WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

RealWayวฒชาต กลยาณมตรผู้ว่ารฟท.ยืนยันถูกต้องโปร่งใส ซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ 7 ขบวน

      แนวหน้า : นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยถึงกรณีการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งค์ใหม่ 7 ขบวนว่า ในขั้นตอนของการดำเนินการตามขั้นตอนการจัดซื้อเป็นไปอย่างถูกต้องและผ่านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึงการทำประชาพิจารณ์โดยราคาต่อขบวนอยู่ที่ประมาณ 135 ล้านบาทต่อตู้ ซึ่งมีราคาต่ำกว่าราคาที่ได้รับอนุมัติจัดซื้อในล็อตแรกเมื่อที่ 149 ล้านบาทต่อตู้ และการที่ราคาจำหน่ายทั้งหมดอยู่ที่ 4,800 ล้านบาท โดยสูงกว่าของประเทศมาเลเซียที่มีราคาประมาณ 1,508 ล้านบาท เนื่องจากการจัดซื้อของไทยได้รวมระบบอำนวยความสะดวกและอะไหล่สำรองของตัวรถเข้าไปด้วย ส่วนมาเลเซียจัดซื้อเฉพาะตัวรถเท่านั้น

      ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่มีการล็อคสเปคเนื่องจากเป็นการกำหนดมาตรฐานจากยุโรป และต้องใช้ระบบอาณัติสัญญาณของบริษัท ซีเมนต์ ซึ่งเป็นบริษัทจัดหาระบบรางและโลจิสติกส์ระดับสากล ส่วนแผนการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ทั้งอีก 7 ขบวน คาดว่าจะใช้งบประมาณในการจัดซื้อ 4,400 ล้านบาท และอีก 400 ล้านบาทจะเป็นค่าอะไหล่สำรอง ซึ่งคาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ในเดือน ธ.ค.นี้ และจะนำมาให้บริการได้ในปี 2561 ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น 120,000 คนต่อวัน จากปัจจุบัน 60,000 คนต่อวัน

      ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมศูนย์ซ่อมบำรุงคลองตัน รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ และมอบนโยบายแก่บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด(รฟฟท.)ว่า การลงพื้นที่ครั้งนี้เพื่อมาสำรวจความพร้อมในการรองรับผู้โดยสารที่จะมีการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ต่อปี ซึ่งก็มีความพอใจในแผนการดำเนินงานในปีนี้และปีหน้าที่จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นได้

       ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันได้มีการปรับแผนการเดินรถให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจากเดิม 15-20 นาทีต่อขบวน เป็น 12-15 นาทีต่อขบวน และยังมีแผนในระหว่างรอรับขบวนรถไฟฟ้าชุดใหม่ 7 ขบวน ได้แก่ 1)การฟื้นฟูขบวนรถไฟฟ้า ให้ใช้ได้ทั้งหมด 9 ขบวน จากปัจจุบันอยู่ที่ 7 ขบวน และยกเลิกการให้บริการรถไฟฟ้าด่วนมาให้บริการรถไฟฟ้าธรรมดา 2)การเสริมการให้บริการในช่วงเวลาเร่งด่วน และ3)การปรับปรุงภายในตู้ขบวนรถไฟฟ้า และตู้สัมภาระ ให้รองรับผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้น ซึ่งแผนงานเหล่านี้จะสามารถรองรับการเติบโตของผู้โดยสารได้อีกประมาณ 3 ปี อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมมีแผนแยกการบริหารงานของแอร์พอร์ตลิ้งค์ออกจาก ร.ฟ.ท.ภายในกลางปีหน้า ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการบริหารต้นทุนการเดินรถไฟฟ้าและการจัดเก็บรายได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!