- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Thursday, 06 August 2015 22:57
- Hits: 13794
กองทัพอากาศ โดย กรมช่างอากาศ เลือกใช้ไอเอฟเอสแอปพลิเคชั่นในการบริหารจัดการระบบซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเครื่องบินรบ
โซลูชั่นการวางแผนบริหารธุรกิจขององค์กร (ERP) ที่สมบูรณ์จะมอบประสิทธิภาพความแม่นยำสำหรับข้อมูลด้านการซ่อมบำรุงแก่วิศวกรบนภาคพื้นดิน
ไอเอฟเอส บริษัทผู้พัฒนาซอฟแวร์สำหรับธุรกิจชั้นนำระดับโลก เปิดเผยว่า กองทัพอากาศ โดย กรมช่างอากาศ เลือกใช้แอปพลิเคชั่นของไอเอฟเอสในสำหรับการบริหารจัดการระบบซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเครื่องบินขับไล่ แบบ F-5E/F
Royal Thai AF at Korat
กรมช่างอากาศ มองหาโซลูชั่นที่มีประสิทธิภาพสำหรับการควบคุมระบบการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ รุ่น J85-GE-21B/C ที่ติดตั้งใช้งานกับเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบ แอปพลิเคชั่นของไอเอฟเอสตอบโจทย์ความต้องการในการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมขั้นตอนของการส่งกำลังและซ่อมบำรุงเครื่องยนต์แบบดังกล่าว ซึ่งจะส่งผลต่อความพร้อมปฏิบัติการของเครื่องบิน F-5E/F
กองซ่อมเครื่องยนต์ที่เป็นหน่วยขึ้นตรงของกรมช่างอากาศ ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลเครื่องยนต์รุ่น J85-GE-21B/C เลือกใช้ไอเอฟเอสแอปพลิเคชัน 8 เพื่อช่วยปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น จากระบบแบบเดิม (Legacy system) และ ระบบงานเอกสาร (Paper-Based Systems) และคาดหวังจะได้รับประโยชน์ในการทำงานที่คล่องตัวและรวดเร็วขึ้นโดยผ่านการใช้งานโซลูชั่นของไอเอฟเอส ด้วยการปรับลดการทำงานระบบ Manual และระบบงานเอกสาร ทำให้กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ ได้พัฒนาความแม่นยำของข้อมูลสำหรับการซ่อมบำรุงที่เป็นประโยชน์แก่วิศวกรอย่างมาก อีกทั้งไอเอฟเอสแอปพลิเคชันยังช่วยบริหารขั้นตอนการทำงานระหว่างกองทัพอากาศและบริษัทซัพพลายเออร์ รวมถึงปรับปรุงระบบการทำงานเพื่อมั่นใจได้ว่าสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพได้อย่างทันท่วงที
กรมช่างอากาศ กล่าวว่า “เราเลือกใช้แอพพลิเคชั่นของไอเอฟเอสเพราะว่าเรามองหาโซลูชั่นที่สมบูรณ์และพิสูจน์แล้วว่าสามารถทำให้ขั้นตอนในการควบคุมระบบการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ของเราง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เรารู้สึกประทับใจอย่างมากกับ User Interface ของแอปพลิเคชั่นจากไอเอฟเอสและการนำเสนอเมนูในรูปแบบภาษาไทยโดยทำให้การใช้งานง่ายขึ้นซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากมายแก่หน่วยงาน ไอเอฟเอสเป็นโซลูชั่นที่สามารถติดตามได้ในอุตสาหกรรมด้านอากาศยาน (Aerospace) และยุทโธปกรณ์การรบ (Defense) และยังเป็นผู้ให้บริการระดับโลกสำหรับโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (EAM) สำหรับอุตสาหกรรมประเภทนี้อีกด้วย เราจึงมีความมั่นใจอย่างสูงสำหรับการเลือกใช้ไอเอฟเอสในฐานะโซลูชั่นประจำหน่วยงานของเรา”
