WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Railwayออมสน ชวะพฤกษเร่งจัด พท.พาณิชย์สถานีกลางบางซื่อตั้งเป้ารองรับโครงการรถไฟฟ้าในอนาคต

   บ้านเมือง : การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะเจ้าของที่ดิน และโครงการก่อสร้างเพื่อการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในอนาคต รองรับการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ เพื่อโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) รถไฟทางคู่ รวมถึงรถไฟฟ้าในเมือง ซึ่งสถานีกลางบางซื่อนั้นถือเป็นจุดศูนย์กลางในการบริหารจัดการเพื่อเป็นการพัฒนาให้โตไปในรูปแบบสมบูรณ์นั้นจะต้องมีการบริหารจัดการแบบเชิงพาณิชย์ไปด้วย วันนี้มีความคืบหน้าเรื่องการทำ Market Sounding โครงการมานำเสนอ

    นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการเดินรถให้บริการของ รฟท.ในอนาคต โดยการจัดงานได้รับความสนใจจากนักลงทุนภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ร่วมงานกว่า 200 คน อย่างไรก็ตาม สำหรับเป้าหมายปัจจุบันที่สถานีกลางบางซื่อจะก่อสร้างเสร็จปี 2562 และกลายเป็นศูนย์กลางเดินรถไฟระบบรางแห่งใหม่ของประเทศ ดังนั้น การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบของสถานีกลางบางซื่อจึงมีความสำคัญทั้งการเชื่อมต่อการเดินทางกับระบบรถไฟฟ้าอื่น ระบบทางด่วน การอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสาร รวมทั้งการสร้างรายได้ให้แก่ รฟท.ในอนาคต รูปแบบการลงทุนปัจจุบัน มีความเป็นไปได้ 2 รูปแบบ คือ เปิดให้เอกชนเช่าพื้นที่ และให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน แต่ยอมรับว่ารูปแบบที่เป็นไปได้มากที่สุด คือ การร่วมลงทุน โดย รฟท.จะมีรายได้ผลตอบแทนจากส่วนแบ่งรายได้ นอกจากนี้ยังเพิ่มความสะดวกในการเดินทางของประชาชนอีกด้วย

    นายออมสิน ยังระบุด้วยว่า ขณะที่ความสนใจของนักลงทุนปัจจุบันเชื่อว่าหาก รฟท.เปิดให้มีการลงทุนระยะยาว หรือ 30 ต่อ 30 ปี ก็จะได้รับความสนใจจากนักลงทุน โดยหลังจากรูปแบบการลงทุนชัดเจนแล้ว รฟท.จะนำผลสรุปรูปแบบการลงทุนไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อพิจารณาชี้ขาดรูปแบบการลงทุน นอกจากนี้ ยอมรับว่าการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์มีความจำเป็นต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย มั่นใจว่าการศึกษาจะไม่ล่าช้า เนื่องจากเป็นการพัฒนาพื้นที่ที่เป็นที่ดินของ รฟท.อยู่แล้ว ส่วนเป้าหมายรายได้เชิงพาณิชย์ที่ดินผืนต่างๆ ของ รฟท.ยืนยันว่ามีเป้าหมายที่จะเพิ่มรายได้จากทุกพื้นที่ให้มากที่สุด เนื่องจากที่ผ่านมาอาจจะไม่ให้ความสำคัญกับรายได้ที่มาจากทรัพย์สินเหล่านี้ แต่ในอนาคตไม่ว่าที่ดินย่าน กม.11 ย่านมักกะสัน และย่านแม่น้ำ มีเป้าหมายเพิ่มรายได้จากทุกพื้นที่ สำหรับความคืบหน้าก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อนั้น ยอมรับว่าขณะนี้ยังล่าช้าในระดับไม่น่าพอใจ ล่าสุดมีการปรับแบบเพื่อรองรับระบบรถไฟความเร็วสูงเพิ่ม แต่เชื่อว่าระหว่างนี้จะต้องเตรียมความพร้อมพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบเพื่อให้สอดคล้องกับเวลาที่สถานีกลางบางซื่อ จะก่อสร้างเสร็จ

     "พร้อมยืนยันว่าภายในปี 2558 รฟท.จะเปิดประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ได้ครบทั้ง 6 เส้นทาง มูลค่ารวมกว่า 1.28 แสนล้านบาท ตามแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ของกระทรวงคมนาคมแน่นอน โดยขณะนี้ 2 เส้นทาง คือ 1.สายฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย และช่วงบุใหญ่-แก่งคอย ระยะทาง 106 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท และ 2.สายชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น ระยะทาง 185 กิโลเมตร วงเงิน 26,152.70 ล้านบาท ทราบว่านายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการ รฟท.ได้ลงนามอนุมัติร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) แล้ว คาดว่าจะสามารถประกาศประกวดราคาได้กลางเดือนสิงหาคมนี้ ส่วนเส้นทางที่ 3 คือ ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กิโลเมตร วงเงิน 17,929 ล้านบาท ล่าสุดก็ได้รับการอนุมัติผลการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ขณะเส้นทางที่เหลือ คือ สายช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 148 กิโลเมตร วงเงิน 24,842 ล้านบาท สายมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กิโลเมตร วงเงิน 29,855 ล้านบาท และสายนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. วงเงิน 20,038 ล้านบาท อยู่ระหว่างการรออนุมัติ EIA"

