- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Wednesday, 07 October 2015 09:41
- Hits: 3539
‘สมคิด’บี้คมนาคมลงทุน พัฒนาระบบรางเชื่อมการขนส่ง
แนวหน้า : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจเปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมว่าได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งแผนการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ซึ่งจะมีความสำคัญทั้งการขนส่งสินค้าและรถไฟโดยสาร จำเป็นต้องดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อการขนส่งจากตะวันออกไปตะวันตกตอนล่างคือเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง เป็นเส้นทางแรก เนื่องจากจากเส้นทาง ดังกล่าวสามารถรับส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าและมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตลอดทั้งเส้นทาง หากเริ่มดำเนินการได้ก็จะขนส่งสินค้าไปเมียนมาร์ อินเดีย และบริเวณท่าเรือรวดเร็วมากขึ้นคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเปิดประมูลได้ภายในสิ้นปีนี้หากมีโอกาสไปญี่ปุ่นในช่วงปลายเดือนนี้ ก็จะเจรจาในเส้นทางนี้ก่อน
ส่วนเส้นทางรถไฟจากแม่สอด-มุกดาหาร ที่เชื่อมต่อจากตะวันออกไปยังตะวันตกตอนบนนั้นจะมีประโยชน์กับการขนส่งคน โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ภาคอีสาน และยังพัฒนาต่อเนื่องไปยังภาคเหนือและภาคตะวันตกได้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีความสำคัญที่จะพัฒนาเส้นทางมอเตอร์เวย์ควบคู่กับการพัฒนาระบบรางจะช่วยให้การเชื่อมต่อเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากขณะนี้การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมาร์เริ่มมีเอกชนเข้าไปเตรียมการลงทุนในพื้นที่แล้ว
สำหรับ โครงการรถไฟไทย-จีน ได้ขอให้กระทรวงคมนาคมจะพยายามเร่งรัดลงทุนให้ได้โดยเร็ว เพราะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ซึ่งเส้นนี้จะทำให้ 2 ข้างทางในแต่จังหวัดเจริญเติบโตตามและเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงขึ้น นอกจากนี้ได้เร่งรัดโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งกระทรวงคมนาคมยืนยันว่าโครงการรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง คือ สายสีชมพู สายสีเหลือง และสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายใหม่ น่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติภายในปี 2558
ด้านรมว.คมนาคมกล่าวว่า การพัฒนารถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ขณะนี้มีแผนเร่งรัดดำเนินการอยู่แล้ว โดยการพัฒนาระบบรางเพื่อเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายนั้น ญี่ปุ่นแสดงความสนใจขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา อย่างไรก็ตาม แนวเส้นทางดังกล่าวจะมีโครงการมอเตอร์เวย์ บางใหญ่-กาญจนบุรี เชื่อว่าจะเริ่มประกวดราคาและก่อสร้างปี 2559 ขณะที่ระบบรางอื่นจะดำเนินการได้หลังจากนี้
สมคิดเร่งทางคู่ไทย-จีน-ญี่ปุ่นหวังรองรับนิคมฯทวายมั่นใจปี 58 เปิดประมูลได้
ไทยโพสต์ : ราชดำเนิน * สมคิดเร่งคมนาคมผลักดันประมูลรถไฟไทย-ญี่ปุ่นควบ คู่ไทย-จีน มั่นใจภายในปี 2558 เปิดประมูลได้บางตอน หวังเชื่อมตะวันออก-ตะวันตก รองรับการขนส่งทั้งคนและสินค้าจากทวาย