ศรีดาราน อรูมูแกม รองประธานบริษัทไอเอฟเอส ภูมิภาคอาเซียนตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า “ในระยะเวลาห้าหรือหกปีที่ผ่านมา ไอเอฟเอสเติบโตในประเทศไทยในอัตราเลขสองหลัก (Double-Digit Growth) สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของประเทศในระดับภูมิภาคสู่การเติบโตของธุรกิจในอนาคต ทั้งนี้ กรมช่างอากาศ ถือเป็นองค์กรที่สำคัญในการดูแลด้านอากาศยาน (Aerospace) และยุทโธปกรณ์การรบ (Defense) ของกองทัพอากาศไทย ซึ่งเป็นกองทัพอากาศที่อยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นับเป็นสิ่งยืนยันว่าไอเอฟเอสเป็นผู้เชี่ยวชาญในระดับโลกในแวดวงอุตสาหกรรมประเภทนี้ เราจึงมีความยินดีที่จะทำงานร่วมกับกองทัพอากาศและคาดหวังที่จะพัฒนาความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดในระยะยาวร่วมกันแบบพันธมิตร”
ไอเอฟเอสคาดว่า กมช่างอากาศจะดำเนินการเริ่มใช้โซลูชั่นในระยะเริ่มแรกสำหรับกองซ่อมเครื่องยนต์ กรมช่างอากาศ ณ ที่ตั้งดอนเมือง ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 และขยายแผนการใช้งานไปยัง กองบิน 21 จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเครื่องบินขับไล่แบบ F-5E/F บรรจุประจำการอยู่
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอเอฟเอส ในการส่งเสริมองค์กรด้านอุตสาหกรรมอากาศยาน (Aerospace)และยุทโธปกรณ์การรบ (Defense) โปรดเยี่ยมชมได้ที่ http://www.ifsworld.com/en/industries/aerospace-and-defense/
เกี่ยวกับกรมช่างอากาศ กองทัพอากาศ
กรมช่างอากาศ ได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2465 โดยเป็นแผนกหนึ่งของกองทัพอากาศ ภารกิจหลักคือการวางแผนการปฏิบัติอำนวยการ ประสานงาน ติดตาม กำกับการ พัฒนา และดำเนินการเกี่ยวกับกิจการ ช่างอากาศทั้งระบบ การพัสดุช่างอากาศ และการพัสดุเชื้อเพลิง และมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุม ประเมินผล และตรวจตรา กิจการในสายวิทยาการด้านช่างอากาศ มีเจ้ากรมช่างอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ สำหรับข้อมูลเพิ่มเยี่ยมชมได้ที่ http://www.dae.mi.th/
เกี่ยวกับไอเอฟเอส
ไอเอฟเอส เป็นบริษัทผู้นำที่ได้รับการยอมรับในแวดวงอุตสาหกรรมไอทีในการผลิตและพัฒนาซอฟแวร์สำหรับธุรกิจชั้นนำระดับโลกด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร (Enterprise Resource Planning หรือ ERP) การบริหารจัดการสินทรัพย์ขององค์กร (Enterprise Asset Management หรือ EAM) และ การบริหารจัดการงานบริการขององค์กร (Enterprise Service Management หรือ ESM) ไอเอฟเอสได้ทำให้ลูกค้าสามารถบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่ตั้งไว้รวมถึงสามารถช่วยให้ลูกค้าเกิดความคล่องตัวทางธุรกิจรวมและสร้างผลกำไรในธุรกิจ ไอเอฟเอสเป็นบริษัทมหาชน (OMX STO: IFS) โดยก่อตั้งขึ้นในปี 1983 และมีพนักงานทั้งสิ้นกว่า 2,700 คนทั่วโลกโดยมีลูกค้ากว่า 2,400 รายทั่วโลกและมีขอบข่ายการดำเนินงานใน 60 ประเทศ สำหรับการติดตามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไอเอฟเอสได้ที่ www.ifsworld.com หรือทาง Twitter: @ifsworld หรือเยี่ยมชม IFS Blogs เกี่ยวกับเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ได้ที่ http://blogs.ifsworld.com/