- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Tuesday, 29 September 2015 07:06
- Hits: 2927
อาคม เผยรัฐบาลตั้งเป้าผลักดันลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 19 โครงการ มูลค่า 1.77 ล้านลบ.ใน Q3/59
รมว.คมนาคม มั่นใจรัฐบาลจะสามารถขับเคลื่อน ผลักดัน และเร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 ด้าน จำนวน 19 โครงการ ใช้เม็ดเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1.77 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นการวางฐานทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นๆ โดยทุกโครงการจะสามารถเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ราวไตรมาส 3 ของปี 59
"ทั้ง 19 โครงการ มีเม็ดเงินลงทุนราว 1.7 ล้านล้านบาท อยู่ในวิสัยที่ทำได้ จะเห็นผลเป็นรูปธรรมได้ราวไตรมาส 3 ของปี 59" นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวในการบรรยายในหัวข้อ "นับถอยหลัง---สู่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน"
สำหรับ โครงการลงทุนทั้ง 5 ด้าน คือ โครงข่ายขนส่งระบบบรางระหว่างเมือง, โครงข่ายรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล, โครงข่ายถนน, การขนส่งทางน้ำ และการขนส่งทางอากาศ ซึ่งประกอบด้วย 19 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ 3 สาย คือ พัทยา-มาบตาพุด, บางปะอิน-นครราชสีมา, บางใหญ่-กาญจนบุรี, โครงการรถไฟทางคู่ 5 ช่วง คือ คลอง 19-แก่งคอย, จิระ-ขอนแก่น, มาบกระเบา-จิระ, นครปฐม-หัวหิน และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, โครงการไฟความเร็วสูง 2 สาย คือ กรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีน และกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น, โครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล 5 สาย คือ สายสีม่วงใต้(เตาปูน-ราษฎร์บูรณะ), สายสีชมพู(แคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี), สายสีเหลือง(ลาดพร้าว-สำโรง), สีแดงเข้ม(บางซื่อ-หัวหมาก)/แดงอ่อน(พญาไท-ดอนเมือง), สีส้ม(ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี), โครงการขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่สอง, การขยายท่าเรือแหลมฉบัง
โดยในส่วนโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล 5 สาย จะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ราวธ.ค.58 - มี.ค.59 และเริ่มก่อสร้างในไตรมาส 4/59 ขณะที่โครงการขยายสุวรรณภูมิเฟส 2 คาดเสนอเข้าที่ประชุมครม.ได้เร็วสุดในเดือนธ.ค. 58 หรืออย่างช้าสุดไม่เกินเดือนมี.ค.59 เช่นกัน
"จะเสนอเข้า ครม.คงบอกเวลาที่ชัดเจนไม่ได้ แต่เร็วสุดในไตรมาสที่สามปีนี้ หรืออย่างช้าสุดไม่เกินไตรมาสแรกของปีหน้า" นายอาคม กล่าว
โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอผลศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เนื่องจากมีการปรับแผนการลงทุนจากเดิมที่จะเป็นการสร้างทางวิ่งระยะทาง 2,900 เมตร แต่ขยายเป็นระยะทาง 3,500 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ และรองรับกรณีต้องปิดซ่อมบำรุงทางวิ่งแรก
นายอาคม กล่าวว่า โครงข่ายเส้นทางคมนาคมที่จะลงทุนดังกล่าวมุ่งไปยังแนวชายแดนเพื่อรองรับการขยายตัวทางการค้าที่มีอัตราเฉลี่ยปีละ 10-15% รองรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ตลอดจนรองรับการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปยังแหล่งชุมชนที่เป็นแหล่งผลิตและแหล่งท่องเที่ยว
ด้านนายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) คาดว่าจะเปิดประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี) ระยะทาง 21.1 กม. มูลค่าราว 1 แสนล้านบาท ได้ในช่วงไตรมาส 2/59 หลังจากเสนอครม.อนุมัติภายในปีนี้
"สิ้นปีน่าจะรับอนุมัติจากครม.หลังจากนั้นเราเริ่มกระบวนการประกวดราคา จัดทำราคากลาง น่าจะภายในไตรมาส 2 ปี 59 ก็เริ่มประกวดราคา หลังจากคาดว่ารถไฟสายอื่นก็จะเวลาไล่เลี่ยกัน"
