WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

LOสรอยทพย ไตรสทธคมนาคมเร่งงานโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมอู่ตะเภาก่อนเปิดเต็มรูปแบบ 1 มิ.ย.59

      นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงโครงข่ายการคมนาคมกับภายนอกท่าอากาศยานอู่ตะเภาว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปในการจัดทำแผนปฏิบัติการ(Action Plan)ในการพัฒนาอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินพาณิชย์เต็มรูปแบบแห่งที่ 3 ของประเทศ เพื่อเปิดให้บริการในวันที่ 1 มิ.ย.59 ซึ่งภายในสนามบินจะมีทั้งการลงทุนด้านอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในการให้บริการสายการบินและผู้โดยสาร เช่น ทางวิ่ง ทางขับ เครื่องช่วยเดินอากาศ อาคารคลังสินค้า ส่วนโครงสร้างพื้นฐานภายนอกจะเป็นถนน รถไฟ และขนส่งสาธารณะ ในการเดินทางเข้าสู่สนามบิน

      โดยมอบหมายให้ทุกหน่วยงาน เช่น กองทัพเรือ กรมทางหลวง กรมการขนส่งทางบก  บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) บมจ. ท่าอากาศยานไทย (AOT) หรือทอท. และ บมจ. การบินไทย (THAI) จัดทำแผนปฏิบัติการส่งให้กระทรวงคมนาคมในวันที่ 3 ส.ค.นี้ พร้อมกันนี้จะมีการประชุมคณะกรรมเชิงพาณิชย์ หรือการตลาด เพื่อจัดทำแผนการจูงใจลูกค้า โดยคณะกรรมการฯจะประชุมอีกครั้งในวันที่ 6 ส.ค. เพื่อนำทั้ง 2 แผนมาประมวลเป็นแผนปฏิบัติการรวม ให้เสร็จในกลางเดือนส.ค.และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนภายในเดือนส.ค. 2558 เพื่อพิจารณาแผน

     สำหรับ การวางแผนด้านระบบรางเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าออกสนามบินอู่ตะเภานั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้จัดทำแผนปรับปรุงเส้นทางรถไฟและก่อสร้างสถานีเพิ่มคือสถานีอู่ตะเภา และปรับปรุงทางให้แข็งแรงช่วงสถานีบ้านพลูตาหลวง สถานีอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 4 กม. โดยจะมีการจัด Shuttle Bus ให้บริการระหว่างสถานีรถไฟอู่ตะเภาเข้าไปยังสนามบิน

    ด้านขนส่งสาธารณะเบื้องต้น จะมีการเดินรถจาก กรุงเทพ-สนามบินอู่ตะเภา, พัทยา-สนามบินอู่ตะเภา ,ระยอง-สนามบินอู่ตะเภา โดยกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะขอใช้พื้นที่ของกองทัพเรือในการจัดเส้นทางและจุดจอดรถขนส่งสาธารณะ

    ส่วนโครงข่ายถนนที่สนับสนุนท่าอากาศยานอู่ตะเภานั้นกรมทางหลวง (ทล.) จะเป็นผู้รับผิดชอบ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงหมายเลข 331 ตอนแยกทางหลวงหมายเลข 36 (พนมสารคาม)-ทางหลวงหมายเลข 3 (อ.สัตหีบ) จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ระยะทาง 25.923 กม. วงเงิน 607.650 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2560 และโครงการขยายเส้นทางหลวงหมายเลข 3126 ตอนพลูตาหลวง-ท่าเรือจุกเสม็ด (แสมสาร) ระยะทาง 11.163 กม. จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร  โดยระยะเร่งด่วนจะดำเนินการช่วงด้านหน้าสนามบินอู่ตะเภา ระยะทางประมาณ 2.5 กม. โดยใช้งบกลางปี2559 วงเงิน 150 ล้านบาท ซึ่งจะมีการเพิ่มภูมิสถาปัตยกรรมสองข้างทางเพื่อความสวยงาม โดยอยู่ระหว่างสำรวจออกแบบ  ส่วนระยะทางที่เหลือจนถึงท่าเรือจุดเสม็ดจะดำเนินการในปี 2560

    นอกจากนี้ ยังมีแผนงานโครงการขยายทางหลวงหมายเลข 3 ตอนบ้านฉาง-ระยอง จาก 4 เป็น 8 ช่องจราจร ดำเนินการในปี 2560-2562 ,โครงการขยายทางหลวงหมายเลข 3 ตอนสัตหีบ-บ้านฉาง จาก 4 เป็น 8 ช่องจราจร ดำเนินการในปี 2561-2563, โครงการขยายทางหลวงหมายเลข 332 ตอนแยกเจ-แยกสนามบินอู่ตะเภา จาก 2 เป็น 4 ช่องจราจร ดำเนินการปี 2562-2564และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(พัทยา-มาบตาพุด) หรือมอเตอร์เวย์สาย 7 ระยะทาง 31 กม วงเงิน 20,200 ล้านบาท ดำเนินการปลายปี 2558-2561

    ขณะที่การพัฒนาโครงข่ายถนนภายในสนามบินนั้นจะขยายเป็น 4 ช่องจราจรเช่นกัน เพื่อรองรับการจราจรเข้าออก โดยกรมทางหลวงออกแบบและกองทัพเรือดำเนินการก่อสร้าง ทั้งนี้ อาคารผู้โดยสารหลังใหม่จะก่อสร้างเสร็จในเดือนก.พ. 2559 ดังนั้นจะต้องวางแผนการอำนวยความสะดวกภายใน ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ประปา สะพานเทียบเครื่องบินซึ่งขณะนี้ยังไม่มี ซึ่งทางอู่ตะเภาจะต้องทำรายละเอียดและแผนการลงทุนทั้งหมดในการก่อสร้างเพื่อให้พร้อมมากที่สุด ซึ่งมั่นใจว่าอู่ตะเภาจะเป็นสนามบินทางเลือกใหม่ในการขนส่งทั้งผู้โดยสารและการผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!