WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Aอาคม เตมพทยาไพสฐรับปากพิจารณาเงินกู้สร้างรถไฟ จีนหยอดหวานโครงการมิตรภาพ

     แนวหน้า : นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการรับรองบันทึกการประชุมและลงนามการประชุมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 7 ร่วมกับ Mr.Wang Xiaotao รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติ หัวหน้าคณะของฝ่ายจีน ว่า การประชุมในครั้งนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันหลายประเด็นได้แก่

     1.รายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐานระยะที่ 1 ช่วงที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร และช่วงที่ 3 เส้นทางแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร ซึ่งทางจีนได้มีการส่งรายงานการศึกษาให้กับฝ่ายไทยพิจารณาและมีการพิจารณาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน ส่วนระยะที่ 2 ช่วงที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย และช่วงที่ 4 เส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด ทั้งนี้ทางฝ่ายจีนจะทำการเร่งรัดทำการศึกษาความเหมาะสมให้แล้วเสร็จก่อนกำหนดจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือน ธ.ค. 2558 โดยจะเร่งให้แล้วเสร็จในเดือน พ.ย.2558 โดยระยะที่ 1 ทางฝ่ายจีนได้ทำการสำรวจและออกแบบเส้นทางไว้เรียบร้อยแล้วส่วนหนึ่งแต่อีกบางส่วน ซึ่งทางจีนจะพยายามเร่งรัดการออกแบบรายละเอียดให้ครบถ้วนโดยเร็ว แต่ในภาพรวมโครงการสามารถขับเคลื่อนไปได้โดยเร็วตามกำหนดที่คาดว่าจะตอกเสาเข็มในวันที่ 23 ต.ค.นี้ แต่หากการออกแบบ และรายละเอียดวงเงินไม่ได้ข้อสรุปก็คาดว่าจะตอกเสาเข็มได้ในเดือน ธ.ค. นี้ แต่อย่างไรก็ยังมั่นใจว่าจะเริ่มดำเนินการในปีนี้ โดยส่วนที่เป็นอุปสรรคการออกแบบในระยะที่ 1 คือต้องการออกแบบให้เป็นแนวตรงมากที่สุดที่มีพื้นที่ส่วนมากผ่านภูเขา จึงต้องออกแบบให้มีอุโมงค์ และสะพานด้วย ในขณะที่ระยะที่ 2 ทางเทคนิคไม่ซับซ้อนมากเพราะเป็นพื้นที่ทางราบโดยจะมีการจัดทำทางยกระดับประมาณ 75% หากรายละเอียดโครงการแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 36 เดือน

      2.การเตรียมการในด้านสัญญาการก่อสร้างโครงการและรูปแบบการลงทุน ซึ่งได้มีการตกลงร่วมกันว่าจะใช้รูปแบบการลงทุนแบบนิติบุคคลเฉพาะกิจ(SPV) ที่จะมีการหารือในระดับคณะการทำงานต่อไปในช่วง 2-3 สัปดาห์หน้านี้เพื่อให้ได้ข้อสรุป

     3.การช่วยเหลือทางด้านการเงินทางกระทรวงการคลังโดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะได้มีการจัดทำข้อมูลเพื่อให้ทางฝ่ายจีนได้รับทราบในระบบการกู้เงินระหว่างประเทศของไทยและในส่วนของเงื่อนไขในการกู้เงินทางจีนก็ได้รับปากว่าจะทำการพิจารณาในเงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับโครงการนี้ เนื่องจากโครงการนี้ถือเป็นโครงการมิตรภาพรวมถึงเป็นการนำระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในระบบรถไฟของประเทศไทย ส่วนของจำนวนเงินที่จะทำการกู้เท่าไหร่นั้นทางฝ่ายจีนได้จะข้อมูลในเบื้องต้นก่อนและจะมีการตรวจสอบในรายละเอียดเพื่อให้ทราบถึงต้นทุนของโครงการที่แท้จริง ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้มีการจ้างที่ปรึกษาโครงการเพื่อทำการตรวจสอบในรายละเอียดของรายการต่างๆโดยเฉพาะต้นทุนของโครง