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้หารือกับผู้บริหารกระทรวงคมนาคมเพื่อติดตามความคืบ หน้าโครงการก่อสร้างทางรถไฟ และถนน โดยได้สั่งการให้เร่ง รัดการก่อสร้างรถไฟตะวันออก- ตะวันตก (East-West Corridor) แนวด้านล่างเส้นทางกาญจนบุรีกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประ เทศ และเส้นทางกรุงเทพฯฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าและคน
ทั้งนี้ ทางกระทรวงคมนาคม ให้ความมั่นใจว่าภายในสิ้นปี 2558 จะสามารถประกวดราคา ได้ในบางตอนที่มีความพร้อม โดยสามารถแบ่งเป็นตอนๆ ก่อสร้างเช่นโครงข่ายถนนตะวันออกตะวันตก (East-West Corridor) จากมุกดาหาร-พิษณุโลก-ตากแม่สอด ซึ่งอยู่แนวด้านบนนั้น ขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จกว่า 50% แล้ว เหลือบางตอนที่จะเร่งการก่อสร้างจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2559
นายสมคิด กล่าวว่า ส่วนความร่วมมือไทย-จีนในการพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย, แก่งคอยมาบตาพุด, แก่งคอย-โคราช, โคราช-หนองคาย ระยะทาง 873 กม.จะเร่งรัดเช่นกัน โดยต้องปรับเงินลงทุนเพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้ รวมถึงต้องมีแผนพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ทั้งด้านเศรษฐกิจและท่องเที่ยว และต้องเป็นการลงทุนระยะยาว
"ไทยอยากทำโครงการทั้ง 2 เส้นทาง คือ เส้นทางรถไฟร่วมมือกับญี่ปุ่น และที่ร่วมมือกับจีนจะต้องเดินหน้าไปคู่กัน เพื่อให้แนวรถไฟเหนือ-ใต้ และตะวันออก-ตะวันตก ตัดกันที่ไทย และไทยจะกลายเป็นจุดศูนย์กลางของเออีซีทันที ซึ่งจะเกิดประ โยชน์กับประเทศอย่างยิ่ง" นายสมคิดกล่าว
นอกจากนี้ ยังได้เร่งรัดการเดินรถโครงการรถไฟฟ้าสาย สีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบาง ซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กม. และเตรียมเสนอโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำ โรง ระยะทาง 29.1 กม. วงเงินลงทุน 54,644 ล้านบาท, รถไฟ ฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. วงเงินลง ทุน 56,691 ล้านบาท ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในปลายปี 2558 นี้ เพื่อให้โครงการเดินหน้าไปตามเป้าหมาย เพราะช่วงเวลานี้สำคัญมากสำหรับการลงทุน
นายอาคม เติมพิทยาไพ สิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า โครงการรถไฟฟ้า 3 สายนั้นได้ผ่าน ครม.แล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างสอบ ถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง รวมถึงเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ด้วย ส่วนงานเดินรถสีน้ำเงินส่วนต่อขยายนั้น คาดว่า ครม.จะพิจารณาได้เร็วๆ นี้ หลังจาก ครม.เห็นชอบจะเสนอ คณะกรรมการ PPP พิจารณาต่อไป และในต้นปี 2559 จะเสนอ ครม.อีก 2 เส้นทาง คือ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมมีนบุรี ระยะทาง 21 กม. และสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม.
"ส่วนรถไฟทางคู่นั้น ขณะนี้โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ทาง บมจ.อิตาเลียนไทย ได้เริ่มปรับพื้นที่ และคาดว่าในปี 2559 ลูกค้าจะเข้าไปยังพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมทวายประมาณ 60% จำเป็นต้องเร่งรัดเส้นทางรถไฟคู่ขนานไปกับการพัฒนาด่านผ่านแดนพุน้ำร้อน และการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สายกาญจนบุรี-บางใหญ่ ไปคู่กันภาย ในปี 2559" นายอาคมกล่าว.
