- Details
- Category: คมนาคม
- Published: Saturday, 13 June 2015 19:45
- Hits: 1858
ก.คลังกู้ไจก้า 1 หมื่นล้าน สร้างรถไฟชานเมือง บางซื่อ-รังสิต
แนวหน้า : นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น ในการกู้เงินผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency : JICA) วงเงิน 38,203 ล้านเยน หรือคิดเป็น 10,697 ล้านบาท เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 2 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยเป็นการทยอยเบิกจ่ายตามความคืบหน้าของการดำเนินงาน
สำหรับ เงื่อนไขเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกู้ผ่อนปรน มีอัตราดอกเบี้ยสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในอัตรา 0.40% ต่อปี และสำหรับส่วนค่าจ้างที่ปรึกษา อัตราดอกเบี้ย 0.01% ต่อปี และมีค่าธรรมเนียมเงินกู้ (Front-End Fee) ที่ 0.20% ของวงเงินกู้ กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ 20 ปี ปลอดหนี้เงินต้น 6 ปี ส่วนเงื่อนไขในการจัดซื้อสินค้าและบริการเปิดโอกาสให้กระทำโดยเสรี โดยสามารถจัดซื้อสินค้าและบริการได้จากทุกประเทศ โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ
นอกจากนี้ การกู้เงินให้ ร.ฟ.ท.ก่อสร้างรถไฟชานเมืองสายสีแดง จะมีการขอกู้อีกครั้งงวดสุดท้ายในช่วงปี 2559 อีกจำนวน 3 หมื่นล้านบาท คาดว่า รถไฟดังกล่าว จะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปีอีก 3 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปเงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปัจจุบันมีวงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 2,202,608 ล้านเยน โดยความช่วยเหลือทางการเงินส่วนใหญ่จะมุ่งให้แก่โครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเมือง และพัฒนาชนบท รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์
อย่างไรก็ตาม การกู้เงินจากไจก้าของกระทรวงการคลังในครั้งนี้ ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีมติเห็นชอบหลักการกู้เงินดังกล่าวเมื่อวันที่ 9 มิ.ย.ที่ผ่านมา ให้กระทรวงการคลังโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.)ดำเนินการกู้ และให้ ร.ฟ.ท.มากู้ต่อ วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท
'ประจิน'ยันเดินหน้ารถไฟไทย-จีน
ไทยโพสต์ : ราชดำเนิน * ‘ประจิน’ ยันยังเดินหน้าโครงการรถไฟไทยจีน ตามกรอบแผนงาน ด้าน ครม.อนุมัติกู้เงินไจก้า 1 หมื่นล้านบาท ลงทุนโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อรังสิต ระยะที่ 2
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงกรณีที่มีกระแสข่าวจากพรรคการเมืองบางพรรคได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว แสดงความผิดหวังถึงกรณีที่ทราบเรื่องว่า จะมีการล้มโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน ทางประเทศจีนจะไม่เข้าร่วมการลงนามความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา และเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด ว่า โครงการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนนั้น ยังยืนยันว่าจะเดินหน้าดำเนินโครงการตามกรอบแผนงานเดิม
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ในร่างสัญญาการกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 2 ในวงเงิน 3.82 หมื่นล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทย 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากระยะที่ 1 ที่ไทยได้เคยกู้เงินจากญี่ปุ่นมาแล้ว 6.3 หมื่นล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทย 2.27 หมื่นล้านบาท ตั้งแต่ปี 2552 และการกู้เงินในระยะที่ 1 จะสิ้นสุดในเดือน มิ.ย.นี้
แหล่งข่าวจากสำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวถึงกรณีที่มีการส่งหนังสือจากชมรมวิศวฯ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.) ได้ทำจดหมายถึง นายกรัฐมนตรี เรื่องขอให้ทบทวน โครงการรถไฟขนาด 1.435 ม. เพื่อเชื่อมต่อกับจีน เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายหนักต่อประเทศชาตินั้น เกิดขึ้นตั้งแต่รัฐบาลชุดปัจจุบันเข้ามารับตำแหน่ง และได้มีการชี้แจงถึงที่มาที่ไป
รมว.คลัง ลงนามกู้เงินไจก้ากว่า 1 หมื่นลบ.เพื่อใช้สร้างรถไฟสายสีแดง
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง แจ้งว่า นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง และ Mr.Shiro Sadoshima เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 2 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) รวมทั้งได้ลงนามในสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการดังกล่าวกับ Mr. Shuichi Ikeda หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทยด้วย
โดยความร่วมมือทางการเงินครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency:JICA) วงเงิน 38,203 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 10,697 ล้านบาท สำหรับ ร.ฟ.ท.เพื่อดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนแบบ Preferential Terms มีอัตราดอกเบี้ยสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในอัตราร้อยละ 0.40 ต่อปี และสำหรับส่วนค่าจ้างที่ปรึกษา อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี และมีค่าธรรมเนียมเงินกู้ (Front-End Fee) ร้อยละ 0.20 ของวงเงินกู้ กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ 20 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้เงินต้น 6 ปี ส่วนเงื่อนไขในการจัดซื้อสินค้าและบริการเปิดโอกาสให้กระทำโดยเสรี โดยสามารถจัดซื้อสินค้าและบริการได้จากทุกประเทศ โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ
การที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปเงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปัจจุบันมีวงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 2,202,608 ล้านเยน โดยความช่วยเหลือทางการเงินส่วนใหญ่จะมุ่งให้แก่โครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเมือง และพัฒนาชนบท รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์
อินโฟเควสท์
การกู้เงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นสำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 2
นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ Mr. Shiro Sadoshima เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ได้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น สำหรับโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะที่ 2 ของการรถไฟแห่งประเทศไทย รวมทั้งได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการดังกล่าวกับ Mr. Shuichi Ikeda หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ณ กระทรวงการคลัง ดังมีรายละเอียด ดังนี้
ภายใต้ความร่วมมือทางการเงินครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นตกลงให้กระทรวงการคลังกู้เงินโดยผ่านองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency : JICA) วงเงิน 38,203 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 10,697 ล้านบาท สำหรับการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อดำเนินโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิต โดยเงินกู้รัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรนแบบ Preferential Terms มีอัตราดอกเบี้ยสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการในอัตราร้อยละ0.40 ต่อปี และสำหรับส่วนค่าจ้างที่ปรึกษา อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี และมีค่าธรรมเนียมเงินกู้ (Front-End Fee) ร้อยละ 0.20 ของวงเงินกู้ กำหนดระยะเวลาการชำระหนี้ 20 ปี รวมระยะเวลาปลอดหนี้เงินต้น 6 ปี ส่วนเงื่อนไขในการจัดซื้อสินค้าและบริการเปิดโอกาสให้กระทำโดยเสรี โดยสามารถจัดซื้อสินค้าและบริการได้จากทุกประเทศ โดยวิธีประกวดราคานานาชาติ
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ให้ความช่วยเหลือทางการเงินในรูปเงื่อนไขผ่อนปรนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแก่ประเทศไทยอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2511 จนถึงปัจจุบันมีวงเงินกู้รวมทั้งสิ้น 2,202,608 ล้านเยน โดยความช่วยเหลือทางการเงินส่วนใหญ่จะมุ่งให้แก่โครงการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาเมือง และพัฒนาชนบท รวมทั้งโครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรมนุษย์
สำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ โทร. 0 2265 8050 ต่อ 5509 กระทรวงการคลัง