   4.การฝึกอบรมทางฝ่ายไทยได้ส่งบุคลากรไปฝึกอบรมแล้ว 1 รุ่น มี 30 คน ซึ่งได้ส่งไปฝึกอบรมเมื่อเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ระหว่างการอบรมที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง คาดว่าในการส่งบุคลากรในรุ่นที่ 2 จะเป็นในช่วงเดือน ต.ค.นี้ โดยในการฝึกอบรมดำเนินการได้เร็วกว่าที่คาดหวังตามแผนงานไว้

   5.ในการเห็นร่วมกันในการประชาสัมพันธ์โดยทางจีนได้ร่วมกับไทยในการเตรียมความพร้อมจัดสัมมนาวิชาการให้กับนักวิชาการไทย สื่อมวลชน และประชาชนรับทราบ นอกจากนี้แผนดำเนินการในช่วง 3 เดือนหลังจากนี้จีนจะมีการเร่งรัด ปรับปรุงข้อมูล และรายงานความคืบหน้าให้ต่อเนื่อง และเร็วที่สุด

    อย่างไรก็ตาม ในประชุมร่วมกันระหว่างไทย-จีนครั้งที่ 8 ณ กรุงปักกิ่ง ช่วงเดือน พ.ย.นี้ จะได้ข้อสรุปถึงผลการออกแบบที่ชัดเจนใน กรอบความร่วมมือ หลักการดำเนินงาน และประกอบกับผลการพิจารณาวงเงินที่มอบหมายให้ที่ปรึกษาไปดูรายละเอียด

รถไฟไทย-จีนตามแผนลงนามวันนี้

     บ้านเมือง : นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ประชุมติดตามความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 7 ร่วมกับหัวหน้าคณะฝ่ายจีนก่อนที่จะมีการรับรองบันทึกการประชุมและลงนามบันทึกการประชุมในวันที่12 ก.ย.นี้ สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 7 เป็นการติดตามความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วปานกลาง ความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุดระยะทาง 873 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม จากการหารือกลุ่มย่อยวันที่ 10 ก.ย.ที่ผ่านมา เบื้องต้นทางการจีนได้รายงานการศึกษาออกแบบเบื้องต้นในการก่อสร้างระยะที่ 1 ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย และช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ซึ่งจะมีการสรุปรายละเอียดร่วมกันเพื่อให้โครงการเดินหน้าต่อไปได้ตามแผนที่คาดว่าจะเริ่มโครงการได้ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคมนี้

       ขณะเดียวกัน นายวุฒิชาติ กัลยามิตร ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการ ว่า ขณะนี้โครงการมีการออกแบบเส้นทางเดินรถ และรายละเอียดจุดติดตั้งตัวสถานี โดยในที่ประชุมนอกรอบที่ผ่านมา ฝ่ายไทยได้ตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมในหลายด้าน โดยเฉพาะราคาการก่อสร้างที่ฝ่ายจีนเสนอมา เมื่อเปรียบเทียบราคาในคุณสมบัติเดียวกันพบว่ามีความแตกต่าง นอกจากนี้ยังมีประเด็นเทคนิคด้านการออกแบบด้วย ซึ่งจะหารือรายละเอียดเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้อีกครั้ง อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่ายังสามารถเปิดประมูลและเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ตามกำหนดกรอบเวลาที่กำหนดไว้ ที่จะเริ่มประมูลได้ในเดือนตุลาคมปี 2558

     สำหรับ โครงการรถไฟความเร็วปานกลาง เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอยนครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด คาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท เบื้องต้นไทยยังคงยืนยันหลักการเดิม ขอให้จีนจัดสรรเงินกู้ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 2 ระยะเวลา 25-30 ปี ปลอดหนี้ 6-7 ปี แต่ติดปัญหาด้านกฎหมายเงินกู้ของ 2 ประเทศที่ไม่สอดคล้องกัน ทำให้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!