เร่งประมูลโครงการรถไฟทางคู่
บ้านเมือง : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการเดินทางมายังกระทรวงคมนาคม เพื่อประชุมร่วมกับผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ในการติดตามแผนรายละเอียดการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม โดยโครงการที่เร่งด่วนของการกำกับดูแลกรมทางหลวง (ทล.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ว่าโดยที่ประชุมได้สรุปในส่วนของเส้นทางที่สำคัญ คือโครงการก่อสร้างรถไฟเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก (East-West Corridor) ช่วงแม่สอด-มุกดาหาร ระยะทาง 815 กิโลเมตร เป็นเส้นทางที่สามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศเมียนมา โดยโครงการจะแล้วเสร็จภายในปี 2559 แน่นอน ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าตามแผนที่กำหนด
ส่วนเส้นทางรถไฟทางคู่ใน เส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ (Southern Corridor) ช่วง กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทางรวม 574 กิโลเมตร ซึ่งถือว่าเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญที่สุด เนื่องจากสามารถขนส่งทั้งผู้โดยสารและการขนส่งสินค้าได้ โดยหากเส้นทางดังกล่าวแล้วเสร็จก็จะเป็นอีกเส้นทางหนึ่งที่จะสามารถขนส่งจากไทยเชื่อมต่อประเทศเมียนมาและประเทศอินเดียนั้น เกิดความรวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เส้นทางดังกล่าวจะสามารถเร่งการประมูลได้ภายในปี 2558 โดยจะเริ่มดำเนินการเป็นลักษณะบางตอน หรือทั้งเส้นกระทรวงคมนาคมจะเป็นผู้ศึกษารายละเอียดอีกครั้ง
"เส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ด้านบน ช่วงมุกดาหาร-ขอนแก่น-พิษณุโลกแม่สอด-ตาก โดยเส้นทางนี้อาจจะมีความต้องการด้านขนส่งผู้โดยสารมากกว่าการขนส่งสินค้า โดยจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออก และภาคตะวันตก ซึ่งเส้นทางนี้คาดว่าจะเป็นแผนต่อไปที่จะมีการผลักดัน ส่วนโครงการรถไฟ ไทย-จีนนั้น ขณะนี้ได้ทำรายละเอียดช่วงของกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยจะเร่งรัดโครงการนี้ดำเนินการไปโดยเร็ว ซึ่งมองว่าเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์เนื่องจากจะทำให้เกิดความเจริญด้านเศรษฐกิจทั้ง 2 ข้างทาง ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะต้องมีแผนการพัฒนาของเมืองให้ชัดเจนด้วย ทั้งนี้ จะต้องหารือร่วมกับจีนว่าจะช่วยเหลือเราในรูปแบบใด อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าจะสามารถเสนอรายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 เส้นทาง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง รถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง -บางแค โดยจะเร่งผลักดันให้เป็นตามแผนที่กำหนด" นายสมคิด กล่าว
'สมคิด'จี้คมนาคมเร่งพัฒนา รถไฟไทย-ยุ่นสายแม่สอด-มุกดาหาร
แนวหน้า : นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังการเป็นประธานการประชุมโครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ว่า ได้มีการมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมเร่งแผนการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับระบบราง ซึ่งจะมีความสำคัญทั้งการขนส่งสินค้าและรถไฟโดยสาร และมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการก่อสร้างเส้นทางรถไฟที่จะเชื่อมต่อการขนส่งจากตะวันออกไปตะวันตกตอนล่างคือเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง เป็นเส้นทางแรก เนื่องจากเส้นทางดังกล่าว สามารถรับส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้าและมีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตลอดทั้งเส้นทาง หากเริ่มดำเนินการได้ก็จะสามารถขนส่งสินค้าไปเมียนมาร์ อินเดีย และบริเวณท่าเรือรวดเร็วมากขึ้นโดยคาดว่า จะสามารถเริ่มดำเนินการเปิดประมูลได้ภายในสิ้นปีนี้ และหากได้มีโอกาสเดินทางไปญี่ปุ่นในช่วงปลายเดือนนี้ก็จะดำเนินการเจรจาหารือในเส้นทางนี้ก่อน
