต่ปี 2558-2565 ที่จะต้องเร่งพัฒนาทั้งระบบ ทั้งทางบก น้ำ อากาศ และระบบราง โดยประกอบด้วย 5 แผนงาน คือ แผนงานที่ 1.การพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้าระหว่างเมืองในส่วนของรถไฟรางคู่ ในระยะเร่งด่วนมี 6 สาย คือ 1.เส้นฉะเชิงเทรา-คลอง 19-แก่งคอย 2.เส้นจิระ-ขอนแก่น ซึ่งอยู่ระหว่างการประกวดราคา 3.เส้นประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร อยู่ระหว่างการนำเสนอเข้าที่ประชุมครม. 4.เส้นลพบุรี-ปากน้ำโพ  มาบกะเบา-จิระ และ 5.เส้นนครปฐม-หัวหิน อยู่ในขั้นตอนของคณะกรรมสิ่งแวดล้อม

    ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟรางคู่มาตรฐาน 1.435 เมตร ที่มีการร่วมมือกับทางจีน ขณะนี้จะเร่งดำเนินการในส่วนเส้นกรุงเทพฯ-แก่งคอย และเส้นแก่งคอย-นครราชสีมา ซึ่งจะมีการเปิดตัวโครงการรถไฟไทย-จีนที่อาคารศูนย์ควบคุมอาคารเดินรถที่เชียงรากน้อยในวันที่ 19 ธันวาคมนี้ ส่วนรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่เป็นความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกลางปี 2559 จะมีการเสนอรายงานผลการศึกษาชั้นกลางเข้าสู่ที่ประชุม ครม.และก่อนสิ้นปีจะมีเสนอต่อ ครม.ขออนุมัติโครงการต่อไป

      แผนงานที่ 2.การพัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในกทม.และปริมณฑล ประกอบด้วยรถไฟฟ้า 10 เส้นทาง ระยะทาง 464 กิโลเมตร, แผนงานที่ 3.การพัฒนาถนนเส้นทางมอเตอร์เวย์ มี 3 เส้นทาง คือเส้นบางปะอิน-นครราชสีมา เส้นพัทยา-มาบตาพุด อยู่ระหว่างการประกวดราคา และเส้นบางใหญ่-กาญจนบุรี

    แผนงานที่ 4.การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำ เน้นการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งได้มีการช่องทางจราจรจาก 4 ช่องทางเป็น 7 ช่องทาง และแผนงานที่ 5.การเพิ่มขีดความสามารถการให้ลริการขนส่งทางอากาศ ซึ่งจะมีการขยายอาคารเพื่อรองรับผู้โดยสารเพิ่มมากขึ้น ทั้งอาคารแซตเทิลไลท์ที่จะรองรับผู้โดยสารได้ 25 ล้านคนต่อปี อาคารเทอมินอล 2 รองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคน โดยอยู่ระหว่างการประกวดราคาในเดือนธันวาคมนี้ พร้อมทั้งจะมีการขยายสนามบินดอนเมือง ด้วยการเปิดเทอมินอล 2 ในช่วงต้นปี 2559

      สำหรับ แหล่งเงินลงทุนโครงการด้านคมนาคมขนส่ง 20 โครงการ เป็นงบประมาณ 84,065.19 ล้านบาท แผนบริหารหนี้สาธารณะ 1.265 ล้านล้านบาท การร่วมลงทุนภาครัฐและเอกชน หรือ PPP 3.76 แสนล้านบาท เงินรายได้ 55,502 ล้านบาท และเงินกองทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง 14,200 ล้านบาท

                        อินโฟเควสท์

รมว.คมนาคมมั่นใจก่อสร้างรถไฟรางคู่ ไทย-จีน เดินหน้าได้เร็ว พร้อมลงนามกรอบความร่วมมือ 19 ธ.ค.นี้

    รมว.คมนาคม เผย 19 ธ.ค. ลงนามความร่วมมือก่อสร้างโครงการรถไฟรางคู่ไทย- จีน นับเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ยอมรับช่วงเบื้องต้นของการก่อสร้างยกให้จีนทำ เพราะต้องอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อขุดเจาะอุโมงค์ ทางBBL พร้อมให้การสนับสนุนเงินทุน เพื่อก่อร่างเส้นทางสายไหม เพราะผลประโยชน์จากการลงทุนยุทธศาสตร์ดังกล่าว คาดว่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ

     นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในวันที่ 19 ธ.ค. นี้ โครงการก่อสร้างรถไฟรางคู่ไทย-จีน จะมีการลงนามความร่วมมือก่อสร้าง และความร่วมมือด้านสินค้าเกษตร ซึ่งเป็นเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ของรัฐบาลจีน จากอดีตใช้วิธีเดินเท้า แต่ขณะนี้ได้เร่งพัฒนาการเดินทางเชื่อมโยงทั้งทางบกและทะเลกับทวีปต่างๆทั่วโลก และไทยจะได้ประโยชน์ทางรถไฟที่เชื่อมต่อผ่านประเทศไทย  ซึ่งความคืบหน้าโครงการรถไฟรางคู่ไทย-จีนมีความก้าวหน้ามากในรัฐบาลนี้ที่มีรายละเอียดการเจรจาและมีข้อตกลงกันได้เรื่องเส้นทางก่อสร้าง  การขุดอุโมงค์และสถานีรถไฟ   โดยเฉพาะเส้นทางก่อสร้างคาดว่าจะทำได้เร็ว โดยเส้นทาง 4  ช่วงขณะนี้เริ่มก่อสร้างได้ในเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย และ แก่งคอย-นครราชสีมา ส่วนแก่งคอย-มาบตาพุดและนครราชสีมา-หนองคาย ต้องใช้เทคโนโลยีสูงขุดเจาะอุโมงค์และต้องปรับเส้นทางรถไฟที่มีมากในมาบตาพุดให้ลงตัว  

   "รถไฟรางคู่ความคืบหน้าเราจะมีการลงนามในวันที่ 19 ธ.ค. นี้ โดยจะเริ่มจากสถานีเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นศูนย์ควบคุมและบริหารการเดินรถ โดยรูปแบบการลงทุนและรูปแบบรถจะมีการหารือกันอีกครั้ง โดยเบื้องต้นการขุดเจาะอุโมงค์ต้องอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงซึ่งทางจีนจะเป็นคนทำ ส่วนพื้นราบพวกรางรถไฟน่าจะเป็นทางฝั่งไทยทำ ซึ่งทางการจีนต้องการให้ไทยรับรองคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อความปลอดภัยสูงสุด ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารถไฟฟ้าในไทยดำเนินการก่อสร้างโดยคนไทย เพราะฉะนั้นเรื่องคุณภาพจึงไม่เป็นปัญหา"นายอาคม กล่าว

   ด้านนายชาติศิริ โสภณพนิช  กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL เปิดเผยว่า ยุทธศาสตร์ One Belt and One Road  หรือ เส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเลแห่งศตวรรตที่ 21 ของจีนจะเป็นจุดหักเหของการทำธุรกิจและเปิดช่องทางการลงทุนในอีก 5-10  ปีข้างหน้า รวมทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้าน  ประกอบด้วยรถไฟควาเร็วสูง รถไฟ ท่าเรือ สนามบิน ถนน และ โครงสร้างพื้นฐานที่ทางการจีนจะผลักดันให้เกิดขึ้น ส่วนไทยจะได้ประโยชน์จากเส้นทางความเร็วสูงจากคุนหมิงเชื่อมจีนตะวันตกผ่านลาวมายังจังหวัดหนองคาย เชื่อมต่อมากรุงเทพฯ- สิงคโปร์  เป็นการเปิดประตูเชื่อมต่อไปยังยุโรปได้

   ทั้งนี้ ผลประโยชน์จากการลงทุนจากยุทธศาสตร์ One Belt and One Road คาดว่าสูงถึง 1.6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาได้   และธนาคารมีความพร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือลูกค้าด้านเงินลงทุน โดยปัจจุบันธนาคารมีสาขา 6 แห่งในจีน ประกอบด้วยเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เซี่ยเหมิน เซินเจิ้น  ฉงชิ่ง

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!