- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Saturday, 29 August 2015 15:31
- Hits: 2578
ลั่นคลอด'กรมราง'เสร็จปีนี้ลุยตั๋วร่วม'บีทีเอส-เอ็มอาร์ที'/ชงครม.อนุมัติอุตฯการบิน
ไทยโพสต์ * คมนาคมชูยุทธศาสตร์ 'กรมราง' ดูแลศูนย์ซ่อมบำรุง ระบบรถไฟฟ้าทุกเส้นทางในอนาคต คาดตั้งเสร็จในปีนี้ ล่าสุดบีเอ็ม ซีแอลนำร่อง ร่วมทุนญี่ปุ่นรับถ่ายทอดเทคโนโลยีซ่อมบำรุงรถไฟ ฟ้าสายสีม่วง สนข.เร่งสรุปผลศึกษาตั้งนิคมอุตสาหกรรม
นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย ถึงความคืบหน้าการจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง ว่า กระทรวงกำลังเร่งผลักดันจัดตั้งกรมการขนส่งทางราง เพื่อดูแลงานซ่อม บำรุงโครงข่ายรถไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งล่าสุดได้มีการยกร่างกฎ หมายจัดตั้งกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้สอบถามความเห็น ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6-7 แห่ง หากสำนักงานคณะกรรม การพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ให้ความเห็นชอบ ก็จะสามารถจัดตั้งกรมรางได้ทันที มั่นใจว่าเสร็จทันภายในปี 58
"ปัจจุบันไทยกำลังอยู่ในช่วง รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในการ ซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าจากประเทศญี่ปุ่น โดยล่าสุด บมจ.รถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือบีเอ็มซีแอล ได้ร่วมทุนกับ บริษัท มารูเบนิ, โตชิบา และ บริษัท อีสต์ เจแปน เรล จัดตั้ง บริษัทเจแปน ทรานสปอร์ต เทคโนโลยี (ประเทศไทย) เพื่อดูแลงานซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่ราษฎร์บูรณะ) ซึ่งจะเปิดให้บริการ ในวันที่ 12 ส.ค.59"
นางสร้อยทิพย์ กล่าวว่า การจัดตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อรับถ่ายทอดเทคโนโลยีนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ ซึ่งหากในอนาคตไทยสามารถบริการการซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าได้ด้วยตัวเอง ก็จะมีผลดีต่อประเทศอย่างมากในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันไทยกำลังมีการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าในเมืองอีกหลายเส้นทาง
นายเผด็จ ประดิษฐเพชร รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานโครงการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการกำกับระบบตั๋วร่วมคาดจะเริ่มเปิดใช้ระบบตั๋วร่วมกับระบบรถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้า MRT และทางด่วน 1 เส้นทาง ในช่วงเดือน ก.พ. 59 หรืออย่างช้าเดือน ส.ค.59 ซึ่งในเดือน ก.ย.58 จะติดตั้งระบบตั๋วร่วมในระบบนำร่อง 3 แห่งดังกล่าว
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวภายหลังการสัมมนารับฟังความเห็นร่างรายงานฉบับสุดท้าย โครงการศึกษาและออกแบบเบื้องต้นในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการบินของประเทศไทยว่า หลังรับฟังความคิดเห็นจะสามารถจัดทำข้อสรุป และเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม.ได้ในเดือน ต.ค.58 นี้ โดยจะพัฒนาที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาก่อนเป็นอันดับแรก
"จากผลการศึกษาพบว่า ในช่วง 20 ปีข้างหน้า หรือระหว่างปี 2556-2575 อุตสาหกรรมการบินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเติบโตขึ้น เนื่องจากมีการสั่งซื้อเครื่องบินถึง 12,820 ลำ หรือคิดเป็น 36% และหากพิจารณาปริมาณการขนส่งทางอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบันพบว่าไทยอยู่ในอันดับที่ 2 ของปริมาณความจุ คิดเป็นจำนวนที่นั่งมากถึง 1.9 ล้านที่นั่ง รองลงมาจากอินโดนีเซีย ที่มีปริมาณความจุที่นั่งถึง 2.8 ล้านที่นั่ง" นายอาคมกล่าว
นายอาคม กล่าวว่า การศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ในเวลา 10 ปี ใช้เงินลงทุนประมาณ 15,000 ล้านบาท สามารถสร้างงานได้จำนวน 7,000 คน มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงถึง 22% ซึ่งหากผ่าน ครม.สามารถเริ่มดำเนินการได้ โดยไทยมีจุดแข็งในการซ่อมบำรุง ทั้งพื้นที่ ต้นทุนแรงงานต่ำมีความสามารถด้านเทคนิคในการซ่อมบำรุงอากาศยาน สามารถทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมยานยนต์ เป็นต้น