- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Wednesday, 29 July 2015 08:27
- Hits: 4517
คมนาคม คาดสรุปผลความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเสนอ ครม.เซ็นข้อตกลง มิ.ย.59
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-รัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบรางหลังจากได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือ(MOC) และมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม 3 คณะ คาดว่าภายในเดือน มิ.ย.59 จะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติหลักการเพื่อลงนามในบันทึกความร่วมมือหรือความเข้าใจระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และภายในปลายปี 59 จะเสนอรายละเอียดการศึกษาทั้งหมดต่อ ครม.อีกครั้งเพื่อขออนุมัติโครงการ โดยวางแผนจะเริ่มก่อสร้างอย่างเร็วในปี 60 หรือปี 61 เป็นอย่างช้า
คณะทำงานทั้ง 3 คณะ ประกอบด้วย 1. คณะทำงานโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. 2. คณะทำงานเส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม. ซึ่งจะดูแนวเส้นทางรถไฟ แม่สอด-มุกดาหารด้วย และ 3. คณะทำงานด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนแล้ว
"ขณะนี้จะเน้นเรื่องรถไฟความเร็วสูงกรงเทพ-เชียงใหม่ ซึ่งจะใช้เทคโนโลยีรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่น โดยได้จัดทำแผนการทำงานในช่วง 5 ปีแล้ว โดยทางญี่ปุ่นได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อทำทวนศึกษาเดิมที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ศึกษาความเป็นไปและออกแบบเบื้องต้นไว้ เพื่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการส่งออกเทคโนโลยีชินคันเซ็นเป็นครั้งแรก"นายอาคม กล่าว
ทั้งนี้ ในวันที่ 24-27 ส.ค.58 กระรวงคมนาคมจะหารือร่วมกับกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น(MLIT)ของญี่ปุ่นอีกครั้ง เกี่ยวกับมาตรฐานและความปลอดภัย รวมถึงการพัฒนาสถานีและเมืองตลอดเส้นทาง เพื่อทำให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุด และวางแผนการท่องเที่ยวในพื้นที่แหล่งมรดกโลกของประเทศไทย โดยในเดือนส.ค.นี้ทีมสำรวจจะนั่งรถไฟเพื่อดูเส้นทางร่วมกัน
ด้านรูปแบบการลงทุนและการเงินโครงการนั้น ยังเป็นไปตามข้อเสนอเดิมที่ไทยต้องการให้มีการร่วมทุนตั้งแต่เริ่มต้น ก่อสร้าง,วางระบบรางและอาณัติสัญญาณ,การบริหารเดินรถ เพื่อแบ่งเบาภาระรัฐบาลและเปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มต้น
ด้าน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า แนวเส้นทางที่จะต้องมีการเวนคืนที่ดิน คือ ช่วงพิษณุโลก –เชียงใหม่ เนื่องจากไม่ได้ก่อสร้างไปตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม (พิษณุโลก-อุตรดิตถ์-เด่นชัย-เชียงใหม่) แต่รถไฟความเร็วสูง จะเป็นแนวเส้นทางใหม่ช่วงจากพิษณุโลก-สุโขทัย-ลำปาง-เชียงใหม่ ซึ่งจะให้คณะทำงานศึกษาสำรวจและเสนอแนะเงื่อนไข กรณีใช้แนวเส้นทางตามผลศึกษาเดิม หรือจะใช้แนวใดเหมาะสม
อินโฟเควสท์
รถไฟทางคู่ไทย-จีนก่อสร้าง ต.ค.58
บ้านเมือง : พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีคมนาคมไทย-ลาว ร่วมกับนายบุนจัน สินทะวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและขนส่ง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวหรือ สปป.ลาว เรื่องการเชื่อมต่อด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานระหว่าง 2 ประเทศ ว่า ถือการประชุมครั้งที่ 2 และเป็นการหารือเรื่องการขนส่งทางถนนและทางราง โดยในส่วนของการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟจะมี 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเวียดนาม-ลาว-ไทย และจีน-ลาว-ไทย โดยเฉพาะเส้นทางที่เชื่อมจากจีนที่เป็นขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร จากคุนหมิงมาเชื่อมถึงชายแดน สปป.ลาวที่ยังขาดรางระยะทาง 520 กิโลเมตร และเส้นทางรางจากชายแดน สปป.ลาวถึงเมืองหลวงเวียงจันทน์ 417 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างปลายปีนี้และจะสอดคล้องกับโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีนของไทยที่จะเริ่มเดือนตุลาคมปีนี้เช่นกัน ดังนั้น คาดว่าการเชื่อมต่อจากมาบตาพุดกรุงเทพฯ-คุนหมิงจะเสร็จปี 2563
นอกจากนี้ โครงการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งใหม่ที่จะใช้เชื่อมเส้นทางรถไฟและจะห่างจากพื้นที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวเดิมประมาณ 30 เมตร ทางฝ่ายไทยและ สปป.ลาวจะร่วมกันศึกษาแต่ละพื้นที่ของประเทศที่รับผิดชอบและจะเริ่มเปิดให้บริการหลังเปิดเส้นทางรถไฟไทย-จีนแล้ว
ด้านการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าทางถนนไทย-ลาว-เวียดนาม โดยจะเป็นการเชื่อมโยง 6 เส้นทาง ซึ่งเส้นทางยังไม่ได้มาตรฐาน และจะมีการทำการศึกษาเพิ่มเปิดเส้นทางการเดินรถ ไทย-ลาว-จีน จากเดิมที่เป็นเส้นทางคุนหมิงกรุงเทพฯ ได้เสนอปรับเส้นทางเป็นคุนหมิง-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และต้องหารือการให้ผู้ประกอบการขนส่ง สปป.ลาวขนส่งสินค้าผ่านแดนท่าเรือของไทย ซึ่งจะมีการหารือเดือนสิงหาคม-กันยายนปีนี้ รวมถึงการปรับกติกาและข้อกฎหมายต่างๆ ของทั้งไทยและ สปป.ลาว ซึ่งมีขอบเขตที่แตกต่างกัน ดังนั้น จึงตั้