นอกจากนี้ คาดว่า ครม.น่าจะอนุมัติโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ ระยะทาง 23.6 กม. มูลค่าราว 1แสนล้านบาทภายในสิ้นปีนี้
สำหรับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ระยะทาง 30.4 กม. และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูข่วงแคราย-มีนบุรี ระยะทาง 34.5 กม. คาดใช้เวลามากกว่าสายอื่น เพราะจะเปิดให้เอกชนเจ้ามาร่วมลงทุนทั้งโครงการคือทั้งงานโยธา, การจัดหารถและบริหารการเดินรถ คาดว่าจะคัดเลือกเอกชนได้แล้วเสร็จในปี 59 ทั้ง 4 โครงการดังกล่าว
ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย (หัวลำโพง-บางแค และบางซื่อ-ท่าพระ) มีความก้าวหน้างานก่อสร้างทั้ง 5สัญญา. อยู่ที่ 65.83% (ณ ส.ค. 58) ซึ่งล่าช้ากว่าแผน เพราะที่ผ่านมามีปัญหาการเวนคืนที่ดิน ส่วนงานเดินรถ ทางรฟม.ได้ส่งให้ก.คมนาคมแล้วให้ยุติการใช้รูปแบบตามพ.ร.บ.ร่วมทุน 2535 แต่มาใช้พ.ร.บ.ร่วมทุนเอกชนปี 56 แทนซึ่งจะเสนอต่อครม.เพื่ออนุมัติ จากนั้นรฟม.จะนำกลับมาศึกษารูปแบบการลงทุนใหม่และส่งให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐหรือคณะกรรมการ PPP พิจารณาและกำหนดรูปแบบต่อไป
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กม. จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 12 สิงหาคม 2559 ซึ่งรฟม.มีแนวคิดบริหารจัดการเพื่อเพิ่มความสะดวกผู้โดยสารที่เป็นสุภาพสตรี โดยจัดตู้โดยสารขบวนกลางให้เป็นตู้เฉพาะสำหรับสุภาพสตรีเท่านั้น หรือเลดี้ โบกี้ เฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงเช้าและช่วงเย็นซึ่งมีปริมาณผู้โดยสารหนาแน่น เช่นเดียวกับในต่างประเทศโดยเฉพาะอินเดียซึ่งมีผู้ใช้บริการหนาแน่น
ที่ผ่านมา รฟม.ได้เสนอแนวทางดังกล่าว ไปยัง บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (BMCL) ผู้ให้บริการรถไฟใต้ดินสายเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงิน ซึ่ง BMCL อยู่ระหว่างพิจารณารูปแบบดังกล่าว เพราะปัจจุบันมีสายสีน้ำเงินมีปริมาณผู้โดยสารหนาแน่นในวันธรรมดา คือ 2.9 แสนเที่ยวต่อวัน แต่ยังสามารถบริหารจัดการได้
สาเหตุที่ต้องการจัดให้มีตู้เลดี้โบกี้ เพราะปัจจุบัน โดยเฉพาะชั่วโมงเร่งด่วนผู้โดยสารส่วนใหญ่มักจะยืนบริเวณทางเข้าออกขบวนรถ แต่ไม่เดินเข้าไปกลางขบวนทำให้เกิดความแออัดในขบวนรถ ซึ่งรฟม.เห็นใจผู้โดยสารสุภาพสตรีที่ไม่ต้องการเบียดเสียด เพราะอาจกังวลเรื่องความปลอดภัย จึงต้องการอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสาร
อินโฟเควสท์
คนไทยเตรียมพร้อมใช้รถไฟฟ้าสีม่วง หลังญี่ปุ่นส่งมอบ 3 ขบวนแรกถึงไทยแล้ว
บ้านเมือง : โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้านั้น ถือเป็นโครงการเมกกะโปรเจกต์ที่ต้องใช้เม็ดเงินการลงทุนเป็นจำนวนมาก ซึ่งโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-เตาปูนนั้น ขณะนี้มีความคืบหน้าใกล้จะเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยได้มีการรับขบวนรถจาก เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น เป็นที่เรียบร้อยจำนวน 3 ขบวน จากทั้งหมดจำนวน 21 ขบวน 63 ตู้ ที่ท่าเรือแหลมฉบังเมื่อวันที่ 21 กันยายนที่ผ่านมา
การรับมอบขบวนรถดังกล่าว โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยนายปลิว ตรีวิศวเวทย์ ประธานกรรมการบริษัท รถฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BMCL นายสมบัติ กิจจาลักษณ์ กรรมการผู้จัดการ BMCL ได้ทำพิธีรับมอบรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่บางซื่อ ที่เดินทางจากท่าเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น มาถึงประเทศไทยที่ท่าเรือแหลมฉบัง เมื่อวันที่ 18 กันยายนที่ผ่านมา จำนวน 2 ขบวน และได้เดินทางมาถึงในวันที่ 22 กันยายน ที่ผ่านมา อีก 1 ขบวน