   ส่วนรูปแบบการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ใกล้เคียงสถานีกลางบางซื่อ มีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 218 ไร่ มีรายละเอียดการพัฒนาแต่ละแปลงแบ่งเป็น 3 โซนคือ โซน A : Smart Business Complex เนื้อที่ 35 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของสถานีกลางบางซื่อ โซน B : ASEAN Commercial and Business Hub เนื้อที่ 78 ไร่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีกลางบางซื่อด้วยทำเลที่ตั้งห่างจากตลาดนัดจตุจักรเพียง 700 เมตร โซน C : SMART Healthy and Vibrant Town เนื้อที่ 105 ไร่ ตั้งอยู่บนพื้นที่ของสถานีขนส่งหมอชิต ด้วยความร่มรื่นของสวนสาธารณะขนาดใหญ่ โซน C จึงเหมาะแก่การพัฒนาเป็นเมืองใหม่ ภายใต้แนวคิด "เมืองแห่งความมีชีวิตชีวา" นอกจากนี้ยังมีพื้นที่โซน D เนื้อที่ 87.5 ไร่ ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายและศูนย์กลางเชื่อมต่อการเดินทาง ภายใต้แนวคิด World Renowned Garden Interchange Plaza พัฒนาทางเดินเป็นแกนเชื่อมต่อพื้นที่แต่ละโซนในโครงการ พร้อมทั้งเปิดพื้นที่การค้า และ Park & Ride เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่สถานีกลางบางซื่อกับพื้นที่พัฒนาโครงการ รวมถึงตลาดนัดจตุจักร สถานีรถไฟฟ้า BTS และ MRT

    สำหรับ รูปแบบการลงทุนกับเอกชนคือการให้สิทธิเอกชนระยะยาวในการใช้พื้นที่ และการร่วมทุนกับเอกชน (Joint Venture) ในลักษณะที่ให้เอกชน เป็น Master Developer เพื่อวางแผนพัฒนาพื้นที่โครงการ โดยมีมูลค่าการลงทุน โซน A ประมาณ 10,000 ล้านบาท โซน B ประมาณ 24,000 ล้านบาท และโซน C ประมาณ 34,000 ล้านบาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบของธุรกิจตามแผนการดำเนินงานคาดว่าปี 2559 รฟท.จะนำเสนอโครงการฯ เข้าสู่กระบวนการของ พ.ร.บ.ร่วมทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP : Public Private Partnership) เนื่องจากมูลค่าโครงการเกิน 1,000 ล้านบาท เพื่อขออนุมัติ ครม.ในปี 2560 การรถไฟฯ ประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนและสรรหานักลงทุน ในปี 2562 เปิดให้บริการสถานีกลางบางซื่อ

        และในปี 2566 จะเห็นปรากฏการณ์ใหม่ของการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ หรือ Business Hub บริเวณสถานีกลางบางซื่อ โดยแผนระยะสั้น 5 ปี นับจากเปิดสถานีกลางบางซื่อจะพัฒนาโซน A เนื่องจากพื้นที่อยู่ใกล้สถานีกลางบางซื่อมากที่สุด เพื่อรองรับผู้เดินทางที่มากับรถไฟต่างๆ และโซน D ที่จะทำหน้าที่การเชื่อมต่อและเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง แผนระยะกลาง ช่วง 10 ปี จะพัฒนาแปลง B ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้น โซน A และ D มีการพัฒนาเต็มที่และมีการเติม DEMAND ใหม่เข้ามาในพื้นที่ แผนระยะยาว 15 ปี คือ การพัฒนาแปลง C ซึ่งในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อการเดินทางโดยระบบขนส่งมวลชนรองเพื่อเชื่อมโยงสถานีกลางบางซื่อและพื้นที่แปลงต่างๆ หลังจากนั้นได้เปิดเวทีให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและนักลงทุนแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างกว้างขวาง เพื่อนำข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ไปประกอบในการจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาพื้นที่โครงการ นับเป็นการเปิดแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่บนทำเลทองที่ดีที่สุดของกรุงเทพฯ ที่เปี่ยมศักยภาพในการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ของการพัฒนาเมืองในประเทศไทยด้วยแนวคิด Transit Oriented Development (TOD) พัฒนาพื้นที่โดยใช้สถานีขนส่งสาธารณะเป็นศูนย์กลางดึงดูดคนเข้าสู่พื้นที่โครงการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่การเป็นผู้นำของอาเซียนได้เป็นอย่างดี

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!