ในส่วนของเส้นทางรถไฟจากแม่สอด-มุกดาหาร ที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อจากตะวันออกไปยังตะวันตกตอนบน เส้นทางนี้ก็เป็นเส้นที่ต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างเช่นกัน แต่การขนส่งสินค้ายังมีไม่มากนัก แต่จะมีประโยชน์กับการขนส่งคน โดยเฉพาะในจังหวัดใหญ่ภาคอีสาน และยังสามารถพัฒนาต่อเนื่องไปยังภาคเหนือและภาคตะวันตกได้ ซึ่งโครงการดังกล่าวจะมีความสำคัญที่จะพัฒนาเส้นทางมอเตอร์เวย์ควบคู่กับการพัฒนาระบบรางจะช่วยให้การเชื่อมต่อเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากข้อมูลขณะนี้การพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมาร์เริ่มมีเอกชนผู้ลงทุนเข้าไปเตรียมการลงทุนในพื้นที่แล้ว
ทั้งนี้ สำหรับโครงการรถไฟไทย–จีน ได้มีการขอให้ทางกระทรวงคมนาคมจะพยายามเร่งรัดในการดำเนินการลงทุนให้ได้โดยเร็ว เพราะมองว่าเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะช่วงกรุงเทพ- นครราชสีมา จึงอยากให้เร่งการเจรจาเรื่องผลตอบแทนทางการเงินให้สามารถดำเนินโครงการได้เร็วมากขึ้น ซึ่งเส้นนี้จะมองผลตอบแทนทางการเงินดีขึ้นและต้องการประหยัดงบประมาณ และจะทำให้ 2 ข้างทางในแต่จังหวัดเจริญเติบโตตามเพื่อให้เกิดการพัฒนาตลอดแนวเส้นทางเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจในจังหวัดต่าง ๆ เชื่อว่าจะทำให้โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงขึ้นจะเป็นปัจจัยช่วยให้การเจรจากับจีนเกิดความคืบหน้ารวดเร็ว ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยเชื่อว่าสุดท้ายจีนน่าจะผ่อนปรนให้
นอกจากนี้ ได้มีการเร่งรัดโครงการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งวันนี้กระทรวงคมนาคมยืนยันว่าโครงการรถไฟฟ้าอีก 3 เส้นทาง คือ สายสีชมพู สายสีเหลือง และส่ายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายใหม่น่าจะสามารถเสนอ ครม.อนุมัติโครงการภายในปี 2558
ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในระยะต่อไปต้องดำเนินการขอเจรจากับทางญี่ปุ่นเพื่อขอให้ศึกษาเส้นทางแม่สอด-มุกดาหารเพิ่มเติม ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่เพราะเป็นเส้นทางเชื่อมภาคเหนือกับภาคอีสาน และจะเน้นการขนส่งสินค้าเป็นหลัก และคาดว่าจะใช้ระยะเวลาศึกษาไม่ถึง 1 ปี ส่วนการเจรจาด้านการเงินกับจีนเรื่องโครงการรถไฟ ต้องมีการศึกษาเส้นทางที่ยาวกว่านครราชสีมา ซึ่งต้องรวมประมาณการผู้โดยสารจากขอนแก่นและหนองคายด้วย เพราะขณะนี้ผลตอบแทนทางการเงินยังติดลบ แต่ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจเป็นบวก 12%
ทั้งนี้ ในส่วนการพัฒนารถไฟแนวตะวันออก-ตะวันตกเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย ขณะนี้มีแผนเร่งรัดดำเนินการอยู่แล้ว โดยการพัฒนาระบบรางเพื่อเชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายที่ทางญี่ปุ่นแสดงความสนใจขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษา นอกจากนี้ส่วนรถไฟฟ้า 3 สายได้แก่สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงหัวลำโพง บางแค และบางซื่อ ท่าพระ เรื่องการเดินรถสีชมพูช่วงแคราย - มีนบุรีและสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว – สำโรงคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในปีนี้ ส่วนเส้นทางรถไฟสายสีส้มตะวันออก ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี และสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ในต้นปี 2559