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่ากระทรวงคมนาคม ระบุว่า การรับมอบขบวนรถในครั้งนี้ ถือเป็นการรับมอบล็อตแรก 3 ขบวน และจะทยอยส่งมาให้ครบภายในต้นปี 2559 อย่างไรก็ตาม การเปิดให้บริการรถไฟฟ้านั้นเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของประชาชนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ซึ่งประชาชนที่เคยเดินทางด้วยทางเรือโดยสารก็สามารถเชื่อมต่อที่สะพานพระนั่งเกล้าได้ อย่างไรก็ตาม จะมีการทดสอบระบบครั้งแรกประมาณเดือน ธ.ค. 58 แต่จะเปิดให้ประชาชนนั่งทดสอบฟรีในเดือน มิ.ย.59 ในระยะเวลา 2 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในเดือน ส.ค.59
"ที่ผ่านมาประเทศญี่ปุ่น ก็ตื่นเต้นที่ได้เป็นผู้ผลิตรถไฟฟ้าในประเทศไทย ซึ่งขณะทางกลุ่มบริษัท J-TREC ผู้ผลิตรถไฟฟ้าให้กับประเทศไทยได้ส่งทีมงานมาทำงานในไทยด้วย ส่วนใหญ่ประชาชนไทยก็ชื่นชอบระบบรถไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่นอยู่แล้วเนื่องจากมีความปลอดภัยสูง"
สำหรับ ความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างทำรายละเอียดเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) นั้นประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี, รถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วง ลาดพร้าว-สำโรง, รถไฟฟ้าสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ สำหรับสายสีม่วงใต้นั้น คาดว่าไม่เกินเดือนธ.ค.นี้จะเสนอครม.ได้ ส่วนสายสีชมพู, สายเหลือง และสายสีส้มนั้นอยู่ระหว่างกระบวนการพิจารณาเพื่อเสนอขออนุมัติต่อไป ทั้งนี้ หากการก่อสร้างสายสีม่วงใต้แล้วเสร็จจะถือว่าเป็นเส้นทางที่สมบูรณ์มากที่สุด เพราะสามารถให้บริการได้ตั้งแต่เหนือ-ใต้ ทั้งนี้ หากได้รับอนุมัติแล้วก็จะสามารถดำเนินการเรื่องทีโออาร์ได้ประมาณเดือนปี 2559 ส่วนการก่อสร้างก็สามารถเริ่มโครงการได้ภายในปลายปี 2559 ส่วนการเดินรถโครงการสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง-บางแคนั้น คาดว่าเร็วๆ นี้จะสามารถนำเสนอต่อครม.ได้เพื่อสรุปเรื่องผู้เดินรถดังกล่าว
สำหรับ การกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ระบุว่า สำหรับการกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น จะพิจารณากำหนดตามอัตราพื้นฐานคือ เริ่มต้นที่16 บาท และจะคิดตามระยะทางสถานีละ 2 บาท ซึ่งเป็นการกำหนดตาม รฟม.ในปัจจุบัน
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) กล่าวว่าสำหรับขบวนรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-เตาปูน บริษัท BMCL ได้รับสัมปทานจาก รฟม. ทั้งเป็นผู้ลงทุนจัดหาระบบรถไฟฟ้าให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษาเป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 จำนวน 63 ตู้ 21 ขบวน โดยแต่ละขบวนจะมีตู้โดยสาร 3 ตู้ และรองรับผู้โดยสารได้ขบวนละ 921 คนต่อขบวน ให้บริการครอบคลุมทั้งหมด 16 สถานี ระยะทางทั้งสิ้น 23 กิโลเมตร และสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 50,000 คนต่อชั่วโมงต่อทิศทาง ส่วนความคืบหน้างานระบบขณะนี้อยู่ 75%
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและสายใหม่ รวมระยะทาง 94 กิโลเมตร โดยรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ เป็นเส้นทาง ที่ รฟม. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จเป็นลำดับแรก มีระยะทางประมาณ 23 กิโลเมตร โดยจะก่อสร้างเป็นรถไฟฟ้าแบบยกระดับ (ลอยฟ้า) ตลอดทั้งสายมีสถานีจำนวน 16 สถานี ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่ สถานีตลาดบางใหญ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางพลู สถานีบางรักใหญ่ สถานีท่าอิฐ สถานีไทรม้า สถานีสะพานพระนั่งเกล้า สถานีแยกนนทบุรี 1 สถานีศรีพรสวรรค์ สถานีศูนย์ราชการนนทบุรี สถานีกระทรวงสาธารณสุข สถานีแยกติวานนท์ สถานีวงศ์สว่าง สถานีบางซ่อน และสถานีเตาปูน โดยมีสถานีเตาปูนเป็นสถานีเปลี่ยนเส้นทาง (Interchange Station) ระหว่างสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน
โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงมีแนวทางวิ่งใหญ่อยู่กลางถนน มีจุดเริ่มต้นบนถนนกาญจนาภิเษก เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี ถนนประชาราษฎร์ และถนนประชาราษฎร์ 2 ใช้ระบบรถไฟฟ้ารางหนัก (Heavy Rail) แบบเดียวกับสายสีเขียวและสีน้ำเงิน มีที่จอดแล้วจรอยู่ 4 แห่ง คือสถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 ทั้งนี้โครงการดังกล่าวได้ดำเนินการ การสำรวจและออกแบบรายละเอียด โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เอเชี่ยน เอนจิเนียริ่ง คอนซัลแต้นส์ จำกัด บริษัท พีบี เอเชีย จำกัด บริษัท แปซิฟิค คอนซัลแทนส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท ไทยเอนจิเนียริ่งคอนซัลแตนทส์ จำกัด บริษัท ดีไซน์ คอนเซป จำกัด ดีอี-คอนซัลท์ ดอยซ์ ไอเซนบาห์น-คอนซัลติ้ง จีเอ็มบีเอช และบริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด
รฟม.คาดช้า 7 เดือนเชื่อมสีม่วง-น้ำเงินปิ๊ง!ผุด'เลดี้โบกี้'วิ่ง
ไทยโพสต์ : คมนาคม * รฟม.ระบุเชื่อมรถไฟฟ้าใต้ดินสีน้ำเงินกับสีม่วง ช่วงเตาปูน-บางซื่อ ไม่ทันเปิดใช้สายสีม่วง คาดล่าช้า 7 เดือน ประสาน ขสมก.เดินรถขนผู้โดยสารไปก่อน ปิ๊ง! เสนอบีเอ็มซีแอลผุด "เลดี้ โบ กี้" ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ลดปัญหารอรถนาน
นายพีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เจรจาเดินรถเชื่อมสถานีบางซื่อกับสถานีเตาปูน กับ บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ (บีเอ็มซีแอล) แล้ว ซึ่งจะช่วยให้รถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคลที่ให้บริการอยู่ในปัจจุบัน สามารถเชื่อมกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อได้ แต่คาดว่าจะเชื่อมสถานีดังกล่าวได้ในเดือน มี.ค.2560 ล่าช้ากว่าการเปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีม่วงในเดือน ส.ค.2559 ออกไปประมาณ 7 เดือน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ยังไม่สามารถเชื่อมต่อรถไฟฟ้าได้ ทาง รฟม.จะจัดหารถชัตเติลบัส หรือประสานกับองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ในการจัดหารถมาอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการช่วงรอยต่อดังกล่าวไปก่อน โดยคาดว่าจะมีผู้ใช้บริการวันละประมาณ 1-1.5 แสนคน
สำหรับ การเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแคนั้น ที่ประ ชุมคณะกรรมการ รฟม.ที่มี พล.อ. ยอดยุทธ บุญญาธิการ เป็นประธาน ยังยืนยันที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในประเด็นที่ให้เปลี่ยนจากการใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2535 มาใช้ พ.ร.บ.ร่วมทุนปี 2556 แทน แต่ไม่ได้มีรายละเอียดเรื่องรูปแบบ การว่าจ้างเอกชนว่าจะเป็นพีพีพี กรอสคอสต์ (จ้างเอกชนเดินรถ) หรือ พีพีพี เน็ต คอสต์ (เอกชนเดินรถแบ่งรายได้ให้รัฐ) หาก ครม.เห็นชอบตามที่ รฟม.เสนอ ทาง รฟม.จะนำข้อมูลมาศึก ษาและเสนอให้คณะกรรมการพีพี พีพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่าง ไรต่อไป
นายพีระยุทธ กล่าวว่า ขณะนี้ได้เสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอ ครม.แล้ว มีสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมมีนบุรี และสายสีม่วง ช่วงเตาปูนราษฎร์บูรณะ หาก ครม.เห็นชอบในเวลาใกล้เคียงกันจะสามารถจัดทำเอกสารประกวดราคาและประ กวดราคาได้ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2559 ส่วนสายสีชมพู แคราย- มีนบุรี และสายสีเหลือง ลาดพร้าว- สำโรง จะต้องใช้เวลา เนื่องจากต้องเข้าสู่กระบวนการพีพีพี
นายพีระยุทธ กล่าวว่า เตรียมเสนอให้บีเอ็มซีแอลจัดทำเลดี้ โบกี้ หรือตู้รถสำหรับผู้หญิงใน ขบวนรถไฟฟ้าเฉลิมรัชมงคล หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน เพื่อลดปัญหาผู้โดยสารรอขบวนรถนาน และรองรับการเปิดใช้รถ ไฟฟ้าสายสีม่วงที่คาดว่าจะมีผู้ โดยสารใช้บริการเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากที่ผ่านมาในขบวนปกติ พบปัญหาผู้โดยสารสุภาพสตรีไม่ กล้ายืนชิดกับผู้โดยสารผู้ชาย ทำ